สธ. เตือนหน้าฝนงูพิษหนีเข้าบ้าน ระวังถูกกัด กำชับ รพ. สำรองเซรุ่มแก้พิษงู 7 ชนิด แนะหากถูกงูกัดให้อยู่นิ่ง และรีบส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ห้ามกรีดแผล ดูดพิษ ขันชะเนาะเด็ดขาด
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝนบางแห่งอาจมีน้ำท่วมขัง ทำให้สัตว์เลื้อยคลานหนีน้ำ อาจเข้ามาอยู่ในที่อยู่อาศัยของประชาชนได้ ขอให้จัดสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบ หลีกเลี่ยงการเดินในที่แคบ หรือบริเวณที่รกมีหญ้าสูง โดยเฉพาะเวลากลางคืน ที่น่าห่วงก็คืองูพิษ ซึ่งหากถูกกัดแล้วอาจทำให้เสียชีวิตได้ จากการติดตามสถานการณ์งูพิษกัด สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานมีผู้ถูกงูพิษกัดตลอดทั้งปี 2558 จำนวน 457 ราย พบผู้ถูกงูกัดสูงสุดในเดือนมิถุนายน และ สิงหาคม เดือนละ 52 ราย รองลงมาคือ พฤษภาคม 50 ราย สำหรับปี 2559 ตั้งแต่ มกราคม - พฤษภาคม พบผู้ถูกงูกัด 81 ราย พบมากในภาคใต้ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมกันได้ร้อยละ 77 ของผู้ที่ถูกงูกัด ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม และ รับจ้าง
“ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สถานบริการในสังกัด คือ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน สำรองเซรุ่มแก้พิษงูไว้ให้พร้อม ตามชนิดงูพิษที่พบบ่อย ในแต่ละภูมิภาคมี 7 ชนิด ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงที ป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด หากถูกงูกัดให้ โทร.แจ้งขอความช่วยเหลือ 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง” รมว.สธ. กล่าว
ด้าน นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หากถูกงูมีพิษกัด จะมีสัญญาณ 7 ประการ ดังนี้ 1. มีรอยเขี้ยว 2 ข้าง และมีอาการบวมแดงรอบ ๆ รอยกัด แต่บางครั้งอาจจะเห็นเพียงรอยเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถูกกัดบริเวณปลายมือปลายเท้า หรือบางครั้งอาจเห็นมากกว่า 2 รอย หากถูกกัดมากกว่า 1 ครั้ง 2. อาจมีอาการปวดอย่างรุนแรง 3. คลื่นไส้อาเจียน 4. หายใจติดขัด หากรุนแรงอาจหยุดหายใจได้ 5. สายตาขุ่นมัว 6. มีน้ำลายมากผิดปกติ และ 7. หน้าชาไม่รู้สึก หรือ ชาตามแขนขา โดยพิษนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของงู เช่น งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา จะมีพิษต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หนังตาตก กลืนลำบาก พูดไม่ชัด และหยุดหายใจ
นพ.อำนวย กล่าวว่า ภายหลังถูกงูพิษกัด ประชาชนควรทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนถึงมือแพทย์ โดยบีบเลือดบริเวณบาดแผลออกเท่าที่ทำได้ เพื่อขจัดพิษงูออกจากร่างกาย ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและฟอกสบู่ หรือน้ำด่างทับทิม ใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง เช็ดแผล และรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด โดยพยายามให้อวัยวะที่ถูกกัดเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด อาจดามบริเวณดังกล่าวให้อยู่ในระดับต่ำกว่าหัวใจ เพื่อชะลอการซึมของพิษงู หากเป็นไปได้ ให้นำซากงูพิษที่กัดไปให้แพทย์ดูด้วย และสิ่งที่ไม่ควรทำในการช่วยเหลือผู้ที่ถูกงูพิษกัด คือ 1. ห้ามใช้เหล้า ยาสีฟัน หรือสิ่งอื่น ๆ ทาแผล พอกแผล เนื่องจากอาจทำให้แผลติดเชื้อ 2. ไม่ควรกรีดแผล เนื่องจากจะทำให้พิษงูกระจายเข้าสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น และ 3. ไม่ควรใช้ปากดูดเลือดจากแผลงูกัด เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ดูดได้ และ 4. ห้ามให้ผู้ถูกงูกัดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มผสมกาเฟอีน 5. ห้ามขันชะเนาะเพราะอาจทำให้เนื้อตายได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝนบางแห่งอาจมีน้ำท่วมขัง ทำให้สัตว์เลื้อยคลานหนีน้ำ อาจเข้ามาอยู่ในที่อยู่อาศัยของประชาชนได้ ขอให้จัดสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบ หลีกเลี่ยงการเดินในที่แคบ หรือบริเวณที่รกมีหญ้าสูง โดยเฉพาะเวลากลางคืน ที่น่าห่วงก็คืองูพิษ ซึ่งหากถูกกัดแล้วอาจทำให้เสียชีวิตได้ จากการติดตามสถานการณ์งูพิษกัด สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานมีผู้ถูกงูพิษกัดตลอดทั้งปี 2558 จำนวน 457 ราย พบผู้ถูกงูกัดสูงสุดในเดือนมิถุนายน และ สิงหาคม เดือนละ 52 ราย รองลงมาคือ พฤษภาคม 50 ราย สำหรับปี 2559 ตั้งแต่ มกราคม - พฤษภาคม พบผู้ถูกงูกัด 81 ราย พบมากในภาคใต้ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมกันได้ร้อยละ 77 ของผู้ที่ถูกงูกัด ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม และ รับจ้าง
“ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สถานบริการในสังกัด คือ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน สำรองเซรุ่มแก้พิษงูไว้ให้พร้อม ตามชนิดงูพิษที่พบบ่อย ในแต่ละภูมิภาคมี 7 ชนิด ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงที ป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด หากถูกงูกัดให้ โทร.แจ้งขอความช่วยเหลือ 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง” รมว.สธ. กล่าว
ด้าน นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หากถูกงูมีพิษกัด จะมีสัญญาณ 7 ประการ ดังนี้ 1. มีรอยเขี้ยว 2 ข้าง และมีอาการบวมแดงรอบ ๆ รอยกัด แต่บางครั้งอาจจะเห็นเพียงรอยเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถูกกัดบริเวณปลายมือปลายเท้า หรือบางครั้งอาจเห็นมากกว่า 2 รอย หากถูกกัดมากกว่า 1 ครั้ง 2. อาจมีอาการปวดอย่างรุนแรง 3. คลื่นไส้อาเจียน 4. หายใจติดขัด หากรุนแรงอาจหยุดหายใจได้ 5. สายตาขุ่นมัว 6. มีน้ำลายมากผิดปกติ และ 7. หน้าชาไม่รู้สึก หรือ ชาตามแขนขา โดยพิษนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของงู เช่น งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา จะมีพิษต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หนังตาตก กลืนลำบาก พูดไม่ชัด และหยุดหายใจ
นพ.อำนวย กล่าวว่า ภายหลังถูกงูพิษกัด ประชาชนควรทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนถึงมือแพทย์ โดยบีบเลือดบริเวณบาดแผลออกเท่าที่ทำได้ เพื่อขจัดพิษงูออกจากร่างกาย ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและฟอกสบู่ หรือน้ำด่างทับทิม ใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง เช็ดแผล และรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด โดยพยายามให้อวัยวะที่ถูกกัดเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด อาจดามบริเวณดังกล่าวให้อยู่ในระดับต่ำกว่าหัวใจ เพื่อชะลอการซึมของพิษงู หากเป็นไปได้ ให้นำซากงูพิษที่กัดไปให้แพทย์ดูด้วย และสิ่งที่ไม่ควรทำในการช่วยเหลือผู้ที่ถูกงูพิษกัด คือ 1. ห้ามใช้เหล้า ยาสีฟัน หรือสิ่งอื่น ๆ ทาแผล พอกแผล เนื่องจากอาจทำให้แผลติดเชื้อ 2. ไม่ควรกรีดแผล เนื่องจากจะทำให้พิษงูกระจายเข้าสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น และ 3. ไม่ควรใช้ปากดูดเลือดจากแผลงูกัด เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ดูดได้ และ 4. ห้ามให้ผู้ถูกงูกัดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มผสมกาเฟอีน 5. ห้ามขันชะเนาะเพราะอาจทำให้เนื้อตายได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่