นพ.ชัชพล ธนารักษ์
ศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อทั่วไป
โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111
อาการปวดไหล่ มีได้หลายสาเหตุ อาจเป็นแค่ปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ ไหล่ติด หรือ เอ็นฉีกขาด ก็เป็นได้ สำหรับในผู้สูงอายุเส้นเอ็นต่าง ๆ จะเสื่อมสภาพไปตามวัย นอกจากนั้น กระดูกบริเวณเหนือไหล่ก็หนาตัวขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวของหัวไหล่เส้นเอ็นก็จะเคลื่อนที่ไปมา แล้วก็จะมีการเสียดสีของเส้นเอ็นกับของกระดูก ซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบจะเหมือนกับการดึงเชือกเสียดสีกับโขดหินเมื่อเสียดสีไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้เส้นเอ็นมีการฉีกขาดได้ในที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องมีอุบัติเหตุที่รุนแรง
อาการปวดของเอ็นหัวไหล่จะมีอาการปวดที่บริเวณด้านข้างหัวไหล่ อาจจะมีร้าวลงมาที่บริเวณข้อศอก เวลายกหรือกางหัวไหล่ออกด้านข้างจะทำให้ปวดมากขึ้น ใส่เสื้อยืดลำบาก ติดเสื้อชั้นในลำบาก ตอนกลางคืนเวลานอนอาจมีอาการปวดเพิ่มขึ้น ถ้านอนตะแคงเอาไหล่ข้างที่เจ็บลงจะมีอาการปวด
วิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น ควรหลีกเลี่ยงการยกหรือสะพายของหนัก ๆ หลีกเลี่ยงการยกกางแขนด้านข้าง บริหารออกกำลังเส้นเอ็นหัวไหล่ให้แข็งแรง เป็นประจำทุกวัน จากนั้นคอยสังเกตอาการเป็นเวลา 4 - 6 เดือน ถ้าอาการปวดไหล่ไม่ดีขึ้นเลย หรือมีการปวดไหล่มากขึ้นควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ละเอียด
โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยละเอียด ถ้าตรวจพบลักษณะที่บ่งบอกถึงอาการฉีกขาดของเส้นเอ็นหัวไหล่ แพทย์จะทำการส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (MRI) จาก MRI จะเห็นได้ว่าเส้นเอ็นไหล่นั้น มีการฉีกขาดมากน้อยแค่ไหน เพื่อบอกแนวทางการรักษาขั้นต่อไป ซึ่งถ้าเส้นเอ็นฉีกขาดแค่เล็กน้อยก็จะให้ทำการบริหารต่อไป แต่ถ้าพบว่าเส้นเอ็นฉีกขาดมีขนาดใหญ่ จำเป็นที่จะต้องทำการผ่าตัดเย็บซ่อม เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้เส้นเอ็นจะฉีกขาดเพิ่มขึ้นจนอาจซ่อมแซมไม่ได้และทำให้ข้อไหล่เสื่อม หรือยกแขนไม่ขึ้นในที่สุด
สำหรับวิธีการผ่าตัดเย็บซ่อมเอ็นไหล่นั้น ปัจจุบันใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้องเป็นหลัก แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วใช้เครื่องมือเข้าไปเย็บซ่อมเส้นเอ็น อาการปวดน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิด และสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า สามารถดูรอยแผลต่าง ๆ และเย็บซ่อม ได้ทั่วถึงกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่อยากให้เส้นเอ็นไหล่มีการฉีกขาด ควรบริหารเส้นเอ็นหัวไหล่สม่ำเสมอ เพื่อให้เส้นเอ็นมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น ควรระมัดระวังกิจกรรมที่มีการเหวี่ยง หรือกระชาก ที่หัวไหล่ ถ้าจะออกกำลังกายโดยการแกว่งแขน ควรทำด้วยความระมัดระวัง ทำอย่างช้า ๆ อย่าทำรุนแรงจนเกินไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อทั่วไป
โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111
อาการปวดไหล่ มีได้หลายสาเหตุ อาจเป็นแค่ปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ ไหล่ติด หรือ เอ็นฉีกขาด ก็เป็นได้ สำหรับในผู้สูงอายุเส้นเอ็นต่าง ๆ จะเสื่อมสภาพไปตามวัย นอกจากนั้น กระดูกบริเวณเหนือไหล่ก็หนาตัวขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวของหัวไหล่เส้นเอ็นก็จะเคลื่อนที่ไปมา แล้วก็จะมีการเสียดสีของเส้นเอ็นกับของกระดูก ซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบจะเหมือนกับการดึงเชือกเสียดสีกับโขดหินเมื่อเสียดสีไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้เส้นเอ็นมีการฉีกขาดได้ในที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องมีอุบัติเหตุที่รุนแรง
อาการปวดของเอ็นหัวไหล่จะมีอาการปวดที่บริเวณด้านข้างหัวไหล่ อาจจะมีร้าวลงมาที่บริเวณข้อศอก เวลายกหรือกางหัวไหล่ออกด้านข้างจะทำให้ปวดมากขึ้น ใส่เสื้อยืดลำบาก ติดเสื้อชั้นในลำบาก ตอนกลางคืนเวลานอนอาจมีอาการปวดเพิ่มขึ้น ถ้านอนตะแคงเอาไหล่ข้างที่เจ็บลงจะมีอาการปวด
วิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น ควรหลีกเลี่ยงการยกหรือสะพายของหนัก ๆ หลีกเลี่ยงการยกกางแขนด้านข้าง บริหารออกกำลังเส้นเอ็นหัวไหล่ให้แข็งแรง เป็นประจำทุกวัน จากนั้นคอยสังเกตอาการเป็นเวลา 4 - 6 เดือน ถ้าอาการปวดไหล่ไม่ดีขึ้นเลย หรือมีการปวดไหล่มากขึ้นควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ละเอียด
โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยละเอียด ถ้าตรวจพบลักษณะที่บ่งบอกถึงอาการฉีกขาดของเส้นเอ็นหัวไหล่ แพทย์จะทำการส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (MRI) จาก MRI จะเห็นได้ว่าเส้นเอ็นไหล่นั้น มีการฉีกขาดมากน้อยแค่ไหน เพื่อบอกแนวทางการรักษาขั้นต่อไป ซึ่งถ้าเส้นเอ็นฉีกขาดแค่เล็กน้อยก็จะให้ทำการบริหารต่อไป แต่ถ้าพบว่าเส้นเอ็นฉีกขาดมีขนาดใหญ่ จำเป็นที่จะต้องทำการผ่าตัดเย็บซ่อม เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้เส้นเอ็นจะฉีกขาดเพิ่มขึ้นจนอาจซ่อมแซมไม่ได้และทำให้ข้อไหล่เสื่อม หรือยกแขนไม่ขึ้นในที่สุด
สำหรับวิธีการผ่าตัดเย็บซ่อมเอ็นไหล่นั้น ปัจจุบันใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้องเป็นหลัก แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วใช้เครื่องมือเข้าไปเย็บซ่อมเส้นเอ็น อาการปวดน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิด และสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า สามารถดูรอยแผลต่าง ๆ และเย็บซ่อม ได้ทั่วถึงกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่อยากให้เส้นเอ็นไหล่มีการฉีกขาด ควรบริหารเส้นเอ็นหัวไหล่สม่ำเสมอ เพื่อให้เส้นเอ็นมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น ควรระมัดระวังกิจกรรมที่มีการเหวี่ยง หรือกระชาก ที่หัวไหล่ ถ้าจะออกกำลังกายโดยการแกว่งแขน ควรทำด้วยความระมัดระวัง ทำอย่างช้า ๆ อย่าทำรุนแรงจนเกินไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่