สบส. แนะรื้อสุขบัญญัติ 10 ประการ ให้ทันสมัย เจออุบัติเหตุ อุบัติภัย เด็กไทยเอาตัวรอดได้ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยในพื้นที่ ป้องกันการสูญเสีย เซฟชีวิตผู้อื่น
นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า เหตุการณ์สูญเสียของนักเรียนจากเพลิงไหม้อาคารหอพักในโรงเรียนครั้งนี้ สะท้อนว่าเด็กไทยยังขาดความรู้และทักษะในการเอาชีวิตรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน อุบัติเหตุ อุบัติภัย ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศ สบส. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานในการผลักดันปลูกฝังสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อสอนเด็กนักเรียนวัยประถมศึกษาตอนต้นและตอนปลายทั่วประเทศ สร้างพฤติกรรมและสุขนิสัยต่าง ๆ ในการดูแลสุขภาพ ไม่ให้เจ็บป่วย ซึ่งใช้มากว่า 38 ปี มี 10 ประการ ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ คือข้อที่ 7 ได้แก่ การป้องกันอุบัติภัยด้วยความไม่ประมาท จะต้องมีการแปลงเนื้อหาสุขบัญญัติแห่งชาติทั้ง 10 ประการ ให้ทันสมัย และแปลงออกมาในรูปของพฤติกรรม เพื่อทำให้เป็นทักษะที่เยาวชนในแต่ละพื้นที่จะต้องมี เพื่อการเอาตัวรอดได้อย่างปลอดภัย เช่นเดียวกับเด็กญี่ปุ่นที่มีทักษะในการหลบภัยเมื่อเกิดแผ่นดินไหว หรือสึนามิได้
“ในส่วนของประเทศไทยก็เช่นกัน การให้ความรู้แก่เด็กอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ จะต้องฝึกทักษะให้เด็กทำเป็นด้วย ในเบื้องต้นนี้อาจคัดเลือกทักษะการเอาชีวิตรอดในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น เพลิงไหม้ วาตภัย และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยในพื้นที่ เช่น ในภาคเหนืออาจเป็นเรื่องของดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว ภาคกลาง ภาคตะวันอออก ภาคใต้ เช่น น้ำท่วมฉับพลัน สึนามิ เป็นต้น การสอนให้เด็กสามารถช่วยคนหมดสติ เบื้องต้นได้จัดการเรียนการสอน และบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยป้องกันสาธารณภัย รวมทั้งเพิ่มเวลารู้ในเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการสูญเสียให้ได้มากที่สุด และเด็กจะมีความรู้ติดตัวไปตลอดชีวิต สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้อีกด้วย” นพ.ภานุวัฒน์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า เหตุการณ์สูญเสียของนักเรียนจากเพลิงไหม้อาคารหอพักในโรงเรียนครั้งนี้ สะท้อนว่าเด็กไทยยังขาดความรู้และทักษะในการเอาชีวิตรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน อุบัติเหตุ อุบัติภัย ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศ สบส. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานในการผลักดันปลูกฝังสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อสอนเด็กนักเรียนวัยประถมศึกษาตอนต้นและตอนปลายทั่วประเทศ สร้างพฤติกรรมและสุขนิสัยต่าง ๆ ในการดูแลสุขภาพ ไม่ให้เจ็บป่วย ซึ่งใช้มากว่า 38 ปี มี 10 ประการ ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ คือข้อที่ 7 ได้แก่ การป้องกันอุบัติภัยด้วยความไม่ประมาท จะต้องมีการแปลงเนื้อหาสุขบัญญัติแห่งชาติทั้ง 10 ประการ ให้ทันสมัย และแปลงออกมาในรูปของพฤติกรรม เพื่อทำให้เป็นทักษะที่เยาวชนในแต่ละพื้นที่จะต้องมี เพื่อการเอาตัวรอดได้อย่างปลอดภัย เช่นเดียวกับเด็กญี่ปุ่นที่มีทักษะในการหลบภัยเมื่อเกิดแผ่นดินไหว หรือสึนามิได้
“ในส่วนของประเทศไทยก็เช่นกัน การให้ความรู้แก่เด็กอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ จะต้องฝึกทักษะให้เด็กทำเป็นด้วย ในเบื้องต้นนี้อาจคัดเลือกทักษะการเอาชีวิตรอดในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น เพลิงไหม้ วาตภัย และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยในพื้นที่ เช่น ในภาคเหนืออาจเป็นเรื่องของดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว ภาคกลาง ภาคตะวันอออก ภาคใต้ เช่น น้ำท่วมฉับพลัน สึนามิ เป็นต้น การสอนให้เด็กสามารถช่วยคนหมดสติ เบื้องต้นได้จัดการเรียนการสอน และบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยป้องกันสาธารณภัย รวมทั้งเพิ่มเวลารู้ในเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการสูญเสียให้ได้มากที่สุด และเด็กจะมีความรู้ติดตัวไปตลอดชีวิต สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้อีกด้วย” นพ.ภานุวัฒน์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่