ดีเปรสชัน “โรอานู” ทำ รพ.สต. เสียหาย 2 แห่งใน จ.ระนอง กำชับ รพ. ทุกแห่งเข้มมาตรการป้องกันผลกระทบ เตือนประชาชนตรวจสอบ ซ่อมแซมอาคารที่พัก ปลั๊ก สายไฟ ป้องกันโรคที่มากับฝน
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงสัปดาห์นี้ ตามพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในทุกภาค โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศพม่า ซึ่งได้รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชันโรอานู (ROANU) โดยเมื่อคืนวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา มีสถานบริการสาธารณสุขเสียหายเล็กน้อยจากฝนตกหนัก ลมแรง ใน 2 จังหวัด ได้แก่ รพ.สต.ลำเลียง และ รพ.สต.บางแก้ง จ.ระนอง และบ้านพักเจ้าหน้าที่ที่ รพ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย นอกจากนี้ มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 2 ราย ที่ จ.ตรัง แพทย์ทำแผลและให้กลับบ้านได้ ทุกสถานบริการสาธารณสุขยังเปิดบริการได้ตามปกติ ได้กำชับสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง ติดตามสถานการณ์และยังคงเข้มงวดมาตรการรองรับภัยพายุฝนต่อเนื่อง ป้องกันผลกระทบบริการประชาชน พร้อมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับประชาชนขอให้ตรวจสอบและซ่อมแซมอาคารที่พัก สายไฟ ปลั๊กไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย รวมทั้งดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ป้องกันการเจ็บป่วย ที่พบบ่อยคือ โรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่อยู่ในอากาศ ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอจาม หากป่วยเป็นหวัด ขอให้ใช้ผ้าปิดปากและจมูก หรือสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน และควรล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงป่วยง่ายและรุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากเป็นโรคปอดบวมอาจเสียชีวิตได้ พ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็กต้องสังเกตอาการหากมีไข้ไอ หายใจเร็ว หรือ หอบเหนื่อย ให้รีบพาไปพบแพทย์ เพื่อให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที
“นอกจากนี้ ขอให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำขัง ย่ำดินที่เฉอะแฉะ เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในฉี่หนูหรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เช่น สุนัข สุกร โค กระบือ ปนเปื้อนอยู่ใน ดิน โคลน ที่ชื้นแฉะมีน้ำท่วมขัง โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์ ได้แก่ มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่องและโคนขา อาจมีอาการตาแดง คอแข็ง มักมีไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด อาจมีผื่นที่เพดานปาก หรือมีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ ระยะท้ายอาจมีตับและไตวาย ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากมีอาการปวดศีรษะฉับพลัน มีไข้สูงปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงหลังเดินลุยน้ำหรือดินโคลน ให้รีบไปพบแพทย์รับการรักษาอย่างถูกต้องโดยเร็ว” ปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงสัปดาห์นี้ ตามพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในทุกภาค โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศพม่า ซึ่งได้รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชันโรอานู (ROANU) โดยเมื่อคืนวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา มีสถานบริการสาธารณสุขเสียหายเล็กน้อยจากฝนตกหนัก ลมแรง ใน 2 จังหวัด ได้แก่ รพ.สต.ลำเลียง และ รพ.สต.บางแก้ง จ.ระนอง และบ้านพักเจ้าหน้าที่ที่ รพ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย นอกจากนี้ มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 2 ราย ที่ จ.ตรัง แพทย์ทำแผลและให้กลับบ้านได้ ทุกสถานบริการสาธารณสุขยังเปิดบริการได้ตามปกติ ได้กำชับสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง ติดตามสถานการณ์และยังคงเข้มงวดมาตรการรองรับภัยพายุฝนต่อเนื่อง ป้องกันผลกระทบบริการประชาชน พร้อมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับประชาชนขอให้ตรวจสอบและซ่อมแซมอาคารที่พัก สายไฟ ปลั๊กไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย รวมทั้งดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ป้องกันการเจ็บป่วย ที่พบบ่อยคือ โรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่อยู่ในอากาศ ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอจาม หากป่วยเป็นหวัด ขอให้ใช้ผ้าปิดปากและจมูก หรือสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน และควรล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงป่วยง่ายและรุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากเป็นโรคปอดบวมอาจเสียชีวิตได้ พ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็กต้องสังเกตอาการหากมีไข้ไอ หายใจเร็ว หรือ หอบเหนื่อย ให้รีบพาไปพบแพทย์ เพื่อให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที
“นอกจากนี้ ขอให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำขัง ย่ำดินที่เฉอะแฉะ เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในฉี่หนูหรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เช่น สุนัข สุกร โค กระบือ ปนเปื้อนอยู่ใน ดิน โคลน ที่ชื้นแฉะมีน้ำท่วมขัง โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์ ได้แก่ มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่องและโคนขา อาจมีอาการตาแดง คอแข็ง มักมีไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด อาจมีผื่นที่เพดานปาก หรือมีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ ระยะท้ายอาจมีตับและไตวาย ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากมีอาการปวดศีรษะฉับพลัน มีไข้สูงปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงหลังเดินลุยน้ำหรือดินโคลน ให้รีบไปพบแพทย์รับการรักษาอย่างถูกต้องโดยเร็ว” ปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่