กรมควบคุมโรค จับมือ พศ.- อปท. สำรวจ กำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด หลังพบยังป็นแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันแพร่ระบาดไข้เลือดออกช่วงวันวิสาขบูชา
วันนี้ (19 พ.ค.) นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงปัญหาการกำจัดลูกน้ำยุงลายภายในวัด เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก ว่า เดือนเมษายน 2559 พบว่า ยังมีศาสนสถานที่พบลูกน้ำยุงลายอยู่ทั้งหมด 216 แห่ง หรือมากกว่าร้อยละ 42 ซึ่งทำให้ศาสนสถานมีความเสี่ยงที่จะเป็นสถานที่ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในศาสนสถาน หรือชุมชน/หมู่บ้านใกล้เคียงได้ คร. จึงได้ประชุมหารือร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เพื่อวางแผนหาแนวทางป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยยุงลาย ไม่ให้เกิดในพระสงฆ์และพุทธศาสนิกที่มาร่วมทำบุญในวัด โดยเฉพาะในวันวิสาขบูชาที่จะมาถึงในวันที่ 20 พ.ค. นี้ โดยเน้นการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด เช่น การนอนในมุ้ง ทายากันยุง หรือใช้สมุนไพรไล่ยุง เป็นต้น
นพ.อำนวย กล่าวว่า อีกวิธีคือป้องกันไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เน้นดำเนินกิจกรรมตามมาตรการ 3 เก็บ ได้แก่ 1. เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก 2. เก็บขยะเศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และ 3. เก็บน้ำปิดให้มิดชิดหรือเปลี่ยนบ่อย ๆ ไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนบริเวณใกล้เคียงวัดต่าง ๆ ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวร่วมกับพระสงฆ์
“การดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ 1. ระยะก่อนวันวิสาขบูชา มีการสำรวจลูกน้ำยุงลาย กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 2. ระหว่างวันวิสาขบูชา ดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมทั้งจัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่อง 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรคและเชิญชวนให้ใช้แอปพลิเคชัน “พิชิตลูกน้ำยุงลาย” และ 3. ระยะหลังวันวิสาขบูชา มีการติดตามประเมินผลโดยการสำรวจลูกน้ำยุงลาย” อธิบดี คร. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (19 พ.ค.) นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงปัญหาการกำจัดลูกน้ำยุงลายภายในวัด เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก ว่า เดือนเมษายน 2559 พบว่า ยังมีศาสนสถานที่พบลูกน้ำยุงลายอยู่ทั้งหมด 216 แห่ง หรือมากกว่าร้อยละ 42 ซึ่งทำให้ศาสนสถานมีความเสี่ยงที่จะเป็นสถานที่ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในศาสนสถาน หรือชุมชน/หมู่บ้านใกล้เคียงได้ คร. จึงได้ประชุมหารือร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เพื่อวางแผนหาแนวทางป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยยุงลาย ไม่ให้เกิดในพระสงฆ์และพุทธศาสนิกที่มาร่วมทำบุญในวัด โดยเฉพาะในวันวิสาขบูชาที่จะมาถึงในวันที่ 20 พ.ค. นี้ โดยเน้นการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด เช่น การนอนในมุ้ง ทายากันยุง หรือใช้สมุนไพรไล่ยุง เป็นต้น
นพ.อำนวย กล่าวว่า อีกวิธีคือป้องกันไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เน้นดำเนินกิจกรรมตามมาตรการ 3 เก็บ ได้แก่ 1. เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก 2. เก็บขยะเศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และ 3. เก็บน้ำปิดให้มิดชิดหรือเปลี่ยนบ่อย ๆ ไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนบริเวณใกล้เคียงวัดต่าง ๆ ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวร่วมกับพระสงฆ์
“การดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ 1. ระยะก่อนวันวิสาขบูชา มีการสำรวจลูกน้ำยุงลาย กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 2. ระหว่างวันวิสาขบูชา ดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมทั้งจัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่อง 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรคและเชิญชวนให้ใช้แอปพลิเคชัน “พิชิตลูกน้ำยุงลาย” และ 3. ระยะหลังวันวิสาขบูชา มีการติดตามประเมินผลโดยการสำรวจลูกน้ำยุงลาย” อธิบดี คร. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่