วิกฤตวัยกลางคน เกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 35 - 50 ปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต อาการที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตนี้คือการคิดหมกมุ่นวนเวียนเกี่ยวกับชีวิตของตนเองว่าชีวิตนี้คงอยู่อีกไม่นานนัก ทำให้จดจ่อคิดถึงตนเองอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นด้านชีวิตครอบครัว ด้านการงาน ด้านสุขภาพ ทางการแพทย์กล่าวว่าวิกฤตวัยกลางคน ไม่ใช่โรคทางจิตแต่อย่างใด แต่เป็นอาการที่พบได้ในคนทั่วไป ซึ่งอาจจะเป็นมากหรือน้อยแตกต่างกันออกไป ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจจะตัดสินใจทำอะไรลงไปแบบหุนหันพลันแล่นโดยไม่นึกถึงผลที่จะตามมา เช่นอยู่ ๆ ก็ลาออกจากงานที่มั่นคง ขอหย่าร้างจากคูชีวิตที่อยู่ด้วยกันมานาน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีปัญหาอะไรกัน เอาเงินเก็บทั้งหมดที่มีไปซื้อของราคาแพงที่ไร้สาระ หนีจากสังคมเดิม ๆ ไปใช้ชีวิตตามลำพัง หรือลุกขึ้นเปลี่ยนแปลงตนเองแบบหลุดโลก ในกรณีนี้ผู้เขียนเคยรู้จักผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ลุกขึ้นโกนหัว และไปสักลายทั้งตัวตอนที่อายุจวนจะ 50 โดยหลังจากที่ไปทำแบบนั้นได้ไม่นานก็รู้สึกผิดหวังและโกรธตนเองว่าไม่น่าไปทำอย่างนั้นเลย จนในที่สุดก็คิดหมกมุ่นอยู่กับตัวเองจนทำให้เกิดอาการเป็นโรคซึมเศร้าตามมา
สาเหตุของการเกิดวิกฤตวัยกลางคน
1. เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง คนในช่วงวัยกลางคนนั้นจะมีอาการของคนที่เข้าสู่วัยทอง ในผู้หญิงจะเข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือน ทั้งเพศชายและเพศหญิงจะมีความต้องการทางเพศและสมรรถภาพทางเพศลดลง อีกทั้งมีประสิทธิภาพในการทำงานช้าลง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดง่ายและเบื่อหน่ายตนเอง
2.ความเสื่อมถอยของร่างกาย ในช่วงวัยนี้สภาพร่างกายจะอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด บางคนเริ่มมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ นอกจากนี้ ร่างกายก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเสื่อมถอย เช่น รูปร่างที่ไม่เฟิร์มฟิตเท่าที่เคยเป็น ผมหงอก หัวล้าน หน้าเหี่ยว ซึ่งทำให้หลายคนยอมรับในสภาพการเปลี่ยนแปลงของตนเองไม่ได้
3.การเสียชีวิตของคนที่รักและผูกพัน ในช่วงวัยนี้มักจะพบกับการสูญเสียของคนที่ใกล้ชิดบ่อยมากขึ้น เช่น พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท ซึ่งก่อให้เกิดความเสียใจจนหลายคนรับไม่ได้ ผู้เขียนเองก็เคยมีอาการของวิกฤตวัยกลางคนเพราะเรื่องนี้มาแล้ว จากประสบการณ์ที่น้องชายเสียชีวิตอย่างกะทันหันต่อหน้าต่อตาทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเศร้าเสียใจจนเกินกว่าจะทำใจยอมรับได้ง่าย ๆ จนถึงขนาดมีอาการกินไม่ได้นอนไม่หลับอยู่เป็นเวลานานมากทีเดียว ทำให้คิดวางแผนว่าอยากจะหนีไปอยู่ที่ไหนก็ได้ตามลำพังให้ไกล ๆ โดยที่ไม่บอกใคร เพราะคิดว่าการย้ายตัวเองไปอยู่ที่อื่นนั้นจะช่วยให้จิตใจสามารถลืมความเจ็บปวดจากการสูญเสียครั้งนี้ได้เร็วขึ้น
4. ชีวิตไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เมื่อมาถึงช่วงวัยนี้ซึ่งเป็นวัยที่ชีวิตน่าจะเริ่มอิ่มตัวและประสบความสำเร็จตามที่คิดหวังไว้ ทั้งในเรื่องของชีวิตคู่และการงาน แต่ก็ยังมีหลายคนที่ชีวิตยังไม่ไปถึงเป้าหมายที่ตนเองวางไว้จึงทำให้มีความรู้สึกที่กดดันกับตนเองและขาดความสุขกับชีวิต
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องเลวร้ายเมื่ออยู่ในช่วงวิกฤตวัยกลางคน
1.ระบายความในใจ เมื่อมีปัญหาอย่าเก็บเอาไว้คนเดียว แต่ควรปรึกษาคนที่ใกล้ชิดและไว้ใจได้ เพราะคนในช่วงวิกฤตวัยกลางคนมักจะตัดสินใจอะไรอย่างหุนหันพลันแล่น ซึ่งอาจเกิดผลร้ายตามมาในชีวิตได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่คิดจะทำอะไรจึงควรปรึกษาผู้อื่นก่อนเสมอ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญในชีวิต เช่น การลาออกจากงาน การหย่าร้าง การทำศัลยกรรมเปลี่ยนแปลงตัวเอง
2. อย่าทำตนเองให้ว่าง ในช่วงวัยกลางคนเป็นช่วงวัยที่ลูกเริ่มโตเป็นผู้ใหญ่ซึ่งไม่ต้องให้พ่อแม่มาดูแลแล้วจึงอาจจะทำให้พ่อแม่รู้สึกเหงา ดังนั้นพ่อแม่ที่เคยติดลูกจึงควรหากิจกรรมอื่น ๆ ที่ตนเองชอบมาทดแทน เช่น เดินทางท่องเที่ยว ออกกำลังกาย เลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้สุขภาพแข็งแรงและป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ได้แล้วการออกกำลังกายยังช่วยลดความเครียดและป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าได้ด้วย ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนควรจะออกกำลังกายอยู่เป็นประจำเพื่อที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
4. ศาสนา แก่นแท้ของทุกศาสนาล้วนมีหลักคำสอนที่ชี้ให้คนได้เห็นถึงสัจธรรมและความอนิจจังของชีวิตว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเปลี่ยนแปลงและเสื่อมถอย ดังนั้นผู้ซึ่งอยู่ในช่วงวัยกลางคนที่เกิดความเครียดในช่วงวิกฤตนี้ควรพึ่งพาในหลักคำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถือ เพื่อที่จะนำหลักของศาสนานั้นมาที่ยึดเหนี่ยวให้จิตใจไม่สั่นคลอนไปกับความเสื่อมถอยอีกทั้งช่วยให้จิตใจพบกับความสงบและไม่ฟุ้งซ่าน
วิกฤตวัยกลางคนเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ ดังนั้น เมื่อชีวิตของเราเปลี่ยนผ่านมาถึงช่วงวัยนี้แล้ว ให้เรามีความเข้าใจตนเองและดูแลเอาใจใส่ตนเองทั้งสุขภาพกายและใจให้ดี อย่าปล่อยให้ความเสื่อมถอยและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตมาทำลายความสุขในชีวิตของเราเลย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
สาเหตุของการเกิดวิกฤตวัยกลางคน
1. เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง คนในช่วงวัยกลางคนนั้นจะมีอาการของคนที่เข้าสู่วัยทอง ในผู้หญิงจะเข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือน ทั้งเพศชายและเพศหญิงจะมีความต้องการทางเพศและสมรรถภาพทางเพศลดลง อีกทั้งมีประสิทธิภาพในการทำงานช้าลง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดง่ายและเบื่อหน่ายตนเอง
2.ความเสื่อมถอยของร่างกาย ในช่วงวัยนี้สภาพร่างกายจะอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด บางคนเริ่มมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ นอกจากนี้ ร่างกายก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเสื่อมถอย เช่น รูปร่างที่ไม่เฟิร์มฟิตเท่าที่เคยเป็น ผมหงอก หัวล้าน หน้าเหี่ยว ซึ่งทำให้หลายคนยอมรับในสภาพการเปลี่ยนแปลงของตนเองไม่ได้
3.การเสียชีวิตของคนที่รักและผูกพัน ในช่วงวัยนี้มักจะพบกับการสูญเสียของคนที่ใกล้ชิดบ่อยมากขึ้น เช่น พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท ซึ่งก่อให้เกิดความเสียใจจนหลายคนรับไม่ได้ ผู้เขียนเองก็เคยมีอาการของวิกฤตวัยกลางคนเพราะเรื่องนี้มาแล้ว จากประสบการณ์ที่น้องชายเสียชีวิตอย่างกะทันหันต่อหน้าต่อตาทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเศร้าเสียใจจนเกินกว่าจะทำใจยอมรับได้ง่าย ๆ จนถึงขนาดมีอาการกินไม่ได้นอนไม่หลับอยู่เป็นเวลานานมากทีเดียว ทำให้คิดวางแผนว่าอยากจะหนีไปอยู่ที่ไหนก็ได้ตามลำพังให้ไกล ๆ โดยที่ไม่บอกใคร เพราะคิดว่าการย้ายตัวเองไปอยู่ที่อื่นนั้นจะช่วยให้จิตใจสามารถลืมความเจ็บปวดจากการสูญเสียครั้งนี้ได้เร็วขึ้น
4. ชีวิตไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เมื่อมาถึงช่วงวัยนี้ซึ่งเป็นวัยที่ชีวิตน่าจะเริ่มอิ่มตัวและประสบความสำเร็จตามที่คิดหวังไว้ ทั้งในเรื่องของชีวิตคู่และการงาน แต่ก็ยังมีหลายคนที่ชีวิตยังไม่ไปถึงเป้าหมายที่ตนเองวางไว้จึงทำให้มีความรู้สึกที่กดดันกับตนเองและขาดความสุขกับชีวิต
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องเลวร้ายเมื่ออยู่ในช่วงวิกฤตวัยกลางคน
1.ระบายความในใจ เมื่อมีปัญหาอย่าเก็บเอาไว้คนเดียว แต่ควรปรึกษาคนที่ใกล้ชิดและไว้ใจได้ เพราะคนในช่วงวิกฤตวัยกลางคนมักจะตัดสินใจอะไรอย่างหุนหันพลันแล่น ซึ่งอาจเกิดผลร้ายตามมาในชีวิตได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่คิดจะทำอะไรจึงควรปรึกษาผู้อื่นก่อนเสมอ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญในชีวิต เช่น การลาออกจากงาน การหย่าร้าง การทำศัลยกรรมเปลี่ยนแปลงตัวเอง
2. อย่าทำตนเองให้ว่าง ในช่วงวัยกลางคนเป็นช่วงวัยที่ลูกเริ่มโตเป็นผู้ใหญ่ซึ่งไม่ต้องให้พ่อแม่มาดูแลแล้วจึงอาจจะทำให้พ่อแม่รู้สึกเหงา ดังนั้นพ่อแม่ที่เคยติดลูกจึงควรหากิจกรรมอื่น ๆ ที่ตนเองชอบมาทดแทน เช่น เดินทางท่องเที่ยว ออกกำลังกาย เลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้สุขภาพแข็งแรงและป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ได้แล้วการออกกำลังกายยังช่วยลดความเครียดและป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าได้ด้วย ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนควรจะออกกำลังกายอยู่เป็นประจำเพื่อที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
4. ศาสนา แก่นแท้ของทุกศาสนาล้วนมีหลักคำสอนที่ชี้ให้คนได้เห็นถึงสัจธรรมและความอนิจจังของชีวิตว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเปลี่ยนแปลงและเสื่อมถอย ดังนั้นผู้ซึ่งอยู่ในช่วงวัยกลางคนที่เกิดความเครียดในช่วงวิกฤตนี้ควรพึ่งพาในหลักคำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถือ เพื่อที่จะนำหลักของศาสนานั้นมาที่ยึดเหนี่ยวให้จิตใจไม่สั่นคลอนไปกับความเสื่อมถอยอีกทั้งช่วยให้จิตใจพบกับความสงบและไม่ฟุ้งซ่าน
วิกฤตวัยกลางคนเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ ดังนั้น เมื่อชีวิตของเราเปลี่ยนผ่านมาถึงช่วงวัยนี้แล้ว ให้เรามีความเข้าใจตนเองและดูแลเอาใจใส่ตนเองทั้งสุขภาพกายและใจให้ดี อย่าปล่อยให้ความเสื่อมถอยและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตมาทำลายความสุขในชีวิตของเราเลย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่