สธ. เร่งร่างค่าตอบแทน ปรับปรุงจากฉบับเดิม หวังลดภาวะสมองไหลออกไปภาคเอกชน
วันนี้ (10 พ.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัญหาบุคลากรไหลออกนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ หรือวิชาชีพอื่นๆ พอใช้ทุนเสร็จก็ลาออกไปอยู่ภาคเอกชน ส่วนหนึ่งเพราะงานหนัก ค่าตอบแทนน้อย สธ. จึงต้องเตรียมมาตรการดึงคนไว้ในระบบ เช่น 1. บรรจุเป็นข้าราชการ แต่ก็ต้องให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพราะปัจจุบันมีการจำกัดอัตรากำลังข้าราชการ ดังนั้น อาจจะต้องพิจารณาให้กับสาขาหลักที่ขาดแคลนก่อน ส่วนสายสนับสนุนก็พิจารณาตามความขาดแคลนลดหลั่นกันไปตามสัดส่วนร้อยละ 50 และ 25 ตามลำดับ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องความจำเป็น
2. การเพิ่มค่าตอบแทนมากขึ้น หากต้องการสู้กับความต้องการของตลาด แต่ต้องยอมรับว่า ไม่สามารถให้ได้มากเท่ากับเอกชน โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพอายุ 40 - 45 ปีขึ้นไป ที่เงินเดือนตันแล้วนั้น ที่รมว.สาธารณสุข เป็นห่วงและกำชับมาว่าจะมีช่องทางใดเพื่อเพิ่มความมั่นคงในอาชีพให้มากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้มีประสบการณ์การทำงานสูง ควรมีมาตรการคงไว้ในระบบให้ได้ ทั้งนี้ ในเรื่องการเพิ่มค่าตอบแทนขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างค่าตอบแทนร่างแรก โดยพิจารณาในเรื่องของพื้นที่ ความพึงพอใจ ภาระงาน ซึ่งจะยึดหลักเกณฑ์เรื่องค่าตอบแทนตัวเดิม คือ ฉบับ 8 และ 9 เป็นหลัก โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กระทรวงสาธารณสุข (อ.ก.พ.สธ.) ในวันที่ 12 พ.ค. นี้ ก่อนนำเสนอเข้าคณะกรรมการ ก.พ. พิจารณาต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (10 พ.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัญหาบุคลากรไหลออกนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ หรือวิชาชีพอื่นๆ พอใช้ทุนเสร็จก็ลาออกไปอยู่ภาคเอกชน ส่วนหนึ่งเพราะงานหนัก ค่าตอบแทนน้อย สธ. จึงต้องเตรียมมาตรการดึงคนไว้ในระบบ เช่น 1. บรรจุเป็นข้าราชการ แต่ก็ต้องให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพราะปัจจุบันมีการจำกัดอัตรากำลังข้าราชการ ดังนั้น อาจจะต้องพิจารณาให้กับสาขาหลักที่ขาดแคลนก่อน ส่วนสายสนับสนุนก็พิจารณาตามความขาดแคลนลดหลั่นกันไปตามสัดส่วนร้อยละ 50 และ 25 ตามลำดับ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องความจำเป็น
2. การเพิ่มค่าตอบแทนมากขึ้น หากต้องการสู้กับความต้องการของตลาด แต่ต้องยอมรับว่า ไม่สามารถให้ได้มากเท่ากับเอกชน โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพอายุ 40 - 45 ปีขึ้นไป ที่เงินเดือนตันแล้วนั้น ที่รมว.สาธารณสุข เป็นห่วงและกำชับมาว่าจะมีช่องทางใดเพื่อเพิ่มความมั่นคงในอาชีพให้มากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้มีประสบการณ์การทำงานสูง ควรมีมาตรการคงไว้ในระบบให้ได้ ทั้งนี้ ในเรื่องการเพิ่มค่าตอบแทนขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างค่าตอบแทนร่างแรก โดยพิจารณาในเรื่องของพื้นที่ ความพึงพอใจ ภาระงาน ซึ่งจะยึดหลักเกณฑ์เรื่องค่าตอบแทนตัวเดิม คือ ฉบับ 8 และ 9 เป็นหลัก โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กระทรวงสาธารณสุข (อ.ก.พ.สธ.) ในวันที่ 12 พ.ค. นี้ ก่อนนำเสนอเข้าคณะกรรมการ ก.พ. พิจารณาต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่