หลังเทศกาลสงกรานต์ไม่นาน พบข่าวชิ้นหนึ่งที่ต้องถึงกับอึ้ง และเซ็งไปชั่วขณะ
เนื่องจากมีนักเรียนไทยที่ได้รับ ‘ทุนโอดอส’ ไปศึกษาต่อยังสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการทุจริตการสอบ และเมื่อมีการตรวจสอบก็พบว่า มีการทุจริตจริง คณะกรรมการโครงการจึงให้พ้นจากสภาพการเป็นนักศึกษา และนักเรียนทุน
ทุนโอดอส หรือ ODOS ย่อมาจาก One District One Scholarship หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เป็นทุนการศึกษาของรัฐบาลที่เปิดโอกาสให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับคัดเลือกจากทุกอำเภอ และกิ่งอำเภอ ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ทางการศึกษา แต่มีผลการเรียน และมีความประพฤติดี ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับการศึกษาในต่างประเทศต้องเป็นประเทศกลุ่มที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น เยอรมนี, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, จีน, ญี่ปุ่น, อิตาลี เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบุคลากรให้แต่ละพื้นที่
ผลที่ตามมาจากกรณีของนักเรียนรายดังกล่าว มีการพิจารณาถึงเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งนักเรียนใช้ในการศึกษาไปแล้วไม่สามารถเรียกคืน หรือให้ชดใช้คืนได้ ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของโครงการที่ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขอะไรไว้เลย ทำให้ต้องพิจารณาต่อว่าจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อในรุ่นที่ 5 หรือไม่อย่างไร
เห็นข่าวนี้ก็ให้รู้สึกอึ้งไปเหมือนกัน เพราะหมายถึงภาพลักษณ์ และชื่อเสียงของประเทศไทยก็แย่ไปด้วย ก็ทุนดังกล่าวเป็นทุนของรัฐบาลสำหรับเพื่อช่วยเหลือเด็กเรียนดี และมีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แล้วเหตุใดจึงก่อเหตุทุจริตในการสอบเล่า?
ที่ผ่านมา บ้านเราถูกจับตา และถูกจัดอันดับคอร์รัปชันอยู่ในเกณฑ์น่าเป็นห่วงมาโดยตลอด และมีความพยายามจะแก้ปัญหาในทุกระดับ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการรณรงค์ซะมากกว่า
เรื่องการทุจริต หรือการโกงเป็นปัญหาใหญ่มากในบ้านเรา และนับวันยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสภาพสังคมโดยรวมเรามีปัญหาเรื่องนี้ในทุกระดับ
ในขณะที่ความสลับซับซ้อนของชีวิตก็เพิ่มมากขึ้น ตามเทคโนโลยีที่พรั่งพรูเข้ามาในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้จิตใจของคนก็มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน
เมื่อก่อนเวลาที่ลูกถามว่า “ถ้าเก็บเงินได้แล้วไม่นำไปคืนเจ้าของ เป็นคนไม่ดีหรือเปล่า”
พ่อแม่อาจจะตอบทันทีว่าใช่ เพราะไม่ใช่เงินของเรา เราก็ควรจะนำไปคืนเจ้าของ หรือถ้าไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของก็น่าจะนำไปให้เจ้าหน้าที่ แม้จะไม่มีใครเห็นว่าเราเก็บเงินได้ แต่ตัวเราก็รู้ไม่ใช่หรือ
นั่นคือ การสอนให้ลูกละอายใจต่อการทำไม่ดี หรือละอายใจต่อบาป
หรือเวลาลูกถามว่า “ไปซื้อของแล้วแม่ค้าทอนเงินผิด จะคืนแม่ค้าดีหรือเปล่า หรือแกล้งเก็บเอาไว้ ไม่มีใครรู้หรอก”
พ่อแม่อาจจะตอบทันทีว่า เป็นสิ่งไม่ดี เพราะแม่ค้าอาจต้องขาดทุนในวันนั้น แล้วลูกจะรู้สึกอย่างไรถ้าเราคืนเงินเขาไป อย่างน้อย แม่ค้าก็ต้องกล่าวคำว่าขอบคุณ และเขาก็คงอดชื่นชมคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่ได้ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ความภาคภูมิใจในตนเองก็มีความสุขมิใช่หรือ
แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องถามว่าแล้วพ่อแม่เป็นปัญหาด้วยหรือเปล่า
บางครั้งความรักลูก และปรารถนาอยากให้ลูกมี อยากให้ลูกเป็น อยากให้ลูกได้ ก็ทำให้พ่อแม่ยอมทำเรื่องที่เข้าข่ายทุจริต หรือโกง เพื่อให้ลูกได้เปรียบทุกวิถีทางหรือเปล่า
หรือวิธีคิดวิธีสอนที่ว่าไม่เป็นไรหรอก ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ตอนเด็กๆ ลูกลอกการบ้านก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะลูกทำไม่ทัน กลัวลูกไม่ได้ส่งการบ้าน หรือแม้แต่บางครั้งลูกเอาเปรียบคนอื่น พ่อแม่ก็ยอมหลับตาข้างหนึ่งทำมองไม่เห็น
พฤติกรรมการทุจริต หรือการโกงมักเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ที่คนไม่เห็น หรือทำแล้วไม่มีใครว่า ก็อาจกลายเป็นนิสัยติดตัวเมื่อโต และนำไปใช้ในเรื่องอื่นๆ เช่น เคยทุจริตการสอบในบ้านเราแล้วไม่ถูกจับได้ หรือทำแล้วก็ไม่เห็นเป็นอะไร
แต่เมื่อไปทำในต่างประเทศ ในประเทศที่เขาเอาจริงต่อเรื่องนี้ และมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยอมรับกันไม่ได้ เพราะนั่นหมายความว่า ขนาดเรื่องสอบยังโกง แล้วเรื่องอื่นๆ ต่อไปในอนาคตล่ะ
เรื่องนี้เป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ตั้งแต่การคัดสรรเด็กที่ได้รับทุน โดยมีคณะกรรมการโครงการที่ใช้มาตรฐานใดในการคัดเลือก แล้วเด็กนักเรียนที่โกงครั้งนี้ได้รับบทลงโทษอย่างไร มิใช่แค่ตัดวงจรตัดสิทธิทุนแล้วจบ เพราะมันคือ ภาพลักษณ์ของประเทศ
ขณะเดียวกัน ยังเป็นการตัดโอกาสของเด็กรุ่นใหม่ที่ทำให้ต้องถูกจับตามอง หรือสุดท้ายโครงการนี้ก็อาจต้องยุติไปก่อน ก็เท่ากับเป็นการทำให้เด็กนักเรียนรุ่นต่อๆ ไปเสียโอกาสอีกต่างหาก
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะมันคือภาพสะท้อนของคนในชาติเราด้วยเหมือนกันว่ามีวิธีการจัดการต่อเรื่องการโกงอย่างไร
อีกประการที่สำคัญก็คือ แล้วเราจะสร้างคนในชาติรุ่นต่อไปอย่างไร..?
ยังจะคงเน้นค่านิยมให้เด็กเป็นเด็กเก่ง เด็กฉลาด แล้วไม่สนใจเรื่องความดีเป็นตัวนำอีกกระนั้นหรือ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
เนื่องจากมีนักเรียนไทยที่ได้รับ ‘ทุนโอดอส’ ไปศึกษาต่อยังสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการทุจริตการสอบ และเมื่อมีการตรวจสอบก็พบว่า มีการทุจริตจริง คณะกรรมการโครงการจึงให้พ้นจากสภาพการเป็นนักศึกษา และนักเรียนทุน
ทุนโอดอส หรือ ODOS ย่อมาจาก One District One Scholarship หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เป็นทุนการศึกษาของรัฐบาลที่เปิดโอกาสให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับคัดเลือกจากทุกอำเภอ และกิ่งอำเภอ ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ทางการศึกษา แต่มีผลการเรียน และมีความประพฤติดี ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับการศึกษาในต่างประเทศต้องเป็นประเทศกลุ่มที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น เยอรมนี, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, จีน, ญี่ปุ่น, อิตาลี เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบุคลากรให้แต่ละพื้นที่
ผลที่ตามมาจากกรณีของนักเรียนรายดังกล่าว มีการพิจารณาถึงเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งนักเรียนใช้ในการศึกษาไปแล้วไม่สามารถเรียกคืน หรือให้ชดใช้คืนได้ ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของโครงการที่ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขอะไรไว้เลย ทำให้ต้องพิจารณาต่อว่าจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อในรุ่นที่ 5 หรือไม่อย่างไร
เห็นข่าวนี้ก็ให้รู้สึกอึ้งไปเหมือนกัน เพราะหมายถึงภาพลักษณ์ และชื่อเสียงของประเทศไทยก็แย่ไปด้วย ก็ทุนดังกล่าวเป็นทุนของรัฐบาลสำหรับเพื่อช่วยเหลือเด็กเรียนดี และมีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แล้วเหตุใดจึงก่อเหตุทุจริตในการสอบเล่า?
ที่ผ่านมา บ้านเราถูกจับตา และถูกจัดอันดับคอร์รัปชันอยู่ในเกณฑ์น่าเป็นห่วงมาโดยตลอด และมีความพยายามจะแก้ปัญหาในทุกระดับ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการรณรงค์ซะมากกว่า
เรื่องการทุจริต หรือการโกงเป็นปัญหาใหญ่มากในบ้านเรา และนับวันยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสภาพสังคมโดยรวมเรามีปัญหาเรื่องนี้ในทุกระดับ
ในขณะที่ความสลับซับซ้อนของชีวิตก็เพิ่มมากขึ้น ตามเทคโนโลยีที่พรั่งพรูเข้ามาในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้จิตใจของคนก็มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน
เมื่อก่อนเวลาที่ลูกถามว่า “ถ้าเก็บเงินได้แล้วไม่นำไปคืนเจ้าของ เป็นคนไม่ดีหรือเปล่า”
พ่อแม่อาจจะตอบทันทีว่าใช่ เพราะไม่ใช่เงินของเรา เราก็ควรจะนำไปคืนเจ้าของ หรือถ้าไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของก็น่าจะนำไปให้เจ้าหน้าที่ แม้จะไม่มีใครเห็นว่าเราเก็บเงินได้ แต่ตัวเราก็รู้ไม่ใช่หรือ
นั่นคือ การสอนให้ลูกละอายใจต่อการทำไม่ดี หรือละอายใจต่อบาป
หรือเวลาลูกถามว่า “ไปซื้อของแล้วแม่ค้าทอนเงินผิด จะคืนแม่ค้าดีหรือเปล่า หรือแกล้งเก็บเอาไว้ ไม่มีใครรู้หรอก”
พ่อแม่อาจจะตอบทันทีว่า เป็นสิ่งไม่ดี เพราะแม่ค้าอาจต้องขาดทุนในวันนั้น แล้วลูกจะรู้สึกอย่างไรถ้าเราคืนเงินเขาไป อย่างน้อย แม่ค้าก็ต้องกล่าวคำว่าขอบคุณ และเขาก็คงอดชื่นชมคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่ได้ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ความภาคภูมิใจในตนเองก็มีความสุขมิใช่หรือ
แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องถามว่าแล้วพ่อแม่เป็นปัญหาด้วยหรือเปล่า
บางครั้งความรักลูก และปรารถนาอยากให้ลูกมี อยากให้ลูกเป็น อยากให้ลูกได้ ก็ทำให้พ่อแม่ยอมทำเรื่องที่เข้าข่ายทุจริต หรือโกง เพื่อให้ลูกได้เปรียบทุกวิถีทางหรือเปล่า
หรือวิธีคิดวิธีสอนที่ว่าไม่เป็นไรหรอก ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ตอนเด็กๆ ลูกลอกการบ้านก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะลูกทำไม่ทัน กลัวลูกไม่ได้ส่งการบ้าน หรือแม้แต่บางครั้งลูกเอาเปรียบคนอื่น พ่อแม่ก็ยอมหลับตาข้างหนึ่งทำมองไม่เห็น
พฤติกรรมการทุจริต หรือการโกงมักเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ที่คนไม่เห็น หรือทำแล้วไม่มีใครว่า ก็อาจกลายเป็นนิสัยติดตัวเมื่อโต และนำไปใช้ในเรื่องอื่นๆ เช่น เคยทุจริตการสอบในบ้านเราแล้วไม่ถูกจับได้ หรือทำแล้วก็ไม่เห็นเป็นอะไร
แต่เมื่อไปทำในต่างประเทศ ในประเทศที่เขาเอาจริงต่อเรื่องนี้ และมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยอมรับกันไม่ได้ เพราะนั่นหมายความว่า ขนาดเรื่องสอบยังโกง แล้วเรื่องอื่นๆ ต่อไปในอนาคตล่ะ
เรื่องนี้เป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ตั้งแต่การคัดสรรเด็กที่ได้รับทุน โดยมีคณะกรรมการโครงการที่ใช้มาตรฐานใดในการคัดเลือก แล้วเด็กนักเรียนที่โกงครั้งนี้ได้รับบทลงโทษอย่างไร มิใช่แค่ตัดวงจรตัดสิทธิทุนแล้วจบ เพราะมันคือ ภาพลักษณ์ของประเทศ
ขณะเดียวกัน ยังเป็นการตัดโอกาสของเด็กรุ่นใหม่ที่ทำให้ต้องถูกจับตามอง หรือสุดท้ายโครงการนี้ก็อาจต้องยุติไปก่อน ก็เท่ากับเป็นการทำให้เด็กนักเรียนรุ่นต่อๆ ไปเสียโอกาสอีกต่างหาก
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะมันคือภาพสะท้อนของคนในชาติเราด้วยเหมือนกันว่ามีวิธีการจัดการต่อเรื่องการโกงอย่างไร
อีกประการที่สำคัญก็คือ แล้วเราจะสร้างคนในชาติรุ่นต่อไปอย่างไร..?
ยังจะคงเน้นค่านิยมให้เด็กเป็นเด็กเก่ง เด็กฉลาด แล้วไม่สนใจเรื่องความดีเป็นตัวนำอีกกระนั้นหรือ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่