ศมส.เผยผลวิจัยชี้พัฒนาเมืองสมุทรสาคร กลายเป็นเมืองอุตสาหกรรม พบแรงงานเพื่อนบ้านเพียบ ทำสภาพแวดล้อมพัง พบน้ำคลองเน่าเสีย พืชสมุนไพรท้องถิ่นสูญหาย
นายเอนก สีหามาตย์ รองผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (ศมส.) (องค์การมหาชน) ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชุมชนสมุทรสาคร กล่าวว่า ศมส.ได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ด้านมรดกวัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์ชุมชนสมุทรสาคร โดยอ้างอิงจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทางโบราณคดี ซึ่งใช้เวลาดำเนินการปี 2559-2561 เพื่อนำไปสู่การจัดทำเป็นฐานข้อมูลมานุษยวิทยา สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงชุมชนท้องถิ่น การสร้างนโยบายในการพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยจะนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับบูรณาการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อให้มีการบริหารจัดการอย่างมีแบบแผน
ด้านดร.สมลักษณ์ ชัยสิงห์กานานนท์ นักวิจัยโครงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชาติพันธุ์ใน อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ศมส. กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ อ. เมืองสมุทรสาคร ระยะที่ 1 พบว่า ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา มีกลุ่มแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่า ทะลักเข้ามาในพื้นที่มากกว่า 4 แสนราย ส่งผลให้รูปการใช้ชีวิตของชาวสมุทรสาคร จากสังคมเกษตรกรรม เปลี่ยนเป็นสังคมอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน คนในพื้นที่หันมาจ้างงานกลุ่มคนจากประเทศเพื่อนบ้านแทนชาวบ้าน รวมทั้งยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชุมชนบ้านเรือนไทย แปลงเป็นอาคารพาณิชย์อย่างรวดเร็ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากก็คือ นายทุนกว้านซื้อที่ดินจากชาวบ้านมาสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้น เมื่อมีสิ่งปฏิกูลก็ทิ้งลงแม่น้ำลำคลอง ที่ไม่ได้จัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย จนกระทั่งชาวบ้านไม่กล้าใช้น้ำในคลองเหมือนในอดีต นอกจากนี้ พืชพันธุ์ต้นไม้ท้องถิ่นเริ่มสูญหาย เช่น ต้นสลัดได เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคที่สำคัญของท้องถิ่น ขณะนี้เหลือแค่ชื่อติดอยู่ในชุมชน ซึ่งแน่นอนเยาวชนรุ่นใหม่จะไม่รู้จักพืชชนิดนี้แล้ว ส่วนวิถีชุมชนชาวบ้านเปลี่ยนไปจากเดิม ปัจจุบัน ลูกหลานต้องเดินทางไปทำงานในเมือง ทั้งนี้ ทางคณะวิจัยจะขยายผลไปศึกษาระยะที่ 2 ใน อ.กระทุ่มแบน และ อ.บ้านแพ้ว จากนั้นจะประมวลผลความรู้กลับคืนพื้นที่ ส่งต่อไปยังครูผู้สอนหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อนำงานวิจัยไปใช้สอนเด็ก และเยาวชน ตลอดจนประชาชนในท้องถิ่นด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นายเอนก สีหามาตย์ รองผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (ศมส.) (องค์การมหาชน) ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชุมชนสมุทรสาคร กล่าวว่า ศมส.ได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ด้านมรดกวัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์ชุมชนสมุทรสาคร โดยอ้างอิงจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทางโบราณคดี ซึ่งใช้เวลาดำเนินการปี 2559-2561 เพื่อนำไปสู่การจัดทำเป็นฐานข้อมูลมานุษยวิทยา สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงชุมชนท้องถิ่น การสร้างนโยบายในการพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยจะนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับบูรณาการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อให้มีการบริหารจัดการอย่างมีแบบแผน
ด้านดร.สมลักษณ์ ชัยสิงห์กานานนท์ นักวิจัยโครงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชาติพันธุ์ใน อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ศมส. กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ อ. เมืองสมุทรสาคร ระยะที่ 1 พบว่า ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา มีกลุ่มแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่า ทะลักเข้ามาในพื้นที่มากกว่า 4 แสนราย ส่งผลให้รูปการใช้ชีวิตของชาวสมุทรสาคร จากสังคมเกษตรกรรม เปลี่ยนเป็นสังคมอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน คนในพื้นที่หันมาจ้างงานกลุ่มคนจากประเทศเพื่อนบ้านแทนชาวบ้าน รวมทั้งยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชุมชนบ้านเรือนไทย แปลงเป็นอาคารพาณิชย์อย่างรวดเร็ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากก็คือ นายทุนกว้านซื้อที่ดินจากชาวบ้านมาสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้น เมื่อมีสิ่งปฏิกูลก็ทิ้งลงแม่น้ำลำคลอง ที่ไม่ได้จัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย จนกระทั่งชาวบ้านไม่กล้าใช้น้ำในคลองเหมือนในอดีต นอกจากนี้ พืชพันธุ์ต้นไม้ท้องถิ่นเริ่มสูญหาย เช่น ต้นสลัดได เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคที่สำคัญของท้องถิ่น ขณะนี้เหลือแค่ชื่อติดอยู่ในชุมชน ซึ่งแน่นอนเยาวชนรุ่นใหม่จะไม่รู้จักพืชชนิดนี้แล้ว ส่วนวิถีชุมชนชาวบ้านเปลี่ยนไปจากเดิม ปัจจุบัน ลูกหลานต้องเดินทางไปทำงานในเมือง ทั้งนี้ ทางคณะวิจัยจะขยายผลไปศึกษาระยะที่ 2 ใน อ.กระทุ่มแบน และ อ.บ้านแพ้ว จากนั้นจะประมวลผลความรู้กลับคืนพื้นที่ ส่งต่อไปยังครูผู้สอนหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อนำงานวิจัยไปใช้สอนเด็ก และเยาวชน ตลอดจนประชาชนในท้องถิ่นด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่