สธ. พร้อมดัน “การวิจัยและผลิตยา” ใช้เองในประเทศ หวังสร้างความมั่นคงตามนโยบายรัฐ หลังพบมีค่าใช้จ่ายด้านยาพุ่ง 1.4 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ เน้นงานวิจัยยาตอบสนองตลาด ความต้องการประชาชน
วันนี้ (10 มี.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความคาดหวังของกระทรวงสาธารณสุขต่อการพัฒนายาของประเทศไทย” ในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ “นวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศในการวิจัยพัฒนาและผลิตยาของประเทศไทย” จัดโดย องค์การเภสัชกรรม ว่า ขณะนี้ไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพปีละกว่า 4 แสนล้านบาท จำนวนนี้เป็นค่ายากว่า 1.4 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้ประเทศไทยพึ่งตัวเองได้ด้านยา ต้องนำเอาศักยภาพที่มีมาบูรณาการสร้างสิ่งที่ประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อน คือ “การวิจัยและผลิตยา” ทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นให้ได้ รัฐบาล และ สธ. พร้อมที่จะให้การสนับสนุน โดยขอให้เป็นงานวิจัยเพื่อตอบสนองตลาด และความต้องการประชาชน นำไปสู่การใช้ได้จริง
“มั่นใจว่า ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการวิจัยและผลิตยาได้ เรามีนักวิจัยที่เก่ง มีงานวิจัยที่ดี ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันทำยังไงจะผลักสู่เชิงพาณิชย์ได้ กระทรวงสาธารณสุขพร้อมสนับสนุน โดยเฉพาะการดูแลให้องค์การเภสัชกรรมยืนอยู่บนขาตัวเองได้ เก่งโดยที่ไม่กีดกันคนอื่น และพร้อมที่จะสนับสนุนสิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นด้านเภสัชกรรม ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใด เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ” นพ.ปิยะสกล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (10 มี.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความคาดหวังของกระทรวงสาธารณสุขต่อการพัฒนายาของประเทศไทย” ในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ “นวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศในการวิจัยพัฒนาและผลิตยาของประเทศไทย” จัดโดย องค์การเภสัชกรรม ว่า ขณะนี้ไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพปีละกว่า 4 แสนล้านบาท จำนวนนี้เป็นค่ายากว่า 1.4 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้ประเทศไทยพึ่งตัวเองได้ด้านยา ต้องนำเอาศักยภาพที่มีมาบูรณาการสร้างสิ่งที่ประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อน คือ “การวิจัยและผลิตยา” ทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นให้ได้ รัฐบาล และ สธ. พร้อมที่จะให้การสนับสนุน โดยขอให้เป็นงานวิจัยเพื่อตอบสนองตลาด และความต้องการประชาชน นำไปสู่การใช้ได้จริง
“มั่นใจว่า ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการวิจัยและผลิตยาได้ เรามีนักวิจัยที่เก่ง มีงานวิจัยที่ดี ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันทำยังไงจะผลักสู่เชิงพาณิชย์ได้ กระทรวงสาธารณสุขพร้อมสนับสนุน โดยเฉพาะการดูแลให้องค์การเภสัชกรรมยืนอยู่บนขาตัวเองได้ เก่งโดยที่ไม่กีดกันคนอื่น และพร้อมที่จะสนับสนุนสิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นด้านเภสัชกรรม ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใด เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ” นพ.ปิยะสกล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่