xs
xsm
sm
md
lg

เด็กสมองเล็ก มีหลายสาเหตุ ไวรัสซิกาเป็นเพียงสมมติฐานหนึ่งเท่านั้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ข่าวการแพร่ระบาดของโรคไวรัสซิกาสร้างความตื่นตระหนกอย่างมากในหมู่สาธารณชน เพราะว่าจะทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสนี้คลอดลูกออกมาเป็นโรคศีรษะเล็ก แต่สาเหตุที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ จากข้อมูลการศึกษาวิจัยที่มีอยู่ ชี้ว่า สาเหตุของโรคเด็กแรกคลอดศีรษะเล็กนั้นมีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ สารเคมี !
คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ
ทำไมไวรัสซิกา ซึ่งมีมามากกว่า 60 ปีแล้ว จึงเพิ่งมาทำให้เกิดโรคศีรษะเล็กในเวลานี้
ทำไมเด็กบราซิลที่เป็นโรคศีรษะเล็ก 400 คน มีเพียง 17 คนเท่านั้นที่ตรวจพบเชื้อไวรัสซิกา
ทำไมประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่มีการระบาดของโรคไวรัสซิกา แต่มีเด็กเป็นโรคศีรษะเล็กถึงปีละ 25,000 คน (http://1.usa.gov/1POnswX)

องค์การอนามัยโลก ก็ “ไม่ได้” ฟันธง
องค์การอนามัยโลกซึ่งออกข่าวเตือนประชาชนทั่วโลกให้ระมัดระวังเรื่องนี้ ก็ “ไม่ได้” สรุปฟันธงว่า ไวรัสซิกาเป็นสาเหตุของโรคศีรษะเล็ก เรื่องนี้จึงยังเป็นเพียงสมมติฐาน (http://bit.ly/1Ufxszj)
และที่น่าสนใจมากคือ ในเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลกเองกลับชี้ว่ามีสาเหตุอื่น ๆของโรคศีรษะเล็กที่พบบ่อย ๆ คือ
1. การติดเชื้ออื่น ๆ ในระหว่างมารดาตั้งครรภ์ เช่น เชื้อพยาธิ toxoplasmosis, rubella, herpes, syphilis, cytomegalovirus, HIV
2. การได้รับสารพิษในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โลหะหนัก ปรอท สารหนู สุรา สารกัมมันตรังสี บุหรี่
3. ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ภาวะกลุ่มอาการดาวน์
4. การขาดสารอาหารรุนแรง ขณะเด็กอยู่ในครรภ์มารดา
สารเคมีถูกเพ่งเล็งว่าเป็นสาเหตุ
สมาคมของแพทย์ในประเทศบราซิลและอาร์เจนตินาในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้ซิกาเองก็ไม่เชื่อว่าโรคนี้ทำให้เกิดโรคศีรษะเล็ก และเสนอว่าอาจจะเกิดจากสารเคมีที่นำไปใส่ในน้ำเพื่อฆ่าลูกน้ำยุง เมื่อหญิงตั้งครรภ์ดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อนจึงส่งผลถึงเด็กในครรภ์ (http://bit.ly/1otBTdB)
นอกจากนี้ ประเทศบราซิลและอาร์เจนตินาก็นำเข้าสารเคมีฆ่าหญ้าฆ่าแมลงอันตรายอื่น ๆ อีกจำนวนมาก สารเคมีเหล่านี้มีงานวิจัยจำนวนมากพิสูจน์แล้วว่าทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด (http://1.usa.gov/1SJe26d)

มีอีกสมมติฐานหนึ่งที่กล่าวถึงกัน คือ วัคซีนที่ฉีดขณะตั้งครรภ์ เพราะในปี ค.ศ. 2014 รัฐบาลบราซิล ประกาศให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีการศึกษาเรื่องความปลอดภัยอย่างเพียงพอ ปี 2015 จึงพบผู้ป่วยโรคนี้จำนวนมาก เชื่อว่า เป็นเพราะในวัคซีนมีอนุพันธ์ของโลหะหนักปรอท หรือ อลูมินัม ใช้เป็นสารกันบูดและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (http://bit.ly/1nSWxUb)
ดังนั้น จึงควรต้องมีการลงทุนศึกษาวิจัยเรื่องนี้ให้กระจ่าง ระบุออกมาให้ได้ว่า แต่ละปัจจัยนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด
จะได้ควบคุมปัจจัยที่เสี่ยงสูง ไม่จับผู้ร้ายผิดตัว
แล้วจะทำอย่างไรกันดีตอนนี้
การระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด เพื่อป้องกันโรคที่ยุงเป็นพาหะ (ไข้เลือดออก ไข้เหลือง ไข้มาเลเรีย) นั้นมีประโยชน์แน่นอน ทั้งคนที่ตั้งครรภ์และไม่ได้ตั้งครรภ์ เช่น การใช้สมุนไพรตะไคร้หอม ใส่เสื้อแขนยาว นอนในมุ้ง ฯลฯ
แต่ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปใช้ทางเลือกที่ไปเพิ่มสารเคมีเข้าสู่ร่างกายและสิ่งแวดล้อม

ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่



กำลังโหลดความคิดเห็น