วธ. ให้เวลา 30 วัน สวธ. ตีความมรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้ เพื่อเสนอ ครม. ต่อไป
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการพิจารณา ถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.... ได้มีข้อสังเกตในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยมอบหมายให้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เร่งรัดกำหนดลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทั้ง 7 ประเภท ได้แก่ 1. วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 2. ศิลปะการแสดง 3. แนวทางปฏิบัติทางสังคม 4. ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติ และจักรวาล 5. งานช่างฝีมือดั้งเดิม 6. การละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องปันตัว และ 7. ลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประกาศไว้ในมาตรา 4 วรรค 2
นายวีระ กล่าวว่า ยังให้มีการออกระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และมาตรการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามมาตรา 10 (8) ของ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว และให้สรุปผลการพิจารณาและส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอที่ประชุม ครม. ต่อไป
ด้านนางพิมพ์รวี วัฒนวรางกูร อธิบดี สวธ. กล่าวว่า ตนได้มอบหมายให้สถาบันวัฒนธรรมศึกษา สวธ. แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ทั้ง 7 ประเภท มาร่วมระดมความคิดเห็นจัดทำรายละเอียด พร้อมทั้งขยายความมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ในแต่ละประเภทที่มีการกำหนดอยู่ใน พ.ร.บ. ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งจะมีการจัดทำประกาศ และคู่มือประกอบแนวทางการนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ให้แล้วเสร็จและส่งไปยัง สลค. ภายในสัปดาห์หน้า
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการพิจารณา ถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.... ได้มีข้อสังเกตในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยมอบหมายให้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เร่งรัดกำหนดลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทั้ง 7 ประเภท ได้แก่ 1. วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 2. ศิลปะการแสดง 3. แนวทางปฏิบัติทางสังคม 4. ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติ และจักรวาล 5. งานช่างฝีมือดั้งเดิม 6. การละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องปันตัว และ 7. ลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประกาศไว้ในมาตรา 4 วรรค 2
นายวีระ กล่าวว่า ยังให้มีการออกระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และมาตรการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามมาตรา 10 (8) ของ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว และให้สรุปผลการพิจารณาและส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอที่ประชุม ครม. ต่อไป
ด้านนางพิมพ์รวี วัฒนวรางกูร อธิบดี สวธ. กล่าวว่า ตนได้มอบหมายให้สถาบันวัฒนธรรมศึกษา สวธ. แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ทั้ง 7 ประเภท มาร่วมระดมความคิดเห็นจัดทำรายละเอียด พร้อมทั้งขยายความมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ในแต่ละประเภทที่มีการกำหนดอยู่ใน พ.ร.บ. ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งจะมีการจัดทำประกาศ และคู่มือประกอบแนวทางการนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ให้แล้วเสร็จและส่งไปยัง สลค. ภายในสัปดาห์หน้า
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่