สธ. เผยอาการผู้ป่วยเมอร์สยังทรงตัว ไม่มีไข้ เหลือติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอีก 1 ราย เป็นชาวฝรั่งเศส ประสาน WHO ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกแจ้งภูมิภาคต่าง ๆ ให้ดูแลเตรียมพร้อม ผู้เชี่ยวชาญไวรัสเผยทั่วโลกตายจากโรคเมอร์ส 586 ราย ยันระบบคัดกรองไทยเข้มงวด
วันนี้ (28 ม.ค.) นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวความคืบหน้าอาการของชายชาวโอมาน อายุ 71 ปี ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ซึ่งขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร ตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา ว่า อาการผู้ป่วยยังทรง ๆ ไม่มีไข้แล้ว แต่ยังหายใจเร็วต้องใช้ออกซิเจน พูดคุย ลุกเดิน และรับประทานอาหารได้ ส่วนการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งหมด 40 ราย ขณะนี้สามารถติดตามตัวเข้ามาสู่ระบบได้แล้ว 39 คน เหลืออีก 1 คน เป็นชาวฝรั่งเศสอยู่ระหว่างการติดตามตัว โดยได้แจ้งไปยังสถานทูตฝรั่งเศสเพื่อเร่งดำเนินการแล้ว ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ติดตามตัวได้แล้ว 39 คน พบว่า มี 1 คนที่มีอาการเจ็บคอ แต่ไม่มีไข้ ตอนนี้อยู่ระหว่างการตรวจหาเชื้อในสารคัดหลั่ง และมี 14 คนที่ออกนอกประเทศไทยไปแล้ว ซึ่งยืนยันว่าไทยดำเนินการตามมาตรฐานของกฎอนามัยระหว่างประเทศ และแจ้งไปยังประเทศปลายทางเพื่อเฝ้าระวังต่อ ทั้งนี้ ยืนยันว่า ผู้มีความเสี่ยงสูงทุกคนสบายดี และยังไม่ใช่ผู้ป่วยแต่อย่างใด
นพ.อำนวย กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจกับสถานพยาบาลของทั้งภาครัฐ และเอกชนให้มีการเตรียมความพร้อม เพราะมีโอกาสที่จะมีผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่การระบาดเข้ามาในประเทศไทย ขอให้เพิ่มความละเอียดในการดูแล คัดกรอง ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายดูแลเรื่องมาตรฐานสถานพยาบาลอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังได้มีการประสานไปยังองค์การอนามัยโลกประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเพื่อขอให้ประสานต่อไปยังองค์การอนามัยโลกภาคพื้นต่าง ๆ เพื่อแจ้งลักษณะเคสให้ทราบและขอให้ดูแลพื้นที่ของตัวเองมีการประสานยังประเทศต้นทาง ปลายทางของการเดินทางให้ทราบและเตรียมพร้อมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่ออันตราย ทั้งปัจจัยของพื้นที่ และสถานพยาบาล
“ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรงประเทศต้นทางจะไม่ให้เดินทางข้ามประเทศอยู่แล้ว แต่กรณีที่ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาแล้วเดินทางเข้ามารักษาในประเทศอื่นก็ถือเป็นความรับผิดชอบของประเทศปลายทาง ซึ่งของไทยมีมาตรการตรวจเข้มตั้งแต่ด่านพรหมแดนที่สนามบิน ที่สถานพยาบาลและชุมชน อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ปัจจุบันมีชาวตะวันออกกลางเข้ามารักษาที่เมืองไทยจำนวนมากแต่ยังไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งมีทั้งคนที่เข้าประเทศผ่านการส่งต่อระหว่างประเทศ และเดินทางเข้ามารักษาเอง” นพ.อำนวย กล่าว
ด้าน ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้ายไวรัสวิทยา และที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ของโรคเมอร์สตอนนี้พบผู้ป่วยใน 26 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยทั้งหมด 1,626 ราย เสียชีวิตประมาณ 586 ราย อัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 36 หรือ ผู้ป่วย 10 คน จะมีคนเสียชีวิต 4 คน แต่ในการระบาดที่ประเทศเกาหลีใต้เมื่อปีที่ผ่านมาอัตราการป่วยอยู่ที่ร้อยละ 15 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ประชาชนไทยไม่ต้องกังวล เพราะไทยมีระบบการตรวจคัดกรองที่เข้มงวดมาก อย่างรายที่ 2 นี้สามารถตรวจสอบได้อย่างเร็วภายใน 10 ชั่วโมง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (28 ม.ค.) นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวความคืบหน้าอาการของชายชาวโอมาน อายุ 71 ปี ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ซึ่งขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร ตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา ว่า อาการผู้ป่วยยังทรง ๆ ไม่มีไข้แล้ว แต่ยังหายใจเร็วต้องใช้ออกซิเจน พูดคุย ลุกเดิน และรับประทานอาหารได้ ส่วนการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งหมด 40 ราย ขณะนี้สามารถติดตามตัวเข้ามาสู่ระบบได้แล้ว 39 คน เหลืออีก 1 คน เป็นชาวฝรั่งเศสอยู่ระหว่างการติดตามตัว โดยได้แจ้งไปยังสถานทูตฝรั่งเศสเพื่อเร่งดำเนินการแล้ว ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ติดตามตัวได้แล้ว 39 คน พบว่า มี 1 คนที่มีอาการเจ็บคอ แต่ไม่มีไข้ ตอนนี้อยู่ระหว่างการตรวจหาเชื้อในสารคัดหลั่ง และมี 14 คนที่ออกนอกประเทศไทยไปแล้ว ซึ่งยืนยันว่าไทยดำเนินการตามมาตรฐานของกฎอนามัยระหว่างประเทศ และแจ้งไปยังประเทศปลายทางเพื่อเฝ้าระวังต่อ ทั้งนี้ ยืนยันว่า ผู้มีความเสี่ยงสูงทุกคนสบายดี และยังไม่ใช่ผู้ป่วยแต่อย่างใด
นพ.อำนวย กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจกับสถานพยาบาลของทั้งภาครัฐ และเอกชนให้มีการเตรียมความพร้อม เพราะมีโอกาสที่จะมีผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่การระบาดเข้ามาในประเทศไทย ขอให้เพิ่มความละเอียดในการดูแล คัดกรอง ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายดูแลเรื่องมาตรฐานสถานพยาบาลอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังได้มีการประสานไปยังองค์การอนามัยโลกประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเพื่อขอให้ประสานต่อไปยังองค์การอนามัยโลกภาคพื้นต่าง ๆ เพื่อแจ้งลักษณะเคสให้ทราบและขอให้ดูแลพื้นที่ของตัวเองมีการประสานยังประเทศต้นทาง ปลายทางของการเดินทางให้ทราบและเตรียมพร้อมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่ออันตราย ทั้งปัจจัยของพื้นที่ และสถานพยาบาล
“ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรงประเทศต้นทางจะไม่ให้เดินทางข้ามประเทศอยู่แล้ว แต่กรณีที่ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาแล้วเดินทางเข้ามารักษาในประเทศอื่นก็ถือเป็นความรับผิดชอบของประเทศปลายทาง ซึ่งของไทยมีมาตรการตรวจเข้มตั้งแต่ด่านพรหมแดนที่สนามบิน ที่สถานพยาบาลและชุมชน อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ปัจจุบันมีชาวตะวันออกกลางเข้ามารักษาที่เมืองไทยจำนวนมากแต่ยังไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งมีทั้งคนที่เข้าประเทศผ่านการส่งต่อระหว่างประเทศ และเดินทางเข้ามารักษาเอง” นพ.อำนวย กล่าว
ด้าน ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้ายไวรัสวิทยา และที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ของโรคเมอร์สตอนนี้พบผู้ป่วยใน 26 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยทั้งหมด 1,626 ราย เสียชีวิตประมาณ 586 ราย อัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 36 หรือ ผู้ป่วย 10 คน จะมีคนเสียชีวิต 4 คน แต่ในการระบาดที่ประเทศเกาหลีใต้เมื่อปีที่ผ่านมาอัตราการป่วยอยู่ที่ร้อยละ 15 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ประชาชนไทยไม่ต้องกังวล เพราะไทยมีระบบการตรวจคัดกรองที่เข้มงวดมาก อย่างรายที่ 2 นี้สามารถตรวจสอบได้อย่างเร็วภายใน 10 ชั่วโมง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่