สธ.เตือนช่วงอากาศหนาวเย็น พบผู้ป่วยโรคอุจาระร่วงเข้ารักษา 80,000-100,000 คนต่อเดือน เหตุละเลยการล้างมือให้สะอาด แนะยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ”
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในช่วงฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นทำให้เชื้อโรคสามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น แพร่กระจายได้ง่ายกว่าในช่วงที่มีอากาศร้อน โดยโรคที่พบได้บ่อยคือไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งโรคอุจาระร่วง ที่พบได้ตลอดปี ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ช่วงฤดูหนาว จะพบผู้ป่วยโรคอุจาระร่วง เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศเดือนละ 80,000-100,000 คน โดยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม มีผู้ป่วยมากกว่า 100,000 คน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบบทางเดินอาหาร ขอแนะนำให้ประชาชนปฏิบัติให้เป็นนิสัย 3 ประการ คือให้ “กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ” ซึ่งการล้างมือบ่อย ๆ การล้างมือจะช่วยขจัดเชื้อโรคที่อยู่ในมือ เพราะเราอาจเผลอใช้มือหยิบอาหารเข้าปาก ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านกรรมวิธีทำให้สุกอย่างถูกวิธี เลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ขอให้พ่อแม่ดูแลเรื่องการกินอย่างใกล้ชิด อาหารไม่ควรเก็บไว้ข้ามมื้อ เนื่องจากเด็กวัยนี้นอกจากจะมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำแล้ว ยังดูแลตัวเองไม่เป็น หยิบอาหารเข้าปากแบบไร้เดียงสา จึงมีโอกาสติดเชื้อง่าย
นพ.โสภณกล่าวว่า โรคอุจาระร่วง หรือท้องร่วง หมายถึงการถ่ายอุจจาระเหลวจำนวน 3 ครั้งต่อวัน หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูก หรือมูกปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปภายใน 1 วัน สาเหตุเกิดได้ทั้งจาก เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส โปรโตซัวปรสิต หนอนพยาธิ และเชื้อไวรัสโรต้า โดยเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปาก จากการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มไม่สะอาด การไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนการเตรียมหรือปรุงอาหารและภาชนะสกปรกหรือมีเชื้อโรคปะปน ซึ่งอันตรายของโรคนี้ คือร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ไปพร้อมกับการถ่ายอุจจาระจำนวนมาก จนอาจทำให้ช็อกหมดสติและถึงแก่ความตายได้โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ สำหรับการดูแลผู้ที่ป่วยโรคอุจจาระร่วง กรณีที่เป็นเด็ก ขอให้เด็กรับประทานอาหารเหลวบ่อยๆ หากเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุ ขอให้รับประทานอาหารตามปกติ แต่ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ยังถ่ายบ่อย อาเจียน รับประทนอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ มีไข้สูง หรือถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด ให้รีบไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในช่วงฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นทำให้เชื้อโรคสามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น แพร่กระจายได้ง่ายกว่าในช่วงที่มีอากาศร้อน โดยโรคที่พบได้บ่อยคือไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งโรคอุจาระร่วง ที่พบได้ตลอดปี ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ช่วงฤดูหนาว จะพบผู้ป่วยโรคอุจาระร่วง เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศเดือนละ 80,000-100,000 คน โดยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม มีผู้ป่วยมากกว่า 100,000 คน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบบทางเดินอาหาร ขอแนะนำให้ประชาชนปฏิบัติให้เป็นนิสัย 3 ประการ คือให้ “กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ” ซึ่งการล้างมือบ่อย ๆ การล้างมือจะช่วยขจัดเชื้อโรคที่อยู่ในมือ เพราะเราอาจเผลอใช้มือหยิบอาหารเข้าปาก ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านกรรมวิธีทำให้สุกอย่างถูกวิธี เลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ขอให้พ่อแม่ดูแลเรื่องการกินอย่างใกล้ชิด อาหารไม่ควรเก็บไว้ข้ามมื้อ เนื่องจากเด็กวัยนี้นอกจากจะมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำแล้ว ยังดูแลตัวเองไม่เป็น หยิบอาหารเข้าปากแบบไร้เดียงสา จึงมีโอกาสติดเชื้อง่าย
นพ.โสภณกล่าวว่า โรคอุจาระร่วง หรือท้องร่วง หมายถึงการถ่ายอุจจาระเหลวจำนวน 3 ครั้งต่อวัน หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูก หรือมูกปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปภายใน 1 วัน สาเหตุเกิดได้ทั้งจาก เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส โปรโตซัวปรสิต หนอนพยาธิ และเชื้อไวรัสโรต้า โดยเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปาก จากการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มไม่สะอาด การไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนการเตรียมหรือปรุงอาหารและภาชนะสกปรกหรือมีเชื้อโรคปะปน ซึ่งอันตรายของโรคนี้ คือร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ไปพร้อมกับการถ่ายอุจจาระจำนวนมาก จนอาจทำให้ช็อกหมดสติและถึงแก่ความตายได้โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ สำหรับการดูแลผู้ที่ป่วยโรคอุจจาระร่วง กรณีที่เป็นเด็ก ขอให้เด็กรับประทานอาหารเหลวบ่อยๆ หากเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุ ขอให้รับประทานอาหารตามปกติ แต่ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ยังถ่ายบ่อย อาเจียน รับประทนอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ มีไข้สูง หรือถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด ให้รีบไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่