เอ็นจีโอ เผย ข้อมูลแรงงานข้ามชาติในระบบจำนวนมากต่อประกันสังคมไม่ได้ เหตุ สปส. ยกเลิกใช้หลักฐานใบสีชมพูที่ คสช. อนุญาตให้ใช้ได้ แต่ขอใบผ่านเข้าเมืองกับการจ้างงานแทน หวั่นกระทบงานป้องกันและควบคุมโรคโรคของประเทศ จี้ สปส. แก้ไขด่วน
นายเสถียร ทันพรม ประธานเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ กล่าวถึงปัญหาการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของแรงงานข้ามชาติ ว่า ในส่วนของแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในกิจการนั้น จะสามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ ซึ่งตรงนี้เป็นไปตามหลักการสากลเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของแรงงานข้ามชาติ แต่ที่ผ่านมาในส่วนของประเทศไทยมีปัญหาแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ประกันสังคมน้อย เนื่องจากติดปัญหาข้อจำกัดต้องใช้เอกสารหลักฐาน 2 ฉบับ คือ 1. ใบผ่านเข้าเมือง หรือพาสปอร์ต และ 2. หลักฐานการจ้างงาน ทำให้แรงงานข้ามชาติที่เข้าสู่ระบบนี้ได้จะจำกัดเฉพาะกลุ่มที่มาทำงานตามข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยมีนายหน้าที่ผู้พามาเท่านั้น
นายเสถียร กล่าวว่า จากข้อจำกัดข้างต้นนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนโดยคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (คสช.) ที่ผ่านมา ที่เปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบ โดยมีประกาศของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ที่เปิดให้แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ประกันสังคมเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องใช้เอกสารหลักฐาน 2 ฉบับข้างต้น แต่สามารถใช้หลักฐานเป็นใบสีชมพูในการเข้าสู่ระบบได้ ทำให้แรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองมาผิดกฎหมายก็ให้มาขึ้นทะเบียนได้ รวมถึงแรงงานที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในเมืองไทยชั่วคราวรอการส่งกลับมีหลักประกันสุขภาพ แต่ต้องต่ออายุแบบปีต่อปี ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้แรงงานเหล่านี้มีหลักประกันคุ้มครอง
แต่ในช่วงเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงการต่ออายุและขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ปรากฏว่า สปส. ได้กลับไปใช้หลักเกณฑ์เดิมที่ไม่เป็นไปตามประกาศ คสช. ข้างต้น โดยให้แรงงานต่างด้าวที่ต้องการเข้าสู่ระบบต้องใช้เอกสาร ทั้งพาสปอร์ต และใบจ้างงาน ทำให้แรงงานข้ามชาติบางคนที่เคยเข้าสู่ระบบไม่สามารถต่ออายุในระบบประกันสังคมได้ กลายเป็นปัญหาเดิม ทั้งนี้ การที่แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบประกันสังคมจะได้รับการคุ้มครองใน 7 สิทธิประโยชน์ ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะด้านการรักษาพยาบาลเท่านั้น จึงต่างกับการซื้อบัตรประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
“ปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้นไม่ได้ส่งผลต่อเฉพาะตัวแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่ยังกระทบต่องานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เนื่องจากทำให้มีแรงงานข้ามชาติจำนวนหนึ่งหายไปจากระบบที่อาจส่งผลต่อการควบคุมโรคในประเทศได้ เนื่องจากบางคนอยู่ในระหว่างรับยาวัณโรคต่อเนื่อง และบางคนต้องรับยาต้านไวรัสเอชไอวี จึงอยากให้ สปส. แก้ไขเพื่อให้แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้” นายเสถียร กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายเสถียร ทันพรม ประธานเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ กล่าวถึงปัญหาการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของแรงงานข้ามชาติ ว่า ในส่วนของแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในกิจการนั้น จะสามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ ซึ่งตรงนี้เป็นไปตามหลักการสากลเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของแรงงานข้ามชาติ แต่ที่ผ่านมาในส่วนของประเทศไทยมีปัญหาแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ประกันสังคมน้อย เนื่องจากติดปัญหาข้อจำกัดต้องใช้เอกสารหลักฐาน 2 ฉบับ คือ 1. ใบผ่านเข้าเมือง หรือพาสปอร์ต และ 2. หลักฐานการจ้างงาน ทำให้แรงงานข้ามชาติที่เข้าสู่ระบบนี้ได้จะจำกัดเฉพาะกลุ่มที่มาทำงานตามข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยมีนายหน้าที่ผู้พามาเท่านั้น
นายเสถียร กล่าวว่า จากข้อจำกัดข้างต้นนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนโดยคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (คสช.) ที่ผ่านมา ที่เปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบ โดยมีประกาศของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ที่เปิดให้แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ประกันสังคมเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องใช้เอกสารหลักฐาน 2 ฉบับข้างต้น แต่สามารถใช้หลักฐานเป็นใบสีชมพูในการเข้าสู่ระบบได้ ทำให้แรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองมาผิดกฎหมายก็ให้มาขึ้นทะเบียนได้ รวมถึงแรงงานที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในเมืองไทยชั่วคราวรอการส่งกลับมีหลักประกันสุขภาพ แต่ต้องต่ออายุแบบปีต่อปี ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้แรงงานเหล่านี้มีหลักประกันคุ้มครอง
แต่ในช่วงเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงการต่ออายุและขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ปรากฏว่า สปส. ได้กลับไปใช้หลักเกณฑ์เดิมที่ไม่เป็นไปตามประกาศ คสช. ข้างต้น โดยให้แรงงานต่างด้าวที่ต้องการเข้าสู่ระบบต้องใช้เอกสาร ทั้งพาสปอร์ต และใบจ้างงาน ทำให้แรงงานข้ามชาติบางคนที่เคยเข้าสู่ระบบไม่สามารถต่ออายุในระบบประกันสังคมได้ กลายเป็นปัญหาเดิม ทั้งนี้ การที่แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบประกันสังคมจะได้รับการคุ้มครองใน 7 สิทธิประโยชน์ ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะด้านการรักษาพยาบาลเท่านั้น จึงต่างกับการซื้อบัตรประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
“ปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้นไม่ได้ส่งผลต่อเฉพาะตัวแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่ยังกระทบต่องานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เนื่องจากทำให้มีแรงงานข้ามชาติจำนวนหนึ่งหายไปจากระบบที่อาจส่งผลต่อการควบคุมโรคในประเทศได้ เนื่องจากบางคนอยู่ในระหว่างรับยาวัณโรคต่อเนื่อง และบางคนต้องรับยาต้านไวรัสเอชไอวี จึงอยากให้ สปส. แก้ไขเพื่อให้แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้” นายเสถียร กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่