xs
xsm
sm
md
lg

อาหารกับโรคลำไส้แปรปรวน / ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เข้าสู่ช่วงสิ้นปีก็จะเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองและงานปาร์ตี้ต่างๆ โดยส่วนมากแล้วกิจกรรมที่เราต่างก็พลาดไม่ได้ก็คือเรื่องของการกิน ผลของการกินอย่างหนักในช่วงเทศกาลอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ เช่น การเกิดโรคลำไส้แปรปรวน หรือโรคไอบีเอส (IBS = Irritable Bowel Syndrome)

โรคนี้เกิดจากการทำงานของสำไส้ผิดปกติไปจากที่ควรเป็น ส่งผลให้เกิดการปวดท้องร่วมกับมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกสลับไปมา โดยทั่วไปโรคนี้ไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่เป็นโรคที่สร้างความรำคาญและกระทบกระเทือนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

พฤติกรรมการกินที่ทำให้เสี่ยงต่อการทำงานของลำไส้ผิดปกติ เช่น

กินอาหารในปริมาณมากเกินไปเป็นประจำ

กินอาหารไม่เป็นเวลา

ไม่อาหารมื้อเช้าหรือเว้นระยะเวลาของแต่ละมื้ออาหารนานเกินไป

ชอบกินอาหารไขมันสูง อาหารทอดท่วมน้ำมัน

ชอบกินอาหารรสจัด หวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด

กินอาหารจานด่วน

อาหารที่มีกากใยน้อยส่งผลให้การขับถ่ายไม่ดี

ดื่มเครื่องดื่มร้อนจัดหรือเย็นจัดเป็นประจำขณะท้องว่าง

ดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนมากต่อวัน เช่นกาแฟ/ชามากกว่า 3 แก้วต่อวัน

ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

กลุ่มอาหารที่จะช่วยลดการเกิดอาการของโรคลำไส้แปรปรวนเรียกว่า “FODMAPS DIET” ย่อมาจาก Fermentable Oligo-, Di-, Monosaccharides and polyols ซึ่งเป็นน้ำตาลจากการย่อยทั้งหมดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในอาหาร หรือเรียกว่ากลุ่มอาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติมโตและเพิ่มปริมาณของแบคทีเรียในลำไส้ สำหรับผู้ที่มีอาการของโรคลำไส้แปรปรวนควรที่จะเลือกรับประทานอาหารที่มี FODMAPs ต่ำ-กลาง


ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่



กำลังโหลดความคิดเห็น