จี้ตำรวจเข้มงวดโคมลอยเมืองเชียงใหม่ หลังชาวบ้านโวยสร้างความเดือนร้อน ด้านเยาวชนแนะจับตาสวนสาธารณะวัดสถานที่ราชการห้ามละเมิดกฎหมายขายดื่มน้ำเมา
วันนี้ (24 พ.ย.) นายวิษณุ ศรีทะวงศ์ ผู้จัดการแผนงานพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ชาวบ้านหลายรายสะท้อนปัญหาที่เกิดจากการเล่นพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ที่อันตราย รวมไปถึงโคมลอยในประเพณีลอยกระทงเป็นจำนวนมาก คาดว่า จะมีถึง 1 ล้านโคม จนกลายเป็นธุรกิจอุตสาหกรรม เกิดการซื้อขายกักตุนสินค้า ที่สำคัญ สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน ไม่ได้หลับไม่ได้นอน เพราะต้องนั่งเฝ้าห่วงว่าโคมลอยจะตกใสหลังคาบ้าน เที่ยวบินหลายเที่ยวต้องถูกยกเลิกไป หากในอนาคตไม่มีการแก้ปัญหาจัดการเรื่องนี้ จะระบาดไปทุกจังหวัดทั่วประเทศแน่นอน
“แม้หลายหน่วยงานทั้งกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงท่องเที่ยวฯ เฝ้าระวังและสร้างความตระหนัก แต่กระแสการใช้โคมลอยไม่ได้ลดน้อยลง นับวันยิ่งควบคุมยาก ทั้งที่ประเพณีของชาวล้านนาจะมีการจุดถางประทีป และมีการลอยโคมควันช่วงกลางวัน ส่วนการปล่อยโคมลอยช่วงกลางคืนไม่ใช่วัฒนธรรมของชาวล้านนา คงต้องฝากให้เจ้าหน้าที่เข้มงวดตรวจสอบดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง อย่าให้โคมลอยเข้ามาทำให้คนอื่นเดือดร้อน และทำให้วันลอยกระทงต้องกลายเป็นประเพณีที่เลื่อมถอยลง คิดว่าคงถึงเวลาที่ต้องทบทวนการเล่นโคมลอยกันอย่างจริงจังแล้ว ก่อนจะสร้างความสูญเสียไปมากกว่านี้ สังคมคงต้องช่วยกันคิดว่าจะจัดการอย่างไร” นายวิษณุ กล่าว
นายธีรภัทร์ คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวว่า ยังเป็นห่วงวัฒนธรรมการดื่มในประเพณีลอยกระทงโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง ทั้งอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท การถูกคุกคามทางเพศ เพราะมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยกระตุ้น ดังนั้น เจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พ.ศ. 2551 ที่ห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสวนสาธารณะสถานที่ราชการ ศาสนสถาน ซึ่งเกือบทั้งหมดใช้เป็นสถานที่จัดงานลอยกระทง ผู้ที่ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรับรู้ ที่สำคัญ ขอเรียกร้องกับร้านเหล้าผับบาร์ควรเคารพกฎหมาย ไม่ฉวยโอกาสใช้วันลอยกระทงทำยอดขายจัดโปรโมชันลดแลกแจกแถม และขายเหล้าให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และการที่หลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงท่องเที่ยว วัฒนธรรม มหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขานรับในการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงานลอยกระทง ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ทั้งหมดนี้ชี้ขาดที่การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมาย ว่าจะจริงจังมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม การเมา ทำให้เกิดการจมน้ำตายในการลอยกระทง มามากแล้วควรแสดงคารวะต่อแม่น้ำ ด้วยสติสัมปชัญญะในการลอยกระทง จึงเป็นการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่คงคาจริง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 พ.ย.) นายวิษณุ ศรีทะวงศ์ ผู้จัดการแผนงานพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ชาวบ้านหลายรายสะท้อนปัญหาที่เกิดจากการเล่นพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ที่อันตราย รวมไปถึงโคมลอยในประเพณีลอยกระทงเป็นจำนวนมาก คาดว่า จะมีถึง 1 ล้านโคม จนกลายเป็นธุรกิจอุตสาหกรรม เกิดการซื้อขายกักตุนสินค้า ที่สำคัญ สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน ไม่ได้หลับไม่ได้นอน เพราะต้องนั่งเฝ้าห่วงว่าโคมลอยจะตกใสหลังคาบ้าน เที่ยวบินหลายเที่ยวต้องถูกยกเลิกไป หากในอนาคตไม่มีการแก้ปัญหาจัดการเรื่องนี้ จะระบาดไปทุกจังหวัดทั่วประเทศแน่นอน
“แม้หลายหน่วยงานทั้งกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงท่องเที่ยวฯ เฝ้าระวังและสร้างความตระหนัก แต่กระแสการใช้โคมลอยไม่ได้ลดน้อยลง นับวันยิ่งควบคุมยาก ทั้งที่ประเพณีของชาวล้านนาจะมีการจุดถางประทีป และมีการลอยโคมควันช่วงกลางวัน ส่วนการปล่อยโคมลอยช่วงกลางคืนไม่ใช่วัฒนธรรมของชาวล้านนา คงต้องฝากให้เจ้าหน้าที่เข้มงวดตรวจสอบดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง อย่าให้โคมลอยเข้ามาทำให้คนอื่นเดือดร้อน และทำให้วันลอยกระทงต้องกลายเป็นประเพณีที่เลื่อมถอยลง คิดว่าคงถึงเวลาที่ต้องทบทวนการเล่นโคมลอยกันอย่างจริงจังแล้ว ก่อนจะสร้างความสูญเสียไปมากกว่านี้ สังคมคงต้องช่วยกันคิดว่าจะจัดการอย่างไร” นายวิษณุ กล่าว
นายธีรภัทร์ คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวว่า ยังเป็นห่วงวัฒนธรรมการดื่มในประเพณีลอยกระทงโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง ทั้งอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท การถูกคุกคามทางเพศ เพราะมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยกระตุ้น ดังนั้น เจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พ.ศ. 2551 ที่ห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสวนสาธารณะสถานที่ราชการ ศาสนสถาน ซึ่งเกือบทั้งหมดใช้เป็นสถานที่จัดงานลอยกระทง ผู้ที่ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรับรู้ ที่สำคัญ ขอเรียกร้องกับร้านเหล้าผับบาร์ควรเคารพกฎหมาย ไม่ฉวยโอกาสใช้วันลอยกระทงทำยอดขายจัดโปรโมชันลดแลกแจกแถม และขายเหล้าให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และการที่หลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงท่องเที่ยว วัฒนธรรม มหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขานรับในการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงานลอยกระทง ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ทั้งหมดนี้ชี้ขาดที่การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมาย ว่าจะจริงจังมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม การเมา ทำให้เกิดการจมน้ำตายในการลอยกระทง มามากแล้วควรแสดงคารวะต่อแม่น้ำ ด้วยสติสัมปชัญญะในการลอยกระทง จึงเป็นการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่คงคาจริง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่