สสส. ชู “โคราชโมเดล” ลด ละ เลิก บุหรี่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นำร่องสำเร็จใน 5 อำเภอ เน้นพัฒนานวัตกรรมเลิกบุหรี่ ลุยเชิงรุก เข้าถึงตัวนักสูบ ดึงเครือข่ายสุขภาพแกนนำชุมชน ร้านค้าร่วมเป็นแกนนำรณรงค์เลิกบุหรี่กว่า 5 พันคน
ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการลด ละ เลิกบุหรี่โดยใช้ชุมชนเป็นฐานจังหวัดนครราชสีมา ว่า สสส. สนับสนุนโครงการลด ละ เลิกบุหรี่โดยใช้ชุมชนมาตั้งแต่ปี 2554 ครอบคลุม 9 จังหวัด 3 โครงการ เพื่อหานวัตกรรมควบคุมยาสูบ และช่วยผู้สูบบุหรี่ในชนบทให้เลิกบุหรี่ ซึ่งผลการทำงานเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ “โคราชโมเดลปลอดบุหรี่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน” สามารถป้องกันนักสูบหน้าใหม่ และช่วยให้คนเลิกบุหรี่ได้ เนื่องจากเป็นความร่วมมือของคนในชุมชน ท้องถิ่น และภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่อย่างครบวงจร ทั้งการสร้างนโยบาย/มาตรการที่ชุมชนกำหนดเอง การจัดสิ่งแวดล้อมไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่ การจัดระเบียบร้านค้า การสร้างความรู้ความเข้าใจและรณรงค์สร้างความหระหนักให้กับประชาชนรวมถึงเยาวชนในชุมชน
“ที่สำคัญ ได้จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ช่วยเลิกบุหรี่เข้าไปในชุมชนที่เข้าถึงตัวผู้ที่อยากเลิกบุหรี่โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เปลี่ยนจากการทำงานเชิงรับที่เจ้าหน้าที่ให้บริการอยู่ในสถานพยาบาลเป็นการทำงานเชิงรุก คือ ออกไปค้นหาผู้สูบในชุมชน พร้อมประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น เช่น การใช้สมุนไพร การแพทย์ทางเลือก และการนวดฝ่าเท้ากดจุดสะท้อน อาจกล่าวได้ว่า “การมองสุขภาพให้กว้าง สร้างความสุขให้สังคม” เป็นมุมมองและบทบาทร่วมกันของทุกภาคส่วน ที่ สสส. ใช้เป็นหลักการสนับสนุนให้ภาคีใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพตลอดมา” ทพ.ศิริเกียรติ กล่าว
นายสุริยา ค้าสบาย สาธารณสุขอำเภอสีคิ้ว ผู้รับผิดชอบโครงการลด ละ เลิกบุหรี่ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน จ.นครราชสีมา กล่าวว่า จากการสำรวจข้อมูลประชาชนในพื้นที่ 5 อำเภอนำร่อง ได้แก่ โนนสูง ครบุรี จักราช เสริมสาง สีคิ้ว รวม 225,592 คน พบคนสูบบุหรี่ 35,308 คน ในจำนวนนี้สามารถชักชวนผู้สูบบุหรี่เข้าร่วมโครงการได้ 19,366 คน (ผู้ใหญ่14,515 คน เยาวชน/นักสูบหน้าใหม่ 4,851 คน) ผลการทำงานช่วยให้คนติดบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ 1,939 คน คิดเป็นร้อยละ 10 (ผู้ใหญ่ 1,520 คน เยาวชน 419 คน) และไม่เลิก แต่ลดปริมาณการสูบ 6,054 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 (ผู้ใหญ่ 5,677 คนและเยาวชน 377 คน) นอกจากนี้ โครงการยังได้พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและแกนนำในชุมชนที่จะเป็นเครือข่ายรณรงค์เรื่องบุหรี่ต่อไป 5,052 คน มีการติดป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย 1,442 แห่ง และมีร้านค้าเข้าร่วมโครงการที่จะปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 1,800 แห่ง ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ มาจากความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและภาคีเครือข่าย อสม. แกนนำ และประชาชนในชุมชน
นายสุวิทย์ คำดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ที่ผ่านมา โคราชมีการขับเคลื่อนเชิงนโยบายจังหวัดปลอดบุหรี่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และการประกาศเป็นจังหวัดปลอดบารากู่ ซึ่งจังหวัดให้ความสำคัญกับการควบคุมปัญหาบุหรี่ สุรา และยาเสพติดอื่น ๆ ที่ต้องช่วยกันปกป้องเยาวชนให้ห่างไกลจากสิ่งเสพติดเหล่านี้ ซึ่งทางจังหวัดไม่ได้นิ่งนอนใจและสนับสนุนการขยายผลโครงการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการลด ละ เลิกบุหรี่โดยใช้ชุมชนเป็นฐานจังหวัดนครราชสีมา ว่า สสส. สนับสนุนโครงการลด ละ เลิกบุหรี่โดยใช้ชุมชนมาตั้งแต่ปี 2554 ครอบคลุม 9 จังหวัด 3 โครงการ เพื่อหานวัตกรรมควบคุมยาสูบ และช่วยผู้สูบบุหรี่ในชนบทให้เลิกบุหรี่ ซึ่งผลการทำงานเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ “โคราชโมเดลปลอดบุหรี่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน” สามารถป้องกันนักสูบหน้าใหม่ และช่วยให้คนเลิกบุหรี่ได้ เนื่องจากเป็นความร่วมมือของคนในชุมชน ท้องถิ่น และภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่อย่างครบวงจร ทั้งการสร้างนโยบาย/มาตรการที่ชุมชนกำหนดเอง การจัดสิ่งแวดล้อมไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่ การจัดระเบียบร้านค้า การสร้างความรู้ความเข้าใจและรณรงค์สร้างความหระหนักให้กับประชาชนรวมถึงเยาวชนในชุมชน
“ที่สำคัญ ได้จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ช่วยเลิกบุหรี่เข้าไปในชุมชนที่เข้าถึงตัวผู้ที่อยากเลิกบุหรี่โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เปลี่ยนจากการทำงานเชิงรับที่เจ้าหน้าที่ให้บริการอยู่ในสถานพยาบาลเป็นการทำงานเชิงรุก คือ ออกไปค้นหาผู้สูบในชุมชน พร้อมประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น เช่น การใช้สมุนไพร การแพทย์ทางเลือก และการนวดฝ่าเท้ากดจุดสะท้อน อาจกล่าวได้ว่า “การมองสุขภาพให้กว้าง สร้างความสุขให้สังคม” เป็นมุมมองและบทบาทร่วมกันของทุกภาคส่วน ที่ สสส. ใช้เป็นหลักการสนับสนุนให้ภาคีใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพตลอดมา” ทพ.ศิริเกียรติ กล่าว
นายสุริยา ค้าสบาย สาธารณสุขอำเภอสีคิ้ว ผู้รับผิดชอบโครงการลด ละ เลิกบุหรี่ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน จ.นครราชสีมา กล่าวว่า จากการสำรวจข้อมูลประชาชนในพื้นที่ 5 อำเภอนำร่อง ได้แก่ โนนสูง ครบุรี จักราช เสริมสาง สีคิ้ว รวม 225,592 คน พบคนสูบบุหรี่ 35,308 คน ในจำนวนนี้สามารถชักชวนผู้สูบบุหรี่เข้าร่วมโครงการได้ 19,366 คน (ผู้ใหญ่14,515 คน เยาวชน/นักสูบหน้าใหม่ 4,851 คน) ผลการทำงานช่วยให้คนติดบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ 1,939 คน คิดเป็นร้อยละ 10 (ผู้ใหญ่ 1,520 คน เยาวชน 419 คน) และไม่เลิก แต่ลดปริมาณการสูบ 6,054 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 (ผู้ใหญ่ 5,677 คนและเยาวชน 377 คน) นอกจากนี้ โครงการยังได้พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและแกนนำในชุมชนที่จะเป็นเครือข่ายรณรงค์เรื่องบุหรี่ต่อไป 5,052 คน มีการติดป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย 1,442 แห่ง และมีร้านค้าเข้าร่วมโครงการที่จะปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 1,800 แห่ง ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ มาจากความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและภาคีเครือข่าย อสม. แกนนำ และประชาชนในชุมชน
นายสุวิทย์ คำดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ที่ผ่านมา โคราชมีการขับเคลื่อนเชิงนโยบายจังหวัดปลอดบุหรี่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และการประกาศเป็นจังหวัดปลอดบารากู่ ซึ่งจังหวัดให้ความสำคัญกับการควบคุมปัญหาบุหรี่ สุรา และยาเสพติดอื่น ๆ ที่ต้องช่วยกันปกป้องเยาวชนให้ห่างไกลจากสิ่งเสพติดเหล่านี้ ซึ่งทางจังหวัดไม่ได้นิ่งนอนใจและสนับสนุนการขยายผลโครงการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่