ปลัด สธ. เปิดอาคารศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาฯ รพ.ตรัง ร่วมกับ มอ. ม.วลัยลักษณ์ ปรับหลักสูตรผลิตแพทย์เพิ่มในพื้นที่ภาคใต้ ใช้ รพ.ชุมชน เป็นฐานการเรียนการสอน หวังแพทย์เข้าใจปัญหาและผูกพันชุมชน
วันนี้ (8 ก.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดอาคารศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.ตรัง ซึ่งเป็นอาคารสำนักงาน อาคารเรียนหอพักนักศึกษาแพทย์ ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ว่า ขณะนี้มีแพทย์ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัด สธ. ทั่วประเทศ จำนวน 13,230 คน ยังขาดแคลนแพทย์อีกจำนวนถึง 12,290 คน ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2555 อนุมัติในหลักการผลิตแพทย์เพิ่มจากระบบปกติอีก 9,039 คนในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556 - 2560 โดยผลิตจากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) 4,038 คน และการผลิตจากโครงการผลิตแพทย์ชนบทเพิ่ม ของ สธ. 5,001 คน เพื่อเพิ่มสัดส่วนจำนวนแพทย์ต่อประชากรอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานองค์การอนามัยโลก คือ แพทย์ 1 คน ต่อประชากร 1,500 คน
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สำหรับโครงการผลิตแพทย์เพิ่มชนบทในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ สธ. ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาระบบการศึกษาแพทย์ในโครงการแนวใหม่ โดยใช้โรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่เป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน เป็นแนวคิดใหม่ของการผลิตแพทย์ออกไปรับใช้ประชาชนในชนบท เพื่อให้นักศึกษาแพทย์เรียนรู้และเข้าใจปัญหาสาธารณสุขที่พบในพื้นที่ดีขึ้น รวมถึงได้เรียนรู้การจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวม ซึ่งประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลป้องกันการเจ็บป่วย การฟื้นฟูสภาพ นักศึกษาแพทย์มีความผูกพันกับประชาชนในพื้นที่ ผลิตปีละประมาณ 30 คน
“สำหรับศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.ตรัง เป็นสถาบันร่วมผลิตนักศึกษาแพทย์ระหว่าง สธ. กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา รับนักเรียนในจังหวัดตรังและนครศรีธรรมราชปีละ 24 คน มุ่งผลิตแพทย์ตามแนวคิดใหม่ คือ มีความรู้ คู่คุณธรรม และเป็นผู้นำชุมชนในการพัฒนา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน โดยร่วมมือกับสถานบริการในเขตสุขภาพภาคใต้ 2 เขต คือ เขตที่ 11 และ 12 ขณะนี้มีนักศึกษาในโครงการจบไปแล้ว 2 รุ่น รวม 48 คน จะขยายในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป” ปลัด สธ. กล่าวและว่า การปรับการผลิตแพทย์ในโครงการดังกล่าวนี้ จะสอดรับกับการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของ สธ.
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (8 ก.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดอาคารศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.ตรัง ซึ่งเป็นอาคารสำนักงาน อาคารเรียนหอพักนักศึกษาแพทย์ ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ว่า ขณะนี้มีแพทย์ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัด สธ. ทั่วประเทศ จำนวน 13,230 คน ยังขาดแคลนแพทย์อีกจำนวนถึง 12,290 คน ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2555 อนุมัติในหลักการผลิตแพทย์เพิ่มจากระบบปกติอีก 9,039 คนในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556 - 2560 โดยผลิตจากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) 4,038 คน และการผลิตจากโครงการผลิตแพทย์ชนบทเพิ่ม ของ สธ. 5,001 คน เพื่อเพิ่มสัดส่วนจำนวนแพทย์ต่อประชากรอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานองค์การอนามัยโลก คือ แพทย์ 1 คน ต่อประชากร 1,500 คน
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สำหรับโครงการผลิตแพทย์เพิ่มชนบทในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ สธ. ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาระบบการศึกษาแพทย์ในโครงการแนวใหม่ โดยใช้โรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่เป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน เป็นแนวคิดใหม่ของการผลิตแพทย์ออกไปรับใช้ประชาชนในชนบท เพื่อให้นักศึกษาแพทย์เรียนรู้และเข้าใจปัญหาสาธารณสุขที่พบในพื้นที่ดีขึ้น รวมถึงได้เรียนรู้การจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวม ซึ่งประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลป้องกันการเจ็บป่วย การฟื้นฟูสภาพ นักศึกษาแพทย์มีความผูกพันกับประชาชนในพื้นที่ ผลิตปีละประมาณ 30 คน
“สำหรับศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.ตรัง เป็นสถาบันร่วมผลิตนักศึกษาแพทย์ระหว่าง สธ. กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา รับนักเรียนในจังหวัดตรังและนครศรีธรรมราชปีละ 24 คน มุ่งผลิตแพทย์ตามแนวคิดใหม่ คือ มีความรู้ คู่คุณธรรม และเป็นผู้นำชุมชนในการพัฒนา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน โดยร่วมมือกับสถานบริการในเขตสุขภาพภาคใต้ 2 เขต คือ เขตที่ 11 และ 12 ขณะนี้มีนักศึกษาในโครงการจบไปแล้ว 2 รุ่น รวม 48 คน จะขยายในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป” ปลัด สธ. กล่าวและว่า การปรับการผลิตแพทย์ในโครงการดังกล่าวนี้ จะสอดรับกับการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของ สธ.
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่