คณะแพทย์ ม.ขอนแก่น ร่วม สปสช. จัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่ายใน รพ.ชุมชน นำร่องเขต 7 ขอนแก่น หวังลดจำนวนผู้ป่วยอาการหนัก และการนอน รพ. จัดระบบให้ความรู้เรื่องยาพ่น ตรวจคัดกรอง ประเมินสมรรถภาพปอด เผยดำเนินงาน 11 ปี มีคลินิกโรคหืดอย่างง่ายใน รพ. ทั่วประเทศ 1,380 แห่ง ลดผู้ป่วยฉุกเฉินไม่ต้องนอน รพ. ได้กว่า 40%
รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย กล่าวว่า ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืดนั้น นอกจากการรักษาแบบตั้งรับที่ รพ. แล้ว สิ่งสำคัญที่ได้ผล คือ ดูแลตัวเองของผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยอย่างรุนแรงจนต้องส่ง รพ. ปัจจุบันในไทยมีผู้ป่วยหอบหืดประมาณ 3 ล้านราย และเสียชีวิตจากโรคนี้ปีละประมาณ 1,500 ราย หากยังคงใช้เพียงแค่วิธีการรักษาแบบตั้งรับ ให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ นั่นหมายความว่าผู้ป่วยมีอาการหนักมาแล้ว จนถึงขั้นป่วยฉุกเฉิน และแม้ว่าผู้ป่วยจะมีสิทธิหลักประกันสุขภาพ แต่หากยังปล่อยให้มีอาการหนัก ก็ไม่มีประโยชน์ และยังเป็นการซ้ำเติมระบบสาธารณสุขด้วย จึงได้คิดหาวิธีที่จะลดจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เพราะโรคนี้หากผู้ป่วยดูแลตัวเองดี ก็ไม่ต้องเจ็บป่วยฉุกเฉินจนถึงขั้นต้องมานอนรักษาตัวที่ รพ. จึงกลายเป็นที่มาของการจัดตั้งคลินิกรักษาโรคหืดแบบง่ายขึ้น ใน รพ.ชุมชน
รศ.นพ.วัชรา กล่าวว่า คลินิกโรคหืดแบบง่าย เริ่มเมื่อปี 2547 เป็นความร่วมมือกับ รพ.ชุมชน มีทีมสหวิชาชีพในการเก็บข้อมูล นำร่องในพื้นที่เขต 7 ขอนแก่น ซึ่งต่อมา สปสช. พบว่า ข้อมูลที่เก็บนั้นมีประโยชน์ สามารถช่วยผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้รวดเร็วและลดค่าใช้จ่าย จึงได้สนับสนุนด้วยการจัดระบบให้เป็นเครือข่าย การจัดส่งยาให้ รพ. และ รพ.สต. เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยเบื้องต้น รวมทั้งผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ซึ่งเมื่อได้รักษาตั้งแต่อาการไม่รุนแรง ก็ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการหนักลดน้อยลง และผู้ป่วยที่ต้องมานอนรักษาตัวใน รพ. ก็ลดลงด้วย ซึ่งนอกจากเรื่องการจัดส่งยาแล้ว ที่สำคัญทีมสหวิชาชีพยังทำงานลงพื้นที่ตรวจคัดกรองผู้ป่วย ให้ความรู้ และเก็บข้อมูลต่าง ๆ โดย สปสช. สนับสนุนงบประมาณให้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน
รศ.นพ.วัชรา กล่าวว่า การมีคลินิกโรคหืดแบบง่ายตาม รพ.ชุมชน ทำให้แนวทางการรักษาโรคหืดง่ายขึ้น เป็นการจัดระบบที่จะทำให้แพทย์ใช้เวลาน้อยลงในการดูแลผู้ป่วย และการให้ความรู้เรื่องโรคหืด รวมทั้งแนวทางการรักษาโรค ความรู้เรื่องยาและวิธีการใช้ยาพ่นชนิดต่าง ๆ แก่ผู้ป่วย ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งที่ได้รับจากการตั้งคลินิกโรคหืด ทำให้ รพ.ชุมชน ที่อยู่ห่างไกล สามารถวัดประเมินสมรรถภาพปอด ผู้ป่วยเข้าถึงยาสเตียรอยด์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยรุนแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการหอบ ที่สำคัญ ลดการเข้ารักษาที่ห้องฉุกเฉิน และลดการนอนรักษาที่โรงพยาบาล
“เครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ ดำเนินงานมา 11 ปี ปัจจุบันมี รพ. เครือข่ายที่มีคลินิกโรคหืดแบบง่าย 1,380 แห่งทั่วประเทศ ทำให้ผู้ป่วยรักษาได้สะดวกขึ้น และลดอัตราการต้องเข้ารักษาใน รพ. ปี 2557 ผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลลดลงกว่า 40% เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ และเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมเป็นพันธมิตรในการสนับสนุนด้านต่าง ๆ ทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการรักษาโรค รวมถึงความร่วมมือที่ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาที่ใช้รักษาได้อย่างทั่วถึง เหล่านี้เป็นตัวอย่างความร่วมมือที่มุ่งเน้นประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ” รศ.นพ.วัชรา กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย กล่าวว่า ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืดนั้น นอกจากการรักษาแบบตั้งรับที่ รพ. แล้ว สิ่งสำคัญที่ได้ผล คือ ดูแลตัวเองของผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยอย่างรุนแรงจนต้องส่ง รพ. ปัจจุบันในไทยมีผู้ป่วยหอบหืดประมาณ 3 ล้านราย และเสียชีวิตจากโรคนี้ปีละประมาณ 1,500 ราย หากยังคงใช้เพียงแค่วิธีการรักษาแบบตั้งรับ ให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ นั่นหมายความว่าผู้ป่วยมีอาการหนักมาแล้ว จนถึงขั้นป่วยฉุกเฉิน และแม้ว่าผู้ป่วยจะมีสิทธิหลักประกันสุขภาพ แต่หากยังปล่อยให้มีอาการหนัก ก็ไม่มีประโยชน์ และยังเป็นการซ้ำเติมระบบสาธารณสุขด้วย จึงได้คิดหาวิธีที่จะลดจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เพราะโรคนี้หากผู้ป่วยดูแลตัวเองดี ก็ไม่ต้องเจ็บป่วยฉุกเฉินจนถึงขั้นต้องมานอนรักษาตัวที่ รพ. จึงกลายเป็นที่มาของการจัดตั้งคลินิกรักษาโรคหืดแบบง่ายขึ้น ใน รพ.ชุมชน
รศ.นพ.วัชรา กล่าวว่า คลินิกโรคหืดแบบง่าย เริ่มเมื่อปี 2547 เป็นความร่วมมือกับ รพ.ชุมชน มีทีมสหวิชาชีพในการเก็บข้อมูล นำร่องในพื้นที่เขต 7 ขอนแก่น ซึ่งต่อมา สปสช. พบว่า ข้อมูลที่เก็บนั้นมีประโยชน์ สามารถช่วยผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้รวดเร็วและลดค่าใช้จ่าย จึงได้สนับสนุนด้วยการจัดระบบให้เป็นเครือข่าย การจัดส่งยาให้ รพ. และ รพ.สต. เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยเบื้องต้น รวมทั้งผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ซึ่งเมื่อได้รักษาตั้งแต่อาการไม่รุนแรง ก็ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการหนักลดน้อยลง และผู้ป่วยที่ต้องมานอนรักษาตัวใน รพ. ก็ลดลงด้วย ซึ่งนอกจากเรื่องการจัดส่งยาแล้ว ที่สำคัญทีมสหวิชาชีพยังทำงานลงพื้นที่ตรวจคัดกรองผู้ป่วย ให้ความรู้ และเก็บข้อมูลต่าง ๆ โดย สปสช. สนับสนุนงบประมาณให้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน
รศ.นพ.วัชรา กล่าวว่า การมีคลินิกโรคหืดแบบง่ายตาม รพ.ชุมชน ทำให้แนวทางการรักษาโรคหืดง่ายขึ้น เป็นการจัดระบบที่จะทำให้แพทย์ใช้เวลาน้อยลงในการดูแลผู้ป่วย และการให้ความรู้เรื่องโรคหืด รวมทั้งแนวทางการรักษาโรค ความรู้เรื่องยาและวิธีการใช้ยาพ่นชนิดต่าง ๆ แก่ผู้ป่วย ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งที่ได้รับจากการตั้งคลินิกโรคหืด ทำให้ รพ.ชุมชน ที่อยู่ห่างไกล สามารถวัดประเมินสมรรถภาพปอด ผู้ป่วยเข้าถึงยาสเตียรอยด์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยรุนแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการหอบ ที่สำคัญ ลดการเข้ารักษาที่ห้องฉุกเฉิน และลดการนอนรักษาที่โรงพยาบาล
“เครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ ดำเนินงานมา 11 ปี ปัจจุบันมี รพ. เครือข่ายที่มีคลินิกโรคหืดแบบง่าย 1,380 แห่งทั่วประเทศ ทำให้ผู้ป่วยรักษาได้สะดวกขึ้น และลดอัตราการต้องเข้ารักษาใน รพ. ปี 2557 ผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลลดลงกว่า 40% เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ และเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมเป็นพันธมิตรในการสนับสนุนด้านต่าง ๆ ทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการรักษาโรค รวมถึงความร่วมมือที่ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาที่ใช้รักษาได้อย่างทั่วถึง เหล่านี้เป็นตัวอย่างความร่วมมือที่มุ่งเน้นประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ” รศ.นพ.วัชรา กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่