สธ.กำชับเข้มระบบเฝ้าระวังโรคเมอร์ส รองรับชาวไทยมุสลิมกลับจากแสวงบุญฮัจญ์ ทั้งสนามบิน โรงพยาบาล และชุมชน เผยเดินทางกลับรอบแรก 26 ก.ย. ขณะที่สถานการณ์แพร่ระบาดพบผู้ป่วย 1,478 คน ใน 26 ประเทศ ตาย 516 ราย
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงมาตรการป้องกันควบคุมโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ว่าแม้ประเทศไทยจะไม่ผู้ติดเชื้อแล้วก็ตาม แต่ยังมีความเสี่ยงจากชาวไทยที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด และกลุ่มชาวตะวันออกกลางที่เดินทางมารับบริการรักษาพยาบาลในไทย โดยเฉพาะ ก.ย.-ต.ค.นี้จะมีชาวไทยมุสลิมจำนวน 10,400 คนเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย จึงต้องเตรียมความพร้อมระบบอย่างเต็มที่ เฝ้าระวังคัดกรองที่สนามบิน ความพร้อมของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน การเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน และกำชับทุกจังหวัดดำเนินการตามมาตรการที่วางไว้อย่างเคร่งครัด และให้กรมควบคุมโรคทำหลักเกณฑ์การแยกตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการ สร้างความเข้าใจประชาชน ซึ่งจะเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น โดยจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ และอาหรับ
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า วันที่ 11 ก.ย.นี้จะประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกจังหวัด เตรียมการเฝ้าระวังดูแลผู้เดินทางกลับจากแสวงบุญฮัจญ์รอบแรกในวันที่ 26 ก.ย.นี้ สำหรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคเมอร์สของไทย เน้น 4 เรื่อง ได้แก่ 1. การจัดทำทะเบียนผู้เดินทางทุกราย ตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และไข้กาฬหลังแอ่นก่อนเดินทาง ให้ความรู้การป้องกันโรค จัดทีมแพทย์ดูแลผู้เดินทางที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย และติดตามเฝ้าระวังหลังกลับถึงไทย 30 วัน โดยเครือข่ายมิสเตอร์ฮัจญ์ 53 จังหวัด 2. ค้นหาผู้ป่วยและผู้เดินทางที่มีอาการโดยเร็ว ที่สนามบินนานาชาติ การคัดกรองผู้ป่วยที่โรงพยาบาล 3. การแยกและรักษาผู้ป่วยโดยเร็ว เตรียมห้องแยกในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป พร้อมใช้รวม 128 ห้อง เครือข่ายห้องปฏิบัติการ 15 แห่งทั่วประเทศวินิจฉัยเร็วภายใน 24 ชั่วโมง จัดระบบการส่งต่อผู้ป่วย การดูแลรักษา และการป้องกันการแพร่เชื้อในโรงพยาบาลตามแนวทางที่กำหนด และ 4. จัดระบบปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เน้นการสอบสวนควบคุมโรครวดเร็ว ค้นหาผู้สัมผัสโรคให้ได้ทุกราย การแยกตัวเพื่อสังเกตอาการ และติดตามอาการต่อเนื่องจนครบ 14 วัน
นพ.ณรงค์กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกรายงาน ณ วันที่ 1 กันยายน 2558 พบผู้ป่วยยืนยันโรคเมอร์ส 1,478 คน ใน 26 ประเทศ เสียชีวิต 516 คน สำหรับประเทศซาอุดิอาระเบีย ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 73 คน เกือบทั้งหมดมาจากเมืองริยาด และอีก 3 คนมาจากฮาอิล นัจญ์รอน และอัลโฮฟัฟ ไม่ใช่เมืองที่ประกอบพิธีทางศาสนาของผู้แสวงบุญ ส่วนไทยมีผู้ป่วยยืนยัน 1 คนชาวโอมานเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2558 รักษาหายและเดินทางกลับประเทศแล้ว ไม่มีการระบาดในประเทศไทย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงมาตรการป้องกันควบคุมโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ว่าแม้ประเทศไทยจะไม่ผู้ติดเชื้อแล้วก็ตาม แต่ยังมีความเสี่ยงจากชาวไทยที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด และกลุ่มชาวตะวันออกกลางที่เดินทางมารับบริการรักษาพยาบาลในไทย โดยเฉพาะ ก.ย.-ต.ค.นี้จะมีชาวไทยมุสลิมจำนวน 10,400 คนเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย จึงต้องเตรียมความพร้อมระบบอย่างเต็มที่ เฝ้าระวังคัดกรองที่สนามบิน ความพร้อมของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน การเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน และกำชับทุกจังหวัดดำเนินการตามมาตรการที่วางไว้อย่างเคร่งครัด และให้กรมควบคุมโรคทำหลักเกณฑ์การแยกตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการ สร้างความเข้าใจประชาชน ซึ่งจะเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น โดยจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ และอาหรับ
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า วันที่ 11 ก.ย.นี้จะประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกจังหวัด เตรียมการเฝ้าระวังดูแลผู้เดินทางกลับจากแสวงบุญฮัจญ์รอบแรกในวันที่ 26 ก.ย.นี้ สำหรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคเมอร์สของไทย เน้น 4 เรื่อง ได้แก่ 1. การจัดทำทะเบียนผู้เดินทางทุกราย ตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และไข้กาฬหลังแอ่นก่อนเดินทาง ให้ความรู้การป้องกันโรค จัดทีมแพทย์ดูแลผู้เดินทางที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย และติดตามเฝ้าระวังหลังกลับถึงไทย 30 วัน โดยเครือข่ายมิสเตอร์ฮัจญ์ 53 จังหวัด 2. ค้นหาผู้ป่วยและผู้เดินทางที่มีอาการโดยเร็ว ที่สนามบินนานาชาติ การคัดกรองผู้ป่วยที่โรงพยาบาล 3. การแยกและรักษาผู้ป่วยโดยเร็ว เตรียมห้องแยกในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป พร้อมใช้รวม 128 ห้อง เครือข่ายห้องปฏิบัติการ 15 แห่งทั่วประเทศวินิจฉัยเร็วภายใน 24 ชั่วโมง จัดระบบการส่งต่อผู้ป่วย การดูแลรักษา และการป้องกันการแพร่เชื้อในโรงพยาบาลตามแนวทางที่กำหนด และ 4. จัดระบบปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เน้นการสอบสวนควบคุมโรครวดเร็ว ค้นหาผู้สัมผัสโรคให้ได้ทุกราย การแยกตัวเพื่อสังเกตอาการ และติดตามอาการต่อเนื่องจนครบ 14 วัน
นพ.ณรงค์กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกรายงาน ณ วันที่ 1 กันยายน 2558 พบผู้ป่วยยืนยันโรคเมอร์ส 1,478 คน ใน 26 ประเทศ เสียชีวิต 516 คน สำหรับประเทศซาอุดิอาระเบีย ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 73 คน เกือบทั้งหมดมาจากเมืองริยาด และอีก 3 คนมาจากฮาอิล นัจญ์รอน และอัลโฮฟัฟ ไม่ใช่เมืองที่ประกอบพิธีทางศาสนาของผู้แสวงบุญ ส่วนไทยมีผู้ป่วยยืนยัน 1 คนชาวโอมานเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2558 รักษาหายและเดินทางกลับประเทศแล้ว ไม่มีการระบาดในประเทศไทย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่