กรมศิลป์ ปรับโฉมพิพิธภัณฑ์พิมาย โชว์ศิลปะเขมรโบราณ หลังพบเปิดให้บริการ 28 ปี ไม่เคยเปลี่ยนนิทรรศการ นักท่องเที่ยวเมินเข้าชม
นายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากร ได้มีการจัดทำแผนแม่บทปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จ.นครราชสีมา ที่เปิดให้บริการ 28 ปี ซึ่งได้มีการวิเคราะห์ทบทวนถึงจุดอ่อนของการทำงานในภาพรวม พบว่า ไม่เคยมีการปรับเปลี่ยนการจัดแสดงเลย และนิทรรศการไม่สามารถดึงดูดผู้ชมให้เข้ามาชมโบราณวัตถุภายในพิพิธภัณฑ์ได้ ทั้งนี้ ยังได้พิจารณาตามพื้นที่ตั้ง และการขุดค้นแหล่งโบราณคดี และพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิลปะเขมรโบราณ มีจำนวนหลายร้อยชิ้น พบมากในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ดังนั้น จึงสั่งการให้ปรับโฉมพิพิธภัณฑ์ครั้งใหญ่ และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะด้าน เรื่องเกี่ยวกับศิลปะเขมรโบราณ เพื่อผลักดันให้เป็นพิพิธภัณฑ์ประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ทั้งนี้ ในปี 2559 จึงมีนโยบายที่จะสร้างความแตกต่างให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ โดยมอบหมายให้ ผอ.สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั่วประเทศ วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ของแต่ละแห่ง เพื่อพิจารณาหาแนวทางสร้างเอกลักษณ์ประจำพิพิธภัณฑ์ โดยในปี 2558 เริ่มต้นนำร่องที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ซึ่งนำเสนอศิลปะทวารวดีเป็นหลัก และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เป็นแห่งที่ 2 โดยขณะนี้ ได้มีการปรับสถานที่ ทั้งภายในและภายนอกให้เหมาะสมกับการจัดแสดงให้มีรูปแบบ และเนื้อหาที่น่าสนใจ รวมถึงจะต้องมีการสลับสับเปลี่ยนโบราณวัตถุออกมาจัดแสดง ที่สำคัญ ต้องคำนึงถึงการเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุชิ้นใหญ่ ๆ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นหิน ดังนั้น จึงต้องหามาตรการดูแลความปลอดภัย เพื่อไม่ให้โบราณวัตถุเสียหาย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากร ได้มีการจัดทำแผนแม่บทปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จ.นครราชสีมา ที่เปิดให้บริการ 28 ปี ซึ่งได้มีการวิเคราะห์ทบทวนถึงจุดอ่อนของการทำงานในภาพรวม พบว่า ไม่เคยมีการปรับเปลี่ยนการจัดแสดงเลย และนิทรรศการไม่สามารถดึงดูดผู้ชมให้เข้ามาชมโบราณวัตถุภายในพิพิธภัณฑ์ได้ ทั้งนี้ ยังได้พิจารณาตามพื้นที่ตั้ง และการขุดค้นแหล่งโบราณคดี และพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิลปะเขมรโบราณ มีจำนวนหลายร้อยชิ้น พบมากในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ดังนั้น จึงสั่งการให้ปรับโฉมพิพิธภัณฑ์ครั้งใหญ่ และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะด้าน เรื่องเกี่ยวกับศิลปะเขมรโบราณ เพื่อผลักดันให้เป็นพิพิธภัณฑ์ประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ทั้งนี้ ในปี 2559 จึงมีนโยบายที่จะสร้างความแตกต่างให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ โดยมอบหมายให้ ผอ.สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั่วประเทศ วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ของแต่ละแห่ง เพื่อพิจารณาหาแนวทางสร้างเอกลักษณ์ประจำพิพิธภัณฑ์ โดยในปี 2558 เริ่มต้นนำร่องที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ซึ่งนำเสนอศิลปะทวารวดีเป็นหลัก และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เป็นแห่งที่ 2 โดยขณะนี้ ได้มีการปรับสถานที่ ทั้งภายในและภายนอกให้เหมาะสมกับการจัดแสดงให้มีรูปแบบ และเนื้อหาที่น่าสนใจ รวมถึงจะต้องมีการสลับสับเปลี่ยนโบราณวัตถุออกมาจัดแสดง ที่สำคัญ ต้องคำนึงถึงการเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุชิ้นใหญ่ ๆ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นหิน ดังนั้น จึงต้องหามาตรการดูแลความปลอดภัย เพื่อไม่ให้โบราณวัตถุเสียหาย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่