“กรมศิลป์ - พศ.” หารือร่วมได้ข้อสรุป ชะลอทุบวัดกัลยาณ์ ให้ทางวัดไปปรับปรุงแก้ไขแบบอาคารให้ใกล้เคียงแบบเดิมให้มากที่สุด
นายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า หลังจากกรมศิลปากร ทุบอาคาร 2 หลังวัดกัลยาณมิตรวรวิหาร ที่ทางวัดได้ก่อสร้างขึ้นใหม่โดยผิดกฎหมาย หลังจากนั้น ทางวัดได้ขอเจรจากับกรมศิลปากรให้ชะลอการทุบอาคารหลังอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายเพิ่มเติม ซึ่งจากการหารือ ร่วมกับ นายพนม ศรศิลป์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมกับนิติกร ของทั้ง 2 ฝ่าย ได้ข้อสรุปว่า กรมศิลปากร จะชะลอการทุบอาคารภายในวัดกัลยาณ์หลังอื่น ๆ แต่มีเงื่อนไขให้วัดกัลยาณ์ไปหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแบบอาคารที่ได้ทุบทำลายโบราณสถานไปก่อนหน้านี้แล้ว มีการสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้กลับไปสู่รูปแบบโบราณสถานดังเดิม หรือให้ใกล้เคียงแบบเดิมให้มากที่สุด
นายบวรเวท กล่าวต่อว่า ตนจะให้นิติกรลงพื้นที่ไปตรวจสอบว่าส่วนไหนทำได้หรือไม่ได้อย่างไร โดยยึดข้อกฎหมายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 เป็นหลัก ซึ่งการดำเนินการใด ๆ จะต้องส่งแบบมาให้กรมศิลปากรพิจารณาก่อน จากนั้นจะมีการนำข้อมูลทั้งหมดมาหารือ กับทาง พศ. ภายในสัปดาห์หน้า
ด้าน นายพนม กล่าวว่า ตนสอบถามกรมศิลปากร เกี่ยวกับรายชื่อวัด 28 วัด ที่มีการกระทำผิดเกี่ยวกับพ.ร.บ. โบราณสถานฯ ที่มีการแชร์ผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นความจริงหรือไม่ ซึ่ง นายบวรเวท บอกว่า มีมูลความจริง แต่ยังไม่มีการรื้อทำลาย เพราะต้องมีการตรวจสอบโดยละเอียดก่อน ทั้งนี้ ตนได้รายงานความคืบหน้าการหารือกับกรมศิลปากรกรณีวัดกัลยาณมิตร ให้ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแล พศ. ได้รับทราบแล้ว อย่างไรก็ตาม ตนยังได้รับเอกสารใหม่เกี่ยวกับวัดกัลยาณมิตร โดยเป็นหนังสือของปี 2511 ที่อธิบดีกรมศิลปากร อนุญาตให้วัดกัลยาณมิตร ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานได้ไปพลาง ๆ ก่อนที่กรมศิลปากร จะกำหนดเขตโบราณสถานภายในวัด ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่ง พศ.ก็ต้องมีการตรวจสอบว่า เป็นเอกสารจริงหรือไม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า หลังจากกรมศิลปากร ทุบอาคาร 2 หลังวัดกัลยาณมิตรวรวิหาร ที่ทางวัดได้ก่อสร้างขึ้นใหม่โดยผิดกฎหมาย หลังจากนั้น ทางวัดได้ขอเจรจากับกรมศิลปากรให้ชะลอการทุบอาคารหลังอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายเพิ่มเติม ซึ่งจากการหารือ ร่วมกับ นายพนม ศรศิลป์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมกับนิติกร ของทั้ง 2 ฝ่าย ได้ข้อสรุปว่า กรมศิลปากร จะชะลอการทุบอาคารภายในวัดกัลยาณ์หลังอื่น ๆ แต่มีเงื่อนไขให้วัดกัลยาณ์ไปหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแบบอาคารที่ได้ทุบทำลายโบราณสถานไปก่อนหน้านี้แล้ว มีการสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้กลับไปสู่รูปแบบโบราณสถานดังเดิม หรือให้ใกล้เคียงแบบเดิมให้มากที่สุด
นายบวรเวท กล่าวต่อว่า ตนจะให้นิติกรลงพื้นที่ไปตรวจสอบว่าส่วนไหนทำได้หรือไม่ได้อย่างไร โดยยึดข้อกฎหมายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 เป็นหลัก ซึ่งการดำเนินการใด ๆ จะต้องส่งแบบมาให้กรมศิลปากรพิจารณาก่อน จากนั้นจะมีการนำข้อมูลทั้งหมดมาหารือ กับทาง พศ. ภายในสัปดาห์หน้า
ด้าน นายพนม กล่าวว่า ตนสอบถามกรมศิลปากร เกี่ยวกับรายชื่อวัด 28 วัด ที่มีการกระทำผิดเกี่ยวกับพ.ร.บ. โบราณสถานฯ ที่มีการแชร์ผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นความจริงหรือไม่ ซึ่ง นายบวรเวท บอกว่า มีมูลความจริง แต่ยังไม่มีการรื้อทำลาย เพราะต้องมีการตรวจสอบโดยละเอียดก่อน ทั้งนี้ ตนได้รายงานความคืบหน้าการหารือกับกรมศิลปากรกรณีวัดกัลยาณมิตร ให้ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแล พศ. ได้รับทราบแล้ว อย่างไรก็ตาม ตนยังได้รับเอกสารใหม่เกี่ยวกับวัดกัลยาณมิตร โดยเป็นหนังสือของปี 2511 ที่อธิบดีกรมศิลปากร อนุญาตให้วัดกัลยาณมิตร ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานได้ไปพลาง ๆ ก่อนที่กรมศิลปากร จะกำหนดเขตโบราณสถานภายในวัด ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่ง พศ.ก็ต้องมีการตรวจสอบว่า เป็นเอกสารจริงหรือไม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่