ความกลัว (fear) เป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ที่เกิดขึ้นเมื่อถูกคุกคาม หรือเจอภยันอันตรายต่าง ๆ เช่น กลัวภัยธรรมชาติ กลัวการถูกทำร้าย กลัวความเจ็บปวด ซึ่งการกลัวตามตัวอย่างนี้ เป็นการกลัวตามธรรมชาติที่เป็นความกลัวปกติ แต่ถ้ามีความกลัวในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่รุนแรงเกินกว่าเหตุและเป็นความกลัวในเรื่องที่มีความไม่สมเหตุสมผล จนทำให้คนผู้นั้นใช้ชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมานยากลำบาก ทางด้านจิตเวชถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวนี้จะมีอาการทางกายเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น ใจสั่น มือสั่น มือชา เท้าชา เหงื่อออก บางคนหากเป็นมากอาจถึงขนาดเป็นลมหมดสติได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นซ้ำๆติดต่อกันเป็นเวลานานอย่างน้อย 6 เดือน
ประเภทของโรคกลัว ซึ่งรวบรวมจากที่พบเห็นได้บ่อย ๆ ได้แก่
1.โรคกลัวความสูง อาการที่เกิดขึ้นคือกลัวการขึ้นไปบนที่สูงทุกชนิดเป็นอย่างมาก บางคนถึงขนาดที่ว่าแม้แต่เดินขึ้นบันไดหรือขึ้นสะพานลอยก็รู้สึกกลัวจนขาสั่น บางคนกลัวจนเกิดอาการตื่นกลัว เวียนหัว คลื่นไส้วิงเวียนตาลาย ซึ่งทำให้ใช้ชีวิตลำบากมาก
2.โรคกลัวสัตว์ อันที่จริงก็มีสัตว์หลายชนิดที่ควรกลัว เพราะเป็นสัตว์ที่มีอันตราย เช่น งู ตะขาบ จระเข้ แมลงมีพิษ แต่ถ้ามีอาการกลัวสัตว์เหล่านี้อย่างรุนแรง จนกระทั่งแม้แต่เห็นภาพสัตว์เหล่านี้ในหนังสือ หรือโทรทัศน์ก็เกิดอาการกลัว ใจสั่นกลัวจนจะเป็นลม อันนี้ถือว่าเป็นความกลัวที่ผิดปกติ หรือบางคนอาจจะมีอาการกลัวสัตว์ที่ไม่ควรจะกลัวมากจนผิดปกติ เช่น กลัวนก กลัวไก่ กลัวแมว กลัวจิ้งจก กลัวผีเสื้อ
3. โรคกลัวที่แคบ มีบางคนที่กลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น กลัวลิฟต์ กลัวการเดินเข้าอุโมงค์ บางคนเป็นมากถึงขนาดไม่สามารถนั่ง หรือยืนอยู่ในที่แคบ ๆ หรือแออัดได้เลย เพราะจะมีอาการแน่นหน้าอก ตาลาย หายใจไม่ออกขึ้นมาทันที
4.โรคกลัวเลือด จะมีอาการคือเห็นเลือดไม่ได้เลย แม้แต่แค่ตนเองมีเลือดออกเพียงนิดเดียวหรือแค่เห็นเลือดของคนอื่น ก็จะรู้สึกอ่อนแรง คลื่นไส้วิงเวียน จะเป็นลม บางคนเป็นมากอาจถึงขนาดเป็นช็อกจนหมดสติได้
5.โรคกลัวเสียงดัง ได้แก่ กลัวเสียงฟ้าร้อง - เสียงฟ้าผ่า กลัวเสียงฝนตก กลัวเสียงประทัด กลัวเสียงลูกโป่งแตก กลัวเสียงเครื่องยนต์ กลัวเสียงบีบแตร กลัวเสียงโทรศัพท์ บางคนเป็นมากถึงขนาดใครพูดเสียงดังก็ตกใจกลัวจนตัวสั่นแล้ว
6.โรคกลัวความมืด โดยจะมีอาการหวาดกลัวที่รุนแรงได้ขนาดที่ว่าไม่สามารถอยู่ในที่มืดได้เลยแม้แต่นิดเดียว โดยถ้าต้องอยู่ในที่มืดจะมีอาการหวาดกลัวจนนอนไม่หลับและอาจมีอาการประสาทหลอนร่วมด้วย ผู้เขียนรู้จักผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งท่านผู้นี้เปิดเผยให้ฟังว่าท่านกลัวความมืดมาก ในยามกลางคืนห้องนอนของท่านจะต้องเปิดไฟสว่างไสวทุกคืน เพราะถ้าอยู่ในที่มืดท่านจะนอนไม่หลับเลย เนื่องจากความกลัว โดยท่านเล่าให้ฟังว่าที่ท่านเป็นเช่นนี้เพราะตอนเด็กๆถูกญาติที่มีอายุมากกว่าหลอกผีและอีกทั้งเคยโดนทำโทษขังอยู่ในที่มืด จึงทำให้ท่านกลัวความมืดอย่างฝังใจ
นอกจากโรคกลัวทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมานี้ ซึ่งถือเป็นโรคกลัวยอดฮิตแล้ว ยังมีโรคความกลัวอื่น ๆ ที่มีอยู่จริง ซึ่งบางอันก็อาจจะเป็นความกลัวที่ดูไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย เช่น โรคกลัวคนเยอะ โรคกลัวคนหล่อคนสวย โรคกลัวเด็ก โรคกลัวคนแก่ โรคกลัวคนอ้วน โรคกลัวสีต่าง ๆ โรคกลัวต้นไม้ โรคกลัวผลไม้ ฯลฯ ซึ่งนี่เป็นแค่ตัวอย่างส่วนหนึ่งของโรคกลัวเท่านั้น
วิธีบำบัดรักษา
จิตแพทย์จะใช้วิธีปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย โดยโน้มน้าวให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิด คลายความวิตกกังวลและเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาลดความกลัวต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยจะมีการรักษาอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย โดยจะเน้นการรักษาโดยพฤติกรรมบำบัดให้ผู้ป่วยได้เผชิญทนกับสิ่งที่กลัว จนกระทั่งสามารถรับกับความกลัวนั้นไหวจนหายกลัวในที่สุด ตัวอย่างเช่น คนป่วยที่กลัวความมืด ก็ให้อยู่ในห้องที่มืดเล็กน้อย เมื่อผู้ป่วยทนไหวก็จะให้อยู่ในห้องที่มีความมืดมากขึ้นเรื่อย ๆจนถึงขนาดมืดสนิท จนผู้ป่วยไม่มีความกลัวความมืดอีกต่อไป โดยการบำบัดเยียวยารักษาโรคกลัว(Phobia)ทุกประเภทนั้น อาจจะมีการใช้ยาร่วมด้วย แต่ยาจะไม่ได้เป็นการรักษาหลักของโรคนี้ เพียงแต่ใช้ช่วยลดความกลัวในช่วงแรกเท่านั้น เพราะทางด้านการแพทย์จะให้ความสำคัญในการทำพฤติกรรมบำบัดและจิตบำบัดมากกว่า
อ่านมาถึงตรงนี้ ผู้อ่านลองเช็กตัวเองดูกันว่าคุณมีความกลัวในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากจนผิดปกติ หรือมีความกลัวในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ไม่สมเหตุสมผลบ้างหรือเปล่า ถ้ามีละก็คุณอาจเข้าข่ายเป็นโรคกลัว(Phobia)แล้วก็ได้ เพียงแต่ว่าเมื่อรู้แล้วและประเมินตนเองได้ว่าเรามีความกลัวอยู่ในระดับที่มากจนทำให้ตัวเราเองและคนรอบข้างเป็นทุกข์ก็ควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อบำบัดแก้ไขเสีย ดีกว่าต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างทรมาน แต่หากเรามีคนใกล้ชิด หรือคนรู้จักเป็นโรคกลัวอะไรก็แล้วแต่ อย่าปฏิบัติกับเขาเหมือนเขาเป็นคนประหลาด เพราะคงไม่มีใครมีความสุขกับการเป็นเช่นนี้ ให้เราเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ ช่วยเหลือเขาเท่าที่จะทำได้ เช่น คอยปลอบ ให้กำลังใจ พาหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เขากลัว และแนะนำให้ไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ นี่แหละคือการรักษาที่ดีที่สุดแล้ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ประเภทของโรคกลัว ซึ่งรวบรวมจากที่พบเห็นได้บ่อย ๆ ได้แก่
1.โรคกลัวความสูง อาการที่เกิดขึ้นคือกลัวการขึ้นไปบนที่สูงทุกชนิดเป็นอย่างมาก บางคนถึงขนาดที่ว่าแม้แต่เดินขึ้นบันไดหรือขึ้นสะพานลอยก็รู้สึกกลัวจนขาสั่น บางคนกลัวจนเกิดอาการตื่นกลัว เวียนหัว คลื่นไส้วิงเวียนตาลาย ซึ่งทำให้ใช้ชีวิตลำบากมาก
2.โรคกลัวสัตว์ อันที่จริงก็มีสัตว์หลายชนิดที่ควรกลัว เพราะเป็นสัตว์ที่มีอันตราย เช่น งู ตะขาบ จระเข้ แมลงมีพิษ แต่ถ้ามีอาการกลัวสัตว์เหล่านี้อย่างรุนแรง จนกระทั่งแม้แต่เห็นภาพสัตว์เหล่านี้ในหนังสือ หรือโทรทัศน์ก็เกิดอาการกลัว ใจสั่นกลัวจนจะเป็นลม อันนี้ถือว่าเป็นความกลัวที่ผิดปกติ หรือบางคนอาจจะมีอาการกลัวสัตว์ที่ไม่ควรจะกลัวมากจนผิดปกติ เช่น กลัวนก กลัวไก่ กลัวแมว กลัวจิ้งจก กลัวผีเสื้อ
3. โรคกลัวที่แคบ มีบางคนที่กลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น กลัวลิฟต์ กลัวการเดินเข้าอุโมงค์ บางคนเป็นมากถึงขนาดไม่สามารถนั่ง หรือยืนอยู่ในที่แคบ ๆ หรือแออัดได้เลย เพราะจะมีอาการแน่นหน้าอก ตาลาย หายใจไม่ออกขึ้นมาทันที
4.โรคกลัวเลือด จะมีอาการคือเห็นเลือดไม่ได้เลย แม้แต่แค่ตนเองมีเลือดออกเพียงนิดเดียวหรือแค่เห็นเลือดของคนอื่น ก็จะรู้สึกอ่อนแรง คลื่นไส้วิงเวียน จะเป็นลม บางคนเป็นมากอาจถึงขนาดเป็นช็อกจนหมดสติได้
5.โรคกลัวเสียงดัง ได้แก่ กลัวเสียงฟ้าร้อง - เสียงฟ้าผ่า กลัวเสียงฝนตก กลัวเสียงประทัด กลัวเสียงลูกโป่งแตก กลัวเสียงเครื่องยนต์ กลัวเสียงบีบแตร กลัวเสียงโทรศัพท์ บางคนเป็นมากถึงขนาดใครพูดเสียงดังก็ตกใจกลัวจนตัวสั่นแล้ว
6.โรคกลัวความมืด โดยจะมีอาการหวาดกลัวที่รุนแรงได้ขนาดที่ว่าไม่สามารถอยู่ในที่มืดได้เลยแม้แต่นิดเดียว โดยถ้าต้องอยู่ในที่มืดจะมีอาการหวาดกลัวจนนอนไม่หลับและอาจมีอาการประสาทหลอนร่วมด้วย ผู้เขียนรู้จักผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งท่านผู้นี้เปิดเผยให้ฟังว่าท่านกลัวความมืดมาก ในยามกลางคืนห้องนอนของท่านจะต้องเปิดไฟสว่างไสวทุกคืน เพราะถ้าอยู่ในที่มืดท่านจะนอนไม่หลับเลย เนื่องจากความกลัว โดยท่านเล่าให้ฟังว่าที่ท่านเป็นเช่นนี้เพราะตอนเด็กๆถูกญาติที่มีอายุมากกว่าหลอกผีและอีกทั้งเคยโดนทำโทษขังอยู่ในที่มืด จึงทำให้ท่านกลัวความมืดอย่างฝังใจ
นอกจากโรคกลัวทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมานี้ ซึ่งถือเป็นโรคกลัวยอดฮิตแล้ว ยังมีโรคความกลัวอื่น ๆ ที่มีอยู่จริง ซึ่งบางอันก็อาจจะเป็นความกลัวที่ดูไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย เช่น โรคกลัวคนเยอะ โรคกลัวคนหล่อคนสวย โรคกลัวเด็ก โรคกลัวคนแก่ โรคกลัวคนอ้วน โรคกลัวสีต่าง ๆ โรคกลัวต้นไม้ โรคกลัวผลไม้ ฯลฯ ซึ่งนี่เป็นแค่ตัวอย่างส่วนหนึ่งของโรคกลัวเท่านั้น
วิธีบำบัดรักษา
จิตแพทย์จะใช้วิธีปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย โดยโน้มน้าวให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิด คลายความวิตกกังวลและเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาลดความกลัวต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยจะมีการรักษาอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย โดยจะเน้นการรักษาโดยพฤติกรรมบำบัดให้ผู้ป่วยได้เผชิญทนกับสิ่งที่กลัว จนกระทั่งสามารถรับกับความกลัวนั้นไหวจนหายกลัวในที่สุด ตัวอย่างเช่น คนป่วยที่กลัวความมืด ก็ให้อยู่ในห้องที่มืดเล็กน้อย เมื่อผู้ป่วยทนไหวก็จะให้อยู่ในห้องที่มีความมืดมากขึ้นเรื่อย ๆจนถึงขนาดมืดสนิท จนผู้ป่วยไม่มีความกลัวความมืดอีกต่อไป โดยการบำบัดเยียวยารักษาโรคกลัว(Phobia)ทุกประเภทนั้น อาจจะมีการใช้ยาร่วมด้วย แต่ยาจะไม่ได้เป็นการรักษาหลักของโรคนี้ เพียงแต่ใช้ช่วยลดความกลัวในช่วงแรกเท่านั้น เพราะทางด้านการแพทย์จะให้ความสำคัญในการทำพฤติกรรมบำบัดและจิตบำบัดมากกว่า
อ่านมาถึงตรงนี้ ผู้อ่านลองเช็กตัวเองดูกันว่าคุณมีความกลัวในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากจนผิดปกติ หรือมีความกลัวในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ไม่สมเหตุสมผลบ้างหรือเปล่า ถ้ามีละก็คุณอาจเข้าข่ายเป็นโรคกลัว(Phobia)แล้วก็ได้ เพียงแต่ว่าเมื่อรู้แล้วและประเมินตนเองได้ว่าเรามีความกลัวอยู่ในระดับที่มากจนทำให้ตัวเราเองและคนรอบข้างเป็นทุกข์ก็ควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อบำบัดแก้ไขเสีย ดีกว่าต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างทรมาน แต่หากเรามีคนใกล้ชิด หรือคนรู้จักเป็นโรคกลัวอะไรก็แล้วแต่ อย่าปฏิบัติกับเขาเหมือนเขาเป็นคนประหลาด เพราะคงไม่มีใครมีความสุขกับการเป็นเช่นนี้ ให้เราเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ ช่วยเหลือเขาเท่าที่จะทำได้ เช่น คอยปลอบ ให้กำลังใจ พาหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เขากลัว และแนะนำให้ไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ นี่แหละคือการรักษาที่ดีที่สุดแล้ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่