เปิดตัวตลาดผักปลอดภัย “ตลาดวัดชัยฉิมพลี” ตลาดกลางรองรับผักสุขภาพส่งตรงผู้บริโภค ราคายุติธรรม 15 บาท ราคาเดียว เผยได้รับการรับรองควบคุมคุณภาพผักปลอดภัย หวังขยายคลอบคลุมทุกตลาดใน กทม. พร้อมชวนคนเมืองปลูกผักกินเอง ชี้พื้นที่ไม่ใช่ข้อจำกัดแค่ 1 ตร.ม.ได้ผักถึง 1 กก.
เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ตลาดวัดชัยฉิมพลี แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ กทม. ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (ศวพช.) มหาวิทยาลัยสยาม ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานเขตภาษีเจริญ และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัด มหกรรม “พื้นที่ไม่ใช่ข้อจำกัด...ของผัก (สุขภาพ) คนเมือง” ตอน “ผักสุขภาพดี ที่ภาษีเจริญ” ที่ตลาดวัดชัยชิมพลี เพื่อเป็นตลาดกลางรองรับผักสุขภาพ แห่งแรกของเขตภาษีเจริญ โดยมีนายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดงาน
ผศ.ดร.กุลธิดา จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (ศวพช.) มหาวิทยาลัยสยาม และ เลขาธิการมูลนิธิวิจัยเพื่อพัฒนามนุษย์และชุมชน กล่าวว่า ได้ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ (Healthy Space) นำร่องในพื้นที่เขตภาษีเจริญ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกฝ่ายจัดการข้อจำกัดของพื้นที่ให้เอื้อประโยชน์ต่อสุขภาวะ ซึ่งคณะทำงานพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ได้ขับเคลื่อนการทำงานจนเกิดตลาดกลางรองรับผักปลอดภัยที่ตลาดวัดชัยฉิมพลี เป็นพื้นที่แรกในเขตภาษีเจริญ ดำเนินงานภายใต้กระบวนการสร้างความร่วมมือของเกษตรกร แม่ค้า ผู้บริโภค เครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญ อาทิ มูลนิธิชีววิถี สวนเงินมีมา (ตลาดสีเขียว) ชุมชนภาษีเจริญ สำนักงานเขตภาษีเจริญ โดยตลาดวัดชัยฉิมพลี รองรับการจำหน่ายผักปลอดภัยอย่างเป็นระบบ ชื่อ “ผักสุขภาพ ภาษีเจริญ” ภายใต้มาตรฐานและการควบคุมคุณภาพผักของคณะกรรมการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพผัก ด้วยกระบวนการที่ยึดหลักคุณธรรม และการมีส่วนร่วม (PGS, Participatory Guarantee Systems)เกษตรกรอยู่ได้ แม่ค้าไม่ขาดทุน ผู้บริโภคเข้าถึง สามารถตรวจสอบได้ทางวิชาการ มีการกำหนดราคาผักร่วมกันคือ ผักสุขภาพ ภาษีเจริญ 15 บาท ทุกรายการ เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ฯลฯ ซึ่งเป็นผักที่มาจากเกษตรกรในเขตภาษีเจริญที่มั่นใจได้ว่าปลอดภัย
“ปัจจุบันการปลูกผักมีการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช ใช้สารเร่งให้พืชเจริญเติบโต ทำให้เกิดสารพิษตกค้างเป็นจำนวนมาก การบริโภคผักของคนไทยจึงมีความเสี่ยง โดยในปี 2551-2554 กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการสุ่มตรวจผัก กว่า 50 ชนิด มี 8 ชนิด ที่พบสารเคมีตกค้างมากที่สุด คือ พริกขี้หนู คะน้า กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ-มะเขือเปราะ ผักชี กะหล่ำปลี และแตงกวา ซึ่งการบริโภคผักและผลไม้ที่มีสารพิษตกค้าง จะสะสมในร่างกาย และหากได้รับติดต่อกันนานจะทำให้เจ็บป่วยได้ ปัญหาการบริโภคผักที่มีสารพิษตกค้าง ผนวกกับข้อจำกัดเชิงพื้นที่ของการปลูกผักของคนเมืองกรุง ทำให้การเข้าถึงผักที่ปลอดภัยต่อสุขภาพน้อยลงตามข้อจำกัดของคนเมือง จึงอยากชวนคนเมืองมาปลูกผักกินเอง ซึ่งการมีพื้นที่จำกัดไม่ใช่อุปสรรคของการปลูกผัก หากเราปรับพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น การปลูกผักคอนโด ผักลอยฟ้า ผักอุโมงค์หรือผักลอยน้ำ แค่พื้นที่ 1 ตารางเมตร ทุกครอบครัวสามารถผลิตผักได้ประมาณ 1 กิโลกรัม และยังได้สานสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ด้วยกิจกรรมดีๆ อีกด้วย” ผศ.ดร.กุลธิดากล่าว
ด้าน ดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดี มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า ม.สยามได้ร่วมสนับสนุนการจัดการข้อจำกัดเชิงพื้นที่ของเมืองกรุงด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนให้นักศึกษาร่วมกระบวนการด้วยการเรียนรู้วิถีชุมชน นอกจากนี้ยังเริ่มพัฒนารูปแบบการปลูกผักของคนเมืองกรุงให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยสยามเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไปด้วย หากผู้กำหนดนโยบายของกรุงเทพมหานครได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการขยายวงกว้างในทุกเขต คาดว่าเส้นทางผักที่ปลอดภัยต่อสุขภาพคงต่อเนื่องและเข้มแข็ง มหาวิทยาลัยพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่ สำหรับในงานมหกรรมที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกนี้ จะพบกับกิจกรรมที่สำคัญ เช่น นิทรรศการทางวิชาการ ลานเสวนา การตรวจสารเคมีตกค้างและการจำหน่าย “ผักสุขภาพ ภาษีเจริญ” รวมทั้งการแสดงผลงานต่างๆ ของภาคีเครือข่าย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ตลาดวัดชัยฉิมพลี แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ กทม. ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (ศวพช.) มหาวิทยาลัยสยาม ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานเขตภาษีเจริญ และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัด มหกรรม “พื้นที่ไม่ใช่ข้อจำกัด...ของผัก (สุขภาพ) คนเมือง” ตอน “ผักสุขภาพดี ที่ภาษีเจริญ” ที่ตลาดวัดชัยชิมพลี เพื่อเป็นตลาดกลางรองรับผักสุขภาพ แห่งแรกของเขตภาษีเจริญ โดยมีนายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดงาน
ผศ.ดร.กุลธิดา จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (ศวพช.) มหาวิทยาลัยสยาม และ เลขาธิการมูลนิธิวิจัยเพื่อพัฒนามนุษย์และชุมชน กล่าวว่า ได้ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ (Healthy Space) นำร่องในพื้นที่เขตภาษีเจริญ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกฝ่ายจัดการข้อจำกัดของพื้นที่ให้เอื้อประโยชน์ต่อสุขภาวะ ซึ่งคณะทำงานพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ได้ขับเคลื่อนการทำงานจนเกิดตลาดกลางรองรับผักปลอดภัยที่ตลาดวัดชัยฉิมพลี เป็นพื้นที่แรกในเขตภาษีเจริญ ดำเนินงานภายใต้กระบวนการสร้างความร่วมมือของเกษตรกร แม่ค้า ผู้บริโภค เครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญ อาทิ มูลนิธิชีววิถี สวนเงินมีมา (ตลาดสีเขียว) ชุมชนภาษีเจริญ สำนักงานเขตภาษีเจริญ โดยตลาดวัดชัยฉิมพลี รองรับการจำหน่ายผักปลอดภัยอย่างเป็นระบบ ชื่อ “ผักสุขภาพ ภาษีเจริญ” ภายใต้มาตรฐานและการควบคุมคุณภาพผักของคณะกรรมการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพผัก ด้วยกระบวนการที่ยึดหลักคุณธรรม และการมีส่วนร่วม (PGS, Participatory Guarantee Systems)เกษตรกรอยู่ได้ แม่ค้าไม่ขาดทุน ผู้บริโภคเข้าถึง สามารถตรวจสอบได้ทางวิชาการ มีการกำหนดราคาผักร่วมกันคือ ผักสุขภาพ ภาษีเจริญ 15 บาท ทุกรายการ เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ฯลฯ ซึ่งเป็นผักที่มาจากเกษตรกรในเขตภาษีเจริญที่มั่นใจได้ว่าปลอดภัย
“ปัจจุบันการปลูกผักมีการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช ใช้สารเร่งให้พืชเจริญเติบโต ทำให้เกิดสารพิษตกค้างเป็นจำนวนมาก การบริโภคผักของคนไทยจึงมีความเสี่ยง โดยในปี 2551-2554 กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการสุ่มตรวจผัก กว่า 50 ชนิด มี 8 ชนิด ที่พบสารเคมีตกค้างมากที่สุด คือ พริกขี้หนู คะน้า กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ-มะเขือเปราะ ผักชี กะหล่ำปลี และแตงกวา ซึ่งการบริโภคผักและผลไม้ที่มีสารพิษตกค้าง จะสะสมในร่างกาย และหากได้รับติดต่อกันนานจะทำให้เจ็บป่วยได้ ปัญหาการบริโภคผักที่มีสารพิษตกค้าง ผนวกกับข้อจำกัดเชิงพื้นที่ของการปลูกผักของคนเมืองกรุง ทำให้การเข้าถึงผักที่ปลอดภัยต่อสุขภาพน้อยลงตามข้อจำกัดของคนเมือง จึงอยากชวนคนเมืองมาปลูกผักกินเอง ซึ่งการมีพื้นที่จำกัดไม่ใช่อุปสรรคของการปลูกผัก หากเราปรับพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น การปลูกผักคอนโด ผักลอยฟ้า ผักอุโมงค์หรือผักลอยน้ำ แค่พื้นที่ 1 ตารางเมตร ทุกครอบครัวสามารถผลิตผักได้ประมาณ 1 กิโลกรัม และยังได้สานสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ด้วยกิจกรรมดีๆ อีกด้วย” ผศ.ดร.กุลธิดากล่าว
ด้าน ดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดี มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า ม.สยามได้ร่วมสนับสนุนการจัดการข้อจำกัดเชิงพื้นที่ของเมืองกรุงด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนให้นักศึกษาร่วมกระบวนการด้วยการเรียนรู้วิถีชุมชน นอกจากนี้ยังเริ่มพัฒนารูปแบบการปลูกผักของคนเมืองกรุงให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยสยามเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไปด้วย หากผู้กำหนดนโยบายของกรุงเทพมหานครได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการขยายวงกว้างในทุกเขต คาดว่าเส้นทางผักที่ปลอดภัยต่อสุขภาพคงต่อเนื่องและเข้มแข็ง มหาวิทยาลัยพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่ สำหรับในงานมหกรรมที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกนี้ จะพบกับกิจกรรมที่สำคัญ เช่น นิทรรศการทางวิชาการ ลานเสวนา การตรวจสารเคมีตกค้างและการจำหน่าย “ผักสุขภาพ ภาษีเจริญ” รวมทั้งการแสดงผลงานต่างๆ ของภาคีเครือข่าย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่