สธ. เผยเหยื่อบึ้มราชประสงค์ยังเจ็บหนักอยู่ ไอ.ซี.ยู. 12 ราย อาการน่าเป็นห่วง 5 ราย เร่งดูแลผู้ป่วยทั้งหมดและประสานดูแลตามสิทธิ พร้อมเปิดศูนย์ข้อมูล ประสานส่งศพกลับ เยียวยาช่วยเหลอระยะยาว พร้อมส่งทีมสุขภาพจิตเข้าดูแล
วันนี้ (19 ส.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น. นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการประชุมวอร์รูมกรณีเหตุระเบิดราชประสงค์ ว่า ขณะนี้ข้อมูลอย่างเป็นทางการยืนยันตัวเลขผู้เสียชีวิต 20 ราย สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่าเป็นชาวไทย 7 ราย ชาวต่างชาติ 7 ราย แบ่งเป็น ชาวมาเลเซีย 2 ราย ชาวจีน 2 ราย ฮ่องกง 2 ราย และสิงค์โปร์ 1 ราย ส่วนอีก 6 รายที่เหลืออยู่ระหว่างการพิสูจน์อัตลักษณ์ 6 ราย ซึ่งยังไม่สามารถติดต่อญาติได้ เนื่องจากไม่มีเอกสารหลักฐาน ต้องรอการพิสูจน์อัตลักษณ์เทียบกับญาติ ซึ่งนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ กำลังเร่งกระบวนการดังกล่าวอยู่ สำหรับผู้บาดเจ็บมีทั้งสิ้น 123 ราย ยังต้องอยู่ในโรงพยาบาล 68 ราย เป็นชาวต่างชาติ 22 ราย คนไทย 46 ราย ในจำนวนนี้อยู่ในหอผู้ป่วยหนัก 12 ราย เป็นชาวต่างชาติ 7 ราย คนไทย 5 ราย โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นแผลไหม้ แผลจากชิ้นส่วนระเบิด และกระดูกหัก โดยจำนวนนี้มีอาการน่าเป็นห่วง 5 ราย ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ส่วน สธ. เตรียมทำใน 6 เรื่อง คือ 1. ตั้งศูนย์ข้อมูลโดยใช้เว็บไซต์ของกระทรวง www.moph.go.th ในการอัปเดตข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2. เปิดสายด่วนเฉพาะกรณีสำหรับให้ข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้สอบถามเพียงจุดเดียวโดยใช้หมายเลข 0-2590-1994 เพื่อให้ญาติผู้บาดเจ็บได้สอบถามข้อมูลที่สงสัยในทุกเรื่อง ซึ่งขณะนี้เชื่อว่าการตามหาญาติในโรงพยาบาลต่าง ๆ คงพบกันเกือบครบแล้ว แต่อาจจะยังมีบางส่วนที่สงสัยในเรื่องการเยียวยา การให้ความช่วยเหลือในระยะยาว การฟื้นฟู เนื่องจากผู้บาดเจ็บบางรายต้องการการรักษาต่อเนื่อง บางรายหูดับ แก้วหูทะลุ บางรายกระดูกหัก ซึ่งต้องการการดูแลระยะยาว ซึ่ง สธ. จะให้การดูแลในนามรัฐบาลไทย และจะประสานงานให้การดูแลตามสิทธิ
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า 3. สธ. จะประสานนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ เรื่องขั้นตอนการส่งศพกลับภูมิลำเนา โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จะได้ประสานกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้การช่วยเหลือต่อไป 4. ค่ารักษาพยาบาล ในส่วนโรงพยาบาลรัฐบาลจะดูแลให้ ส่วนโรงพยาบาลเอกชน ได้ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ทำหนังสือประสานกับโรงพยาบาลเพื่อดูแลค่าใช้จ่ายต่อไป 5. ให้โรงพยาบาลทุกแห่งทุกความเข้าใจกับผู้ได้รับบาดเจ็บให้เข้าใจมาตรการการรักษาการดูแลค่ารักษา การส่งต่อ และ 6. ประสานกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อให้การเยียวยาตามกฎหมายที่มี
“ในส่วนผู้บาดเจ็บที่ยังอยู่ในโรงพยาบาลนั้น จะให้ทีมกรมสุขภาพจิต เข้าไปพูดคุยและเยียวยา เพราะคนไข้ และญาติ มีความเครียดและกังวล ซึ่งจากการที่ได้ไปเยี่ยมผู้ป่วย ก็พบว่าญาติชาวจีนมากที่สุด จำเป็นต้องมีคนไปดูแลจิตใจเพื่อความเครียดลง สำหรับอาการผู้ป่วยนั้น ในช่วง 2 - 3 วันแรก ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะแผลไฟไหม้ จะยังต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะอาการเปลี่ยนแปลงได้มากในช่วงนี้ หากบาดแผลไม่ลึกมากก็จะฟื้นตัวได้เร็ว แต่เท่าที่ดูโดยส่วนใหญ่อาการเริ่มไม่น่าเป็นห่วงมากนัก” รมช.สธ. กล่าว
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมฯ มีทีมเยียวยาจิตใจในภาวะวิกฤต (MCATT) ซึ่งจะเข้าไปประเมินสภาพจิตใจของแต่ละครอบครัวว่าเป็นอย่างไร ต้องให้การช่วยเหลืออย่างไร โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ที่ตั้งใจเดินทางมาท่องเที่ยว การประสบเหตุรุนแรงจะส่งผลต่อจิตใจอย่างมาก ส่วนครอบครัวที่มีการสูญเสียคนในครอบครัวก็จะต้องดูแลญาติ ซึ่งมีทีมสุขภาพจิตในพื้นที่ที่พร้อมให้การดูแลอยู่แล้ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (19 ส.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น. นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการประชุมวอร์รูมกรณีเหตุระเบิดราชประสงค์ ว่า ขณะนี้ข้อมูลอย่างเป็นทางการยืนยันตัวเลขผู้เสียชีวิต 20 ราย สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่าเป็นชาวไทย 7 ราย ชาวต่างชาติ 7 ราย แบ่งเป็น ชาวมาเลเซีย 2 ราย ชาวจีน 2 ราย ฮ่องกง 2 ราย และสิงค์โปร์ 1 ราย ส่วนอีก 6 รายที่เหลืออยู่ระหว่างการพิสูจน์อัตลักษณ์ 6 ราย ซึ่งยังไม่สามารถติดต่อญาติได้ เนื่องจากไม่มีเอกสารหลักฐาน ต้องรอการพิสูจน์อัตลักษณ์เทียบกับญาติ ซึ่งนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ กำลังเร่งกระบวนการดังกล่าวอยู่ สำหรับผู้บาดเจ็บมีทั้งสิ้น 123 ราย ยังต้องอยู่ในโรงพยาบาล 68 ราย เป็นชาวต่างชาติ 22 ราย คนไทย 46 ราย ในจำนวนนี้อยู่ในหอผู้ป่วยหนัก 12 ราย เป็นชาวต่างชาติ 7 ราย คนไทย 5 ราย โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นแผลไหม้ แผลจากชิ้นส่วนระเบิด และกระดูกหัก โดยจำนวนนี้มีอาการน่าเป็นห่วง 5 ราย ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ส่วน สธ. เตรียมทำใน 6 เรื่อง คือ 1. ตั้งศูนย์ข้อมูลโดยใช้เว็บไซต์ของกระทรวง www.moph.go.th ในการอัปเดตข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2. เปิดสายด่วนเฉพาะกรณีสำหรับให้ข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้สอบถามเพียงจุดเดียวโดยใช้หมายเลข 0-2590-1994 เพื่อให้ญาติผู้บาดเจ็บได้สอบถามข้อมูลที่สงสัยในทุกเรื่อง ซึ่งขณะนี้เชื่อว่าการตามหาญาติในโรงพยาบาลต่าง ๆ คงพบกันเกือบครบแล้ว แต่อาจจะยังมีบางส่วนที่สงสัยในเรื่องการเยียวยา การให้ความช่วยเหลือในระยะยาว การฟื้นฟู เนื่องจากผู้บาดเจ็บบางรายต้องการการรักษาต่อเนื่อง บางรายหูดับ แก้วหูทะลุ บางรายกระดูกหัก ซึ่งต้องการการดูแลระยะยาว ซึ่ง สธ. จะให้การดูแลในนามรัฐบาลไทย และจะประสานงานให้การดูแลตามสิทธิ
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า 3. สธ. จะประสานนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ เรื่องขั้นตอนการส่งศพกลับภูมิลำเนา โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จะได้ประสานกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้การช่วยเหลือต่อไป 4. ค่ารักษาพยาบาล ในส่วนโรงพยาบาลรัฐบาลจะดูแลให้ ส่วนโรงพยาบาลเอกชน ได้ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ทำหนังสือประสานกับโรงพยาบาลเพื่อดูแลค่าใช้จ่ายต่อไป 5. ให้โรงพยาบาลทุกแห่งทุกความเข้าใจกับผู้ได้รับบาดเจ็บให้เข้าใจมาตรการการรักษาการดูแลค่ารักษา การส่งต่อ และ 6. ประสานกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อให้การเยียวยาตามกฎหมายที่มี
“ในส่วนผู้บาดเจ็บที่ยังอยู่ในโรงพยาบาลนั้น จะให้ทีมกรมสุขภาพจิต เข้าไปพูดคุยและเยียวยา เพราะคนไข้ และญาติ มีความเครียดและกังวล ซึ่งจากการที่ได้ไปเยี่ยมผู้ป่วย ก็พบว่าญาติชาวจีนมากที่สุด จำเป็นต้องมีคนไปดูแลจิตใจเพื่อความเครียดลง สำหรับอาการผู้ป่วยนั้น ในช่วง 2 - 3 วันแรก ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะแผลไฟไหม้ จะยังต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะอาการเปลี่ยนแปลงได้มากในช่วงนี้ หากบาดแผลไม่ลึกมากก็จะฟื้นตัวได้เร็ว แต่เท่าที่ดูโดยส่วนใหญ่อาการเริ่มไม่น่าเป็นห่วงมากนัก” รมช.สธ. กล่าว
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมฯ มีทีมเยียวยาจิตใจในภาวะวิกฤต (MCATT) ซึ่งจะเข้าไปประเมินสภาพจิตใจของแต่ละครอบครัวว่าเป็นอย่างไร ต้องให้การช่วยเหลืออย่างไร โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ที่ตั้งใจเดินทางมาท่องเที่ยว การประสบเหตุรุนแรงจะส่งผลต่อจิตใจอย่างมาก ส่วนครอบครัวที่มีการสูญเสียคนในครอบครัวก็จะต้องดูแลญาติ ซึ่งมีทีมสุขภาพจิตในพื้นที่ที่พร้อมให้การดูแลอยู่แล้ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่