กรมสุขภาพจิตเตือนเสพข่าวอย่างมี “สติ” ใช้วิจารณญาณ ชี้มีทั้งข่าวจริง ข่าวลือ ข่าวปล่อย แนะค่อย ๆ กลั่นกรอง ยิ่งรีบร้อนก็ยิ่งเครียด เช็กข่าวจากหลายทาง ใช้ดุลพินิจก่อนแชร์ข่าว ย้ำไม่แชร์ข่าวที่ไม่รู้ที่มา รูปภาพความสูญเสียซ้ำซ้อนไปมา เคารพสิทธิผู้ได้รับผลกระทบ พร้อมส่งทีมเยียวยาจิตใจผู้บาดเจ็บ สูญเสียคนในครอบครัว
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีเหตุระเบิดที่บริเวณแยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2558 ที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้มีข้อมูลข่าวสาร ภาพ หรือข่าวลือต่าง ๆ มากมาย เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตที่อาจสร้างความหวาดระแวงและวิตกกังวลให้กับประชาชนถึงความไม่ปลอดภัย ทำให้ผู้ที่รับหรือติดตามข่าวสารดังกล่าวเกิดความเข้าใจผิด เครียด หรือวิตกกังวลขึ้นได้ จึงขอแนะนำว่า ให้ตั้งสติและระมัดระวังเป็นพิเศษในการติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ โดยเฉพาะทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งต้องตรวจสอบจากหลาย ๆ ที่ และต้องไม่เชื่อในทันที เพราะไม่มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจน โดยผู้รับข้อมูลข่าวสารควรใช้วิจารณญาณ เชื่อโดยมีพื้นฐานอยู่บนเหตุผล ข้อเท็จจริง ดูความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ มองสถานการณ์ให้รอบด้าน อย่าตื่นตระหนก โดยต้องวิเคราะห์ให้ดี เพราะข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏนั้น ย่อมมีทั้งข่าวจริง ข่าวลือ ข่าวปล่อย จึงต้องค่อย ๆ กลั่นกรอง อย่ารีบร้อน เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความเครียด และวิตกกังวลมากขึ้น
“การรับข้อมูลควรรับข้อมูลจากคนที่เชื่อถือได้ หรืออาจตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อคลายความกังวล ตลอดจนรวมกลุ่มกันเพื่อเฝ้าระวังและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้และเข้าใจข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง ส่วนกรณีของผู้ที่จะแชร์หรือเผยแพร่ข้อมูลต่อนั้น จำเป็นต้องใช้ดุลพินิจให้มาก ต้องคำนึงถึงความถูกต้องของเนื้อหา และต้องคำนึงด้วยว่าข้อมูลที่จะส่งต่อไปนั้นเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือไม่ ที่สำคัญ ต้องพึงเคารพสิทธิผู้ที่ได้รับผลกระทบ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์ ด้วยการไม่แชร์รูป ไม่แชร์ข่าวลือที่ไม่รู้ที่มา หรือแชร์ภาพความสูญเสียซ้ำไปซ้ำมา เพราะจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้แย่ลงไปอีก” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
นพ.เจษฎา กล่าวว่า ประชาชนไม่ควรรับข้อมูลข่าวสารมากเกินไปจนเกิดความเครียด อาการที่สังเกตพบ เช่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปั่นป่วนมวนท้อง วิตกกังวล ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการรับข้อมูลข่าวสารและภาพความสูญเสียที่มากเกินไป หันไปทำกิจกรรมอื่น ๆ เผื่อผ่อนคลายแทน วิธีง่าย ๆ อาจเริ่มจากการตั้งสติ และกำหนดลมหายใจ หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกช้า ๆ ทำต่อเนื่องกันไปจนรู้สึกผ่อนคลาย รวมทั้งนอนหลับอย่างเพียงพอ หรืออาจจะพูดคุยกับคนใกล้ชิด เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง หรือจากหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิตทุกแห่งทั่วประเทศในวันและเวลาราชการ นอกจากนี้ กรมฯ ได้เตรียมส่งทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต เพื่อดูแลประเมินผลกระทบและเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยอย่างเหมาะสมและทันท่วงที ป้องกันการเกิดบาดแผลทางใจในระยะยาว โดยเฉพาะผู้ได้รับบาดเจ็บ และผู้สูญเสียบุคคลในครอบครัว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ มีการสร้างข่าวลือ เช่น คสช. ประกาศให้โรงเรียนใน กทม. หยุดการเรียนการสอน ให้สถาบันการเงินและหน่วยงานราชการหยุดทำงาน หรือกรณีพื้นที่เสี่ยงอันตราย 10 จุด ซึ่งภายหลังมีการยืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริง รวมไปถึงกรณีการแชร์ว่าสภากาชาดไทยต้องการรับบริจาคโลหิต ทั้งที่ความจริงแล้วเลือดยังมีเพียงพอ เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีเหตุระเบิดที่บริเวณแยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2558 ที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้มีข้อมูลข่าวสาร ภาพ หรือข่าวลือต่าง ๆ มากมาย เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตที่อาจสร้างความหวาดระแวงและวิตกกังวลให้กับประชาชนถึงความไม่ปลอดภัย ทำให้ผู้ที่รับหรือติดตามข่าวสารดังกล่าวเกิดความเข้าใจผิด เครียด หรือวิตกกังวลขึ้นได้ จึงขอแนะนำว่า ให้ตั้งสติและระมัดระวังเป็นพิเศษในการติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ โดยเฉพาะทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งต้องตรวจสอบจากหลาย ๆ ที่ และต้องไม่เชื่อในทันที เพราะไม่มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจน โดยผู้รับข้อมูลข่าวสารควรใช้วิจารณญาณ เชื่อโดยมีพื้นฐานอยู่บนเหตุผล ข้อเท็จจริง ดูความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ มองสถานการณ์ให้รอบด้าน อย่าตื่นตระหนก โดยต้องวิเคราะห์ให้ดี เพราะข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏนั้น ย่อมมีทั้งข่าวจริง ข่าวลือ ข่าวปล่อย จึงต้องค่อย ๆ กลั่นกรอง อย่ารีบร้อน เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความเครียด และวิตกกังวลมากขึ้น
“การรับข้อมูลควรรับข้อมูลจากคนที่เชื่อถือได้ หรืออาจตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อคลายความกังวล ตลอดจนรวมกลุ่มกันเพื่อเฝ้าระวังและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้และเข้าใจข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง ส่วนกรณีของผู้ที่จะแชร์หรือเผยแพร่ข้อมูลต่อนั้น จำเป็นต้องใช้ดุลพินิจให้มาก ต้องคำนึงถึงความถูกต้องของเนื้อหา และต้องคำนึงด้วยว่าข้อมูลที่จะส่งต่อไปนั้นเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือไม่ ที่สำคัญ ต้องพึงเคารพสิทธิผู้ที่ได้รับผลกระทบ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์ ด้วยการไม่แชร์รูป ไม่แชร์ข่าวลือที่ไม่รู้ที่มา หรือแชร์ภาพความสูญเสียซ้ำไปซ้ำมา เพราะจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้แย่ลงไปอีก” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
นพ.เจษฎา กล่าวว่า ประชาชนไม่ควรรับข้อมูลข่าวสารมากเกินไปจนเกิดความเครียด อาการที่สังเกตพบ เช่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปั่นป่วนมวนท้อง วิตกกังวล ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการรับข้อมูลข่าวสารและภาพความสูญเสียที่มากเกินไป หันไปทำกิจกรรมอื่น ๆ เผื่อผ่อนคลายแทน วิธีง่าย ๆ อาจเริ่มจากการตั้งสติ และกำหนดลมหายใจ หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกช้า ๆ ทำต่อเนื่องกันไปจนรู้สึกผ่อนคลาย รวมทั้งนอนหลับอย่างเพียงพอ หรืออาจจะพูดคุยกับคนใกล้ชิด เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง หรือจากหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิตทุกแห่งทั่วประเทศในวันและเวลาราชการ นอกจากนี้ กรมฯ ได้เตรียมส่งทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต เพื่อดูแลประเมินผลกระทบและเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยอย่างเหมาะสมและทันท่วงที ป้องกันการเกิดบาดแผลทางใจในระยะยาว โดยเฉพาะผู้ได้รับบาดเจ็บ และผู้สูญเสียบุคคลในครอบครัว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ มีการสร้างข่าวลือ เช่น คสช. ประกาศให้โรงเรียนใน กทม. หยุดการเรียนการสอน ให้สถาบันการเงินและหน่วยงานราชการหยุดทำงาน หรือกรณีพื้นที่เสี่ยงอันตราย 10 จุด ซึ่งภายหลังมีการยืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริง รวมไปถึงกรณีการแชร์ว่าสภากาชาดไทยต้องการรับบริจาคโลหิต ทั้งที่ความจริงแล้วเลือดยังมีเพียงพอ เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่