สธ. จัดมหกรรมพัฒนาบริการระดับปฐมภูมิ ชูทีมหมอครอบครัวหัวใจขับเคลื่อนงาน แนะปรับทัศนคติจากการทำงานคนเดียวสู่ทีม ใช้เทคโนโลยีเหมาะสม บริหารจัดการแนวใหม่
วันนี้ (3 ส.ค.) ที่ อิมแพHค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดมหกรรมการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ปี 2558 ภายใต้แนวคิด “พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง บูรณาการด้วยทีมหมอครอบครัว” ว่า ทีมหมอครอบครัวถือเป็นหัวใจของการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนทำงานด้วยกันเอง บุคลากรสาธารณสุขกับประชาชน ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ในการพฒนาความเข้มแข็งระบบบริการปฐมภูมิมี 3 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1. ปรับทัศนคติการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) แพทย์ในโรงพยาบาลทุกระดับ ทีมชุมชน ทีมท้องถิ่น และผู้บริหารระบบสุขภาพ จากทำคนเดียวเป็นทำงานเป็นทีมเป็นเครือข่าย 2. การปรับใช้เทคโนโลยีได้อย่างสอดคล้องกับประเภทและระดับความรุนแรงของปัญหาสุขภาพ มีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่าง ๆ จากหน่วยวิชาการและหน่วยบริการในระดับที่เหนือขึ้นไป และ 3. มีระบบการจัดการแนวใหม่ เน้นการทำงานร่วมกันในแต่ละระดับ ส่งเสริมการเรียนรู้ ตัดสินใจการพัฒนาการทำงานร่วมกัน ตอบสนองตามความต้องการครอบครัว และสมาชิกครอบครัวเป็นหลัก
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า หัวใจของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ จะต้องดำเนินงานจนเกิดผลอย่างน้อย 3 ด้าน ได้แก่ การดูแลเชิงรุกเพื่อสร้างสุขภาพไม่ตั้งรับรอคนป่วยมาหา หน่วยบริการทุกระดับทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อและทำร่วมกับครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น สามารถขอรับคำปรึกษา การวางแผนดูแลสุขภาพโดยไม่ยากลำบาก หรือเสียเวลาเดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาล โดยไม่จำเป็น และรับผู้ป่วยกลับมาดูแลใกล้บ้าน หรือที่ครอบครัว เสมือนหนึ่งว่าได้รับการดูแลจากทีมโรงพยาบาลใหญ่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 ส.ค.) ที่ อิมแพHค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดมหกรรมการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ปี 2558 ภายใต้แนวคิด “พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง บูรณาการด้วยทีมหมอครอบครัว” ว่า ทีมหมอครอบครัวถือเป็นหัวใจของการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนทำงานด้วยกันเอง บุคลากรสาธารณสุขกับประชาชน ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ในการพฒนาความเข้มแข็งระบบบริการปฐมภูมิมี 3 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1. ปรับทัศนคติการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) แพทย์ในโรงพยาบาลทุกระดับ ทีมชุมชน ทีมท้องถิ่น และผู้บริหารระบบสุขภาพ จากทำคนเดียวเป็นทำงานเป็นทีมเป็นเครือข่าย 2. การปรับใช้เทคโนโลยีได้อย่างสอดคล้องกับประเภทและระดับความรุนแรงของปัญหาสุขภาพ มีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่าง ๆ จากหน่วยวิชาการและหน่วยบริการในระดับที่เหนือขึ้นไป และ 3. มีระบบการจัดการแนวใหม่ เน้นการทำงานร่วมกันในแต่ละระดับ ส่งเสริมการเรียนรู้ ตัดสินใจการพัฒนาการทำงานร่วมกัน ตอบสนองตามความต้องการครอบครัว และสมาชิกครอบครัวเป็นหลัก
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า หัวใจของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ จะต้องดำเนินงานจนเกิดผลอย่างน้อย 3 ด้าน ได้แก่ การดูแลเชิงรุกเพื่อสร้างสุขภาพไม่ตั้งรับรอคนป่วยมาหา หน่วยบริการทุกระดับทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อและทำร่วมกับครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น สามารถขอรับคำปรึกษา การวางแผนดูแลสุขภาพโดยไม่ยากลำบาก หรือเสียเวลาเดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาล โดยไม่จำเป็น และรับผู้ป่วยกลับมาดูแลใกล้บ้าน หรือที่ครอบครัว เสมือนหนึ่งว่าได้รับการดูแลจากทีมโรงพยาบาลใหญ่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่