กรมอนามัย เตือนใช้ขวดพลาสติกเก่าสำรองน้ำหวั่นภัยแล้ง เสี่ยงปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย เผยการเติมน้ำซ้ำๆ ในขวดพลากสติกพบปนเปื้อนเชื้อถึง 74% แนะทำความสะอาดถูกวิธี
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค โดยนำขวดพลาสติกเปล่าที่ผ่านการใช้งานแล้วมาใส่น้ำไว้สำหรับดื่ม หรือใช้ในครัวเรือนนั้น บางครั้งไม่ได้ผ่านการทำความสะอาดที่ถูกวิธี โดยเฉพาะบริเวณปากขวด และฝาขวดที่เกิดจากการใช้ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ขวดน้ำกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่มักพบมากในน้ำบรรจุขวดพลาสติกที่มีการเติมน้ำซ้ำๆ กันหลายครั้ง ซึ่งผลจากการเก็บน้ำดื่มบรรจุขวดโดยกรมอนามัย ปี 2557 เพื่อตรวจสอบ จำนวน 500 ตัวอย่าง พบมีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 370 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 74 ประชาชนจึงควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะสารเคมีที่เป็นอันตรายจากพลาสติก เพราะการขัดถูเพื่อล้างทำความสะอาดขวดน้ำ อาจทำให้เกิดรอยขูดขีด หรือการบุบชำรุดของขวดที่เกิดจากการนำมาใช้ซ้ำ หรือหากขวดน้ำตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความร้อน หรือได้รับแสงแดดอาจทำให้สารเคมีจากขวดพลาสติกปนเปื้อนลงในน้ำที่อยู่ในขวดได้
นพ.พรเทพ กล่าวว่า กรณีที่จำเป็นต้องนำขวดพลาสติกเก่ามาใช้ก็ควรทำความสะอาดให้ทั่วถึง และต้องสังเกตลักษณะของขวด หากมีรอยชำรุด รั่ว แตกร้าว บุบ ก็ไม่ควรนำมาใช้ หรือหากเป็นขวดที่มีการปนเปื้อนดินก็ควรหลีกเลี่ยงในการนำมาใช้ซ้ำเช่นกัน และสำหรับพื้นที่ทุรกันดารที่ขาดแคลนน้ำสะอาด ก่อนนำมาดื่มควรต้มให้เดือดอย่างน้อย 5 นาที เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด ส่วนการนำน้ำจากแม้น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำผิวดินแหล่งอื่นๆ มาใช้โดยตรง ควรปรับปรุงคุณภาพน้ำ และฆ่าเชื้อโรคก่อน ด้วยการแกว่งสารส้มชนิดก้อนในน้ำ และให้สังเกตตะกอนในน้ำ หากเริ่มจับตัวให้นำสารส้มออกตั้งทิ้งไว้จนตกตะกอน แล้วนำเฉพาะน้ำใสมาฆ่าเชื้อโรคโดยใช้หยดทิพย์ อ.32 ของกรมอนามัย ซึ่งเป็นสารละลายคลอรีนชนิดเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วน 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร หรือเติมผงปูนคลอรีนตามปริมาณที่กำหนด จากนั้นปล่อยให้มีระยะเวลาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อย 30 นาที ก่อนนำไปใช้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำ
“ที่สำคัญควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนตักน้ำใส่ภาชนะบรรจุ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์จากมือที่ไม่สะอาด ทำให้ประชาชนได้บริโภคน้ำที่สะอาด ปลอดภัย เป็นการป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ ซึ่งจากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-12 กรกฎาคม 2558 พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 571,183 ราย เสียชีวิต 6 ราย ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 68,524 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค โดยนำขวดพลาสติกเปล่าที่ผ่านการใช้งานแล้วมาใส่น้ำไว้สำหรับดื่ม หรือใช้ในครัวเรือนนั้น บางครั้งไม่ได้ผ่านการทำความสะอาดที่ถูกวิธี โดยเฉพาะบริเวณปากขวด และฝาขวดที่เกิดจากการใช้ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ขวดน้ำกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่มักพบมากในน้ำบรรจุขวดพลาสติกที่มีการเติมน้ำซ้ำๆ กันหลายครั้ง ซึ่งผลจากการเก็บน้ำดื่มบรรจุขวดโดยกรมอนามัย ปี 2557 เพื่อตรวจสอบ จำนวน 500 ตัวอย่าง พบมีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 370 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 74 ประชาชนจึงควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะสารเคมีที่เป็นอันตรายจากพลาสติก เพราะการขัดถูเพื่อล้างทำความสะอาดขวดน้ำ อาจทำให้เกิดรอยขูดขีด หรือการบุบชำรุดของขวดที่เกิดจากการนำมาใช้ซ้ำ หรือหากขวดน้ำตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความร้อน หรือได้รับแสงแดดอาจทำให้สารเคมีจากขวดพลาสติกปนเปื้อนลงในน้ำที่อยู่ในขวดได้
นพ.พรเทพ กล่าวว่า กรณีที่จำเป็นต้องนำขวดพลาสติกเก่ามาใช้ก็ควรทำความสะอาดให้ทั่วถึง และต้องสังเกตลักษณะของขวด หากมีรอยชำรุด รั่ว แตกร้าว บุบ ก็ไม่ควรนำมาใช้ หรือหากเป็นขวดที่มีการปนเปื้อนดินก็ควรหลีกเลี่ยงในการนำมาใช้ซ้ำเช่นกัน และสำหรับพื้นที่ทุรกันดารที่ขาดแคลนน้ำสะอาด ก่อนนำมาดื่มควรต้มให้เดือดอย่างน้อย 5 นาที เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด ส่วนการนำน้ำจากแม้น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำผิวดินแหล่งอื่นๆ มาใช้โดยตรง ควรปรับปรุงคุณภาพน้ำ และฆ่าเชื้อโรคก่อน ด้วยการแกว่งสารส้มชนิดก้อนในน้ำ และให้สังเกตตะกอนในน้ำ หากเริ่มจับตัวให้นำสารส้มออกตั้งทิ้งไว้จนตกตะกอน แล้วนำเฉพาะน้ำใสมาฆ่าเชื้อโรคโดยใช้หยดทิพย์ อ.32 ของกรมอนามัย ซึ่งเป็นสารละลายคลอรีนชนิดเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วน 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร หรือเติมผงปูนคลอรีนตามปริมาณที่กำหนด จากนั้นปล่อยให้มีระยะเวลาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อย 30 นาที ก่อนนำไปใช้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำ
“ที่สำคัญควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนตักน้ำใส่ภาชนะบรรจุ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์จากมือที่ไม่สะอาด ทำให้ประชาชนได้บริโภคน้ำที่สะอาด ปลอดภัย เป็นการป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ ซึ่งจากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-12 กรกฎาคม 2558 พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 571,183 ราย เสียชีวิต 6 ราย ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 68,524 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่