พยาบาลเตรียมตบเท้าบุกทำเนียบ 7 ก.ค. ขอ “บิ๊กตู่” ให้ความเป็นธรรม ชี้ทำงานหนัก ค่าตอบแทนต่ำ เสี่ยงปัญหาสุขภาพอื้อ ทำพยาบาลจบใหม่ลาออกเพียบ ร้องขอสิทธิเทียบเท่าวิชาชีพอื่น
รศ.สมจิต แดนสีแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะนายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการหารือระหว่างสมาคมพยาบาลฯ สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย ฯลฯ โดยจะขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อร้องขอความเป็นธรรมให้พยาบาลวิชาชีพทุกคน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 160,000 คน เนื่องจากที่ผ่านมาต้องประกอบวิชาชีพอย่างหนัก แม้จะเต็มใจ แต่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเมื่อเทียบกับสายวิชาชีพสาธารณสุขอื่น ทั้งค่าตอบแทน ภาระงานที่มากเกินไป ปัญหาสุขภาพ และสวัสดิการ เป็นต้น ซึ่งจากการสำรวจโรงพยาบาล 4 แห่ง คือ รพ.อุดรธานี รพ.สกลนคร รพ.ชัยภูมิ และ รพ.นครพนม โดยสอบถามพยาบาลวิชาชีพแห่งละ 100 คน พบว่า ปัญหาหลักของพยาบาลคือ 1. ค่าตอบแทน โดยเฉพาะพยาบาลจบใหม่ถูกบรรจุเป็นลูกจ้าง มีการกำหนดเงินเดือน 12,300 บาท ซึ่งทุกโรงพยาบาลไม่สามารถจ้างราคาเกินนี้ได้ เพื่อป้องกันการไหล โดย รพ.อธิบายว่าเป็นค่าจ้างเท่าราคาที่รัฐบาลกำหนด ทำให้พยาบาลจบใหม่ลาออกในช่วงทำงานครบปีแรก 50% ปีที่ 2 เป็น 20%
รศ.สมจิต กล่าวว่า 2. ไม่มีการบรรจุพยาบาลจบใหม่ 3. ความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ทั้งสภาพแวดล้อม การถูกผู้ป่วยทำร้าย ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย อุบัติเหตุรถพยาบาลขณะนำส่งผู้ป่วยที่ไม่มีระบบควบคุมความเร็วรถ ไม่มีประกันอุบัติเหตุ ขณะที่พยาบาลใน รพ.สต. ก็เสี่ยงต่อการถูกทำร้าย เพราะทำงานลำพังในยามวิกาล อยู่ไกลชุมชน 4. ภาระงานที่มากเกินไป การคิดผลผลิตการทำงานของพยาบาลไม่เป็นธรรม ไม่ได้คิดตามความหนักของผู้ป่วยและไม่ได้คิดตามความเสี่ยงจากการทำงาน ยิ่งภาระงานพยาบาลที่จบใหม่ขึ้นเวรหนัก ช่วงเวลาพักผ่อนน้อย ขึ้นเวรเช้าต่อเวรดึกแล้วต้องมาขึ้นเวรบ่ายอีก หรือขึ้นเวรเช้าต่อเวรบ่ายติดต่อกัน 2 วัน จำนวนผู้ป่วยที่ต้องให้การดูแลต่อพยาบาล 1 คนสูงมาก แต่กลับได้ค่าตอบแทนไม่เป็นธรรม และ 5. ปัญหาสุขภาพจากการทำงาน อาทิ เสี่ยงติดเชื้อจากการทำงาน เช่น วัณโรค โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
“เหล่านี้เป็นตัวอย่างของปัญหาที่อยากให้ผู้บริหาร สธ.รับทราบ และขอความเห็นใจผู้บริหารประเทศแก้ปัญหา ซึ่งจริงๆพวกเราไม่ค่อยออกมาเรียกร้อง หรือพูดอะไรมาก แต่นี่คือความจริง ที่สำคัญที่ผ่านมาพวกเราเคยพบ รมว.สธ. มาหลายครั้งแล้ว ท่านก็รับทราบปัญหา แต่เราอยากทวงถามอีกครั้ง เพื่อขอความชัดเจนในการดำเนินการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม” รศ.สมจิต กล่าว
น.ส.มัลลิกา ลุนจักร ประธานสหภาพพยาบาลฯ กล่าวว่า วันที่ 7 ก.ค. พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับผลกระทบจะเดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมที่ไม่เคยได้รับ พวกเราไม่ได้ต้องการสร้างความวุ่นวาย แต่นี่คือสิ่งที่ต้องร้อง และอยากส่งเสียงให้ผู้บริหารประเทศได้รับรู้ปัญหาจริงๆ โดยคาดว่าจะเดินทางมาร่วมกว่าพันคน จากพยาบาลที่ประสบปัญหาทั้งสิ้นเป็นแสนคน ปัญหาหลักๆ คือ ทำงานเยอะไม่ว่า แต่กลับไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆ
ด้าน ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สธ. กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่มีปัญหาอะไร คาดว่า ส่วนที่ยังไม่ได้บรรจุน่าจะได้รับการบรรจุ ดังนั้น พยาบาลไม่น่าจะต้องเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลอีก เพราะผู้บริหารกำลังพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ อยู่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.สมจิต แดนสีแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะนายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการหารือระหว่างสมาคมพยาบาลฯ สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย ฯลฯ โดยจะขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อร้องขอความเป็นธรรมให้พยาบาลวิชาชีพทุกคน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 160,000 คน เนื่องจากที่ผ่านมาต้องประกอบวิชาชีพอย่างหนัก แม้จะเต็มใจ แต่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเมื่อเทียบกับสายวิชาชีพสาธารณสุขอื่น ทั้งค่าตอบแทน ภาระงานที่มากเกินไป ปัญหาสุขภาพ และสวัสดิการ เป็นต้น ซึ่งจากการสำรวจโรงพยาบาล 4 แห่ง คือ รพ.อุดรธานี รพ.สกลนคร รพ.ชัยภูมิ และ รพ.นครพนม โดยสอบถามพยาบาลวิชาชีพแห่งละ 100 คน พบว่า ปัญหาหลักของพยาบาลคือ 1. ค่าตอบแทน โดยเฉพาะพยาบาลจบใหม่ถูกบรรจุเป็นลูกจ้าง มีการกำหนดเงินเดือน 12,300 บาท ซึ่งทุกโรงพยาบาลไม่สามารถจ้างราคาเกินนี้ได้ เพื่อป้องกันการไหล โดย รพ.อธิบายว่าเป็นค่าจ้างเท่าราคาที่รัฐบาลกำหนด ทำให้พยาบาลจบใหม่ลาออกในช่วงทำงานครบปีแรก 50% ปีที่ 2 เป็น 20%
รศ.สมจิต กล่าวว่า 2. ไม่มีการบรรจุพยาบาลจบใหม่ 3. ความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ทั้งสภาพแวดล้อม การถูกผู้ป่วยทำร้าย ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย อุบัติเหตุรถพยาบาลขณะนำส่งผู้ป่วยที่ไม่มีระบบควบคุมความเร็วรถ ไม่มีประกันอุบัติเหตุ ขณะที่พยาบาลใน รพ.สต. ก็เสี่ยงต่อการถูกทำร้าย เพราะทำงานลำพังในยามวิกาล อยู่ไกลชุมชน 4. ภาระงานที่มากเกินไป การคิดผลผลิตการทำงานของพยาบาลไม่เป็นธรรม ไม่ได้คิดตามความหนักของผู้ป่วยและไม่ได้คิดตามความเสี่ยงจากการทำงาน ยิ่งภาระงานพยาบาลที่จบใหม่ขึ้นเวรหนัก ช่วงเวลาพักผ่อนน้อย ขึ้นเวรเช้าต่อเวรดึกแล้วต้องมาขึ้นเวรบ่ายอีก หรือขึ้นเวรเช้าต่อเวรบ่ายติดต่อกัน 2 วัน จำนวนผู้ป่วยที่ต้องให้การดูแลต่อพยาบาล 1 คนสูงมาก แต่กลับได้ค่าตอบแทนไม่เป็นธรรม และ 5. ปัญหาสุขภาพจากการทำงาน อาทิ เสี่ยงติดเชื้อจากการทำงาน เช่น วัณโรค โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
“เหล่านี้เป็นตัวอย่างของปัญหาที่อยากให้ผู้บริหาร สธ.รับทราบ และขอความเห็นใจผู้บริหารประเทศแก้ปัญหา ซึ่งจริงๆพวกเราไม่ค่อยออกมาเรียกร้อง หรือพูดอะไรมาก แต่นี่คือความจริง ที่สำคัญที่ผ่านมาพวกเราเคยพบ รมว.สธ. มาหลายครั้งแล้ว ท่านก็รับทราบปัญหา แต่เราอยากทวงถามอีกครั้ง เพื่อขอความชัดเจนในการดำเนินการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม” รศ.สมจิต กล่าว
น.ส.มัลลิกา ลุนจักร ประธานสหภาพพยาบาลฯ กล่าวว่า วันที่ 7 ก.ค. พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับผลกระทบจะเดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมที่ไม่เคยได้รับ พวกเราไม่ได้ต้องการสร้างความวุ่นวาย แต่นี่คือสิ่งที่ต้องร้อง และอยากส่งเสียงให้ผู้บริหารประเทศได้รับรู้ปัญหาจริงๆ โดยคาดว่าจะเดินทางมาร่วมกว่าพันคน จากพยาบาลที่ประสบปัญหาทั้งสิ้นเป็นแสนคน ปัญหาหลักๆ คือ ทำงานเยอะไม่ว่า แต่กลับไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆ
ด้าน ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สธ. กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่มีปัญหาอะไร คาดว่า ส่วนที่ยังไม่ได้บรรจุน่าจะได้รับการบรรจุ ดังนั้น พยาบาลไม่น่าจะต้องเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลอีก เพราะผู้บริหารกำลังพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ อยู่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่