บอร์ด สกศ. ไฟเขียวแผนการศึกษาชาติ “ณรงค์” ย้ำต้องเป็นแผนเพื่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการประชุมสภาการศึกษา (สกศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบการดำเนินงานจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2574) ระยะ 15 ปี เนื่องจากแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ใช้ในปัจจุบันจะสิ้นสุดระยะเวลาของแผนในปี 2559 นี้ โดยในร่างกรอบการดำเนินงานดังกล่าว ได้แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2558 ดำเนินการรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิจัย วิเคราะห์ และสังเคราะห์สถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และความท้าทายที่มีผลกระทบต่อการศึกษา รวมทั้งปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอการปฏิรูปของฝ่ายต่างๆ เช่น สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ในการยกร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ
ส่วนระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2559 จะมีการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับร่าง แผนการศึกษาแห่งชาติ จากนั้นนำข้อเสนอต่างๆ มาปรับปรุง ซึ่งเมื่อได้ตัวร่างแผนการศึกษาแห่งชาติที่สมบูรณ์แล้ว จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศใช้ในปี 2560 ต่อไป อย่างไรก็ตาม การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่นี้ ต้องเป็นแผนการศึกษาตลอดชีวิต ไม่ใช่แผนการศึกษาเฉพาะในระบบเท่านั้น ซึ่งเมื่อทำแผนระยะ 15 ปีเสร็จสิ้นแล้ว ต้องมีการจัดทำแผนย่อยเป็นรายปีด้วยว่าจะทำอะไรบ้าง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ใช้คนเป็นศูนย์กลางและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ต้องพัฒนาการศึกษาสู่วิสัยทัศน์ประเทศไทยปี 2575
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการประชุมสภาการศึกษา (สกศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบการดำเนินงานจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2574) ระยะ 15 ปี เนื่องจากแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ใช้ในปัจจุบันจะสิ้นสุดระยะเวลาของแผนในปี 2559 นี้ โดยในร่างกรอบการดำเนินงานดังกล่าว ได้แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2558 ดำเนินการรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิจัย วิเคราะห์ และสังเคราะห์สถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และความท้าทายที่มีผลกระทบต่อการศึกษา รวมทั้งปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอการปฏิรูปของฝ่ายต่างๆ เช่น สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ในการยกร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ
ส่วนระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2559 จะมีการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับร่าง แผนการศึกษาแห่งชาติ จากนั้นนำข้อเสนอต่างๆ มาปรับปรุง ซึ่งเมื่อได้ตัวร่างแผนการศึกษาแห่งชาติที่สมบูรณ์แล้ว จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศใช้ในปี 2560 ต่อไป อย่างไรก็ตาม การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่นี้ ต้องเป็นแผนการศึกษาตลอดชีวิต ไม่ใช่แผนการศึกษาเฉพาะในระบบเท่านั้น ซึ่งเมื่อทำแผนระยะ 15 ปีเสร็จสิ้นแล้ว ต้องมีการจัดทำแผนย่อยเป็นรายปีด้วยว่าจะทำอะไรบ้าง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ใช้คนเป็นศูนย์กลางและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ต้องพัฒนาการศึกษาสู่วิสัยทัศน์ประเทศไทยปี 2575
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่