อายุ 40 ปีขึ้นไป ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เสี่ยงมะเร็งช่องปาก ทำออรัลเซ็กซ์ มีสิทธิเป็นด้วย กรมอนามัยเร่งคัดกรองรอยโรคในชุมชน ค้นหากลุ่มเสี่ยงป่วยมะเร็งระยะแรก นำร่อง 5 อำเภอ 55,000 ราย ชี้พบเร็วรักษาได้ โอกาสรอดชีวิตสูง
วันนี้ (12 มิ.ย.) ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามความตกลงร่วมกันในการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากเชิงรุกในชุมชน ระหว่างกรมอนามัย แผนงานวิชาชีพทันตแพทย์ในการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด และโรงพยาบาลต่างๆ ในจ.ร้อยเอ็ด ว่า ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติปี 2556 มะเร็งช่องปากพบมากเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งในไทย และจากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มะเร็งช่องปากและคอหอย เป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 4 ของผู้ป่วยมะเร็งเพศชาย โดยกลุ่มเสี่ยงของโรคมะเร็งช่องปากคือ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า กินหมาก การติดเชื้อ HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก การอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน การมีภาวะทุพโภชนาการ กินผักและผลไม้น้อย อนามัยช่องปากไม่ดี และครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง ผลรายงานโรงพยาบาลสังกัด สธ. พบว่าผู้ป่วยมะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่ลิ้นมากที่สุด ส่วนใหญ่พบที่ด้านข้างลิ้น โคนลิ้น ใต้ลิ้น รองลงมาคือพื้นช่องปากที่อยู่ใต้ลิ้นเพดานปาก เหงือก กระพุ้งแก้ม และที่พบน้อยสุดคือต่อมน้ำลาย หากพบตั้งแต่ระยะแรกจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตสูง
ทพ.สุธา กล่าวว่า กรมอนามัยได้ร่วมกับแผนงานวิชาชีพทันตแพทย์ในการดำเนินการควบคุมยาสูบ และจังหวัดร้อยเอ็ด จัดโครงการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากเชิงรุกในชุมชน เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งช่องปากในระยะแรกให้แก่ประชาชนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 55,000 คน นำร่องในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอโพนทอง อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภอหนองพอก และอำเภอพนมไพร เพื่อตรวจหารอยโรคขั้นต้นของมะเร็งช่องปาก ได้แก่ รอยโรคสีแดง รอยโรคสีขาว แผลเรื้อรัง ก้อนหรือไตแข็ง ที่ไม่หายภายใน2-3 สัปดาห์ บริเวณที่ตรวจคือ ริมฝีปาก ลิ้น โดยเฉพาะด้านข้างลิ้น พื้นช่องปากใต้ลิ้น เพดานปาก กระพุ้งแก้ม และเหงือก นอกจากนี้ ยังอาจสังเกตอาการอื่นๆ ได้แก่ กลืนลำบาก อาการแสบร้อนในปากโดยที่ไม่ได้เป็นแผลร้อนใน อาการชาในปาก ฟันปลอมที่เคยใส่ได้พอดีกลับใส่ไม่ได้ เสียงแหบ หากมีอาการเหล่านี้ให้ไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจเพิ่มเติมให้ละเอียด
“ก่อนการดำเนินงานโครงการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากเชิงรุกในชุมชนนั้นทันตแพทย์ ทันตาภิบาล และอสม. จะได้รับการพัฒนาศักยภาพในการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก การให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย การแนะนำผู้ป่วยให้เลิกพฤติกรรมเสี่ยงของมะเร็งช่องปาก ทำการพัฒนารูปแบบระบบส่งต่อผู้ป่วยภายในจังหวัด และการรณรงค์สร้างกระแสให้ประชาชนไปรับการคัดกรอง ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของมะเร็งช่องปาก ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากปีละครั้ง” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (12 มิ.ย.) ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามความตกลงร่วมกันในการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากเชิงรุกในชุมชน ระหว่างกรมอนามัย แผนงานวิชาชีพทันตแพทย์ในการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด และโรงพยาบาลต่างๆ ในจ.ร้อยเอ็ด ว่า ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติปี 2556 มะเร็งช่องปากพบมากเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งในไทย และจากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มะเร็งช่องปากและคอหอย เป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 4 ของผู้ป่วยมะเร็งเพศชาย โดยกลุ่มเสี่ยงของโรคมะเร็งช่องปากคือ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า กินหมาก การติดเชื้อ HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก การอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน การมีภาวะทุพโภชนาการ กินผักและผลไม้น้อย อนามัยช่องปากไม่ดี และครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง ผลรายงานโรงพยาบาลสังกัด สธ. พบว่าผู้ป่วยมะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่ลิ้นมากที่สุด ส่วนใหญ่พบที่ด้านข้างลิ้น โคนลิ้น ใต้ลิ้น รองลงมาคือพื้นช่องปากที่อยู่ใต้ลิ้นเพดานปาก เหงือก กระพุ้งแก้ม และที่พบน้อยสุดคือต่อมน้ำลาย หากพบตั้งแต่ระยะแรกจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตสูง
ทพ.สุธา กล่าวว่า กรมอนามัยได้ร่วมกับแผนงานวิชาชีพทันตแพทย์ในการดำเนินการควบคุมยาสูบ และจังหวัดร้อยเอ็ด จัดโครงการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากเชิงรุกในชุมชน เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งช่องปากในระยะแรกให้แก่ประชาชนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 55,000 คน นำร่องในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอโพนทอง อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภอหนองพอก และอำเภอพนมไพร เพื่อตรวจหารอยโรคขั้นต้นของมะเร็งช่องปาก ได้แก่ รอยโรคสีแดง รอยโรคสีขาว แผลเรื้อรัง ก้อนหรือไตแข็ง ที่ไม่หายภายใน2-3 สัปดาห์ บริเวณที่ตรวจคือ ริมฝีปาก ลิ้น โดยเฉพาะด้านข้างลิ้น พื้นช่องปากใต้ลิ้น เพดานปาก กระพุ้งแก้ม และเหงือก นอกจากนี้ ยังอาจสังเกตอาการอื่นๆ ได้แก่ กลืนลำบาก อาการแสบร้อนในปากโดยที่ไม่ได้เป็นแผลร้อนใน อาการชาในปาก ฟันปลอมที่เคยใส่ได้พอดีกลับใส่ไม่ได้ เสียงแหบ หากมีอาการเหล่านี้ให้ไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจเพิ่มเติมให้ละเอียด
“ก่อนการดำเนินงานโครงการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากเชิงรุกในชุมชนนั้นทันตแพทย์ ทันตาภิบาล และอสม. จะได้รับการพัฒนาศักยภาพในการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก การให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย การแนะนำผู้ป่วยให้เลิกพฤติกรรมเสี่ยงของมะเร็งช่องปาก ทำการพัฒนารูปแบบระบบส่งต่อผู้ป่วยภายในจังหวัด และการรณรงค์สร้างกระแสให้ประชาชนไปรับการคัดกรอง ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของมะเร็งช่องปาก ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากปีละครั้ง” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่