กรมอนามัยจัดกิจกรรม NoNo ช่วยเด็กกล้าปฏิเสธสูบบุหรี่ เหตุเป็นกลุ่มเสี่ยงถูกชักจูงเป็นนักสูบหน้าใหม่ง่าย แถมเลิกยาก อึ้ง! แค่เด็กประถม มีเพื่อนสูบบุหรี่ 22% พบ 1% คิดลองสูบถ้าเพื่อนชวน
วันนี้ (20 พ.ค.) ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย แถลงข่าวโครงการรณรงค์สัญลักษณ์กระต่ายขาเดียว ป้องกันนักสูบหน้าใหม่โดยทันตบุคลากร ว่า ได้จัดกิจกรรมรณรงค์สัญลักษณ์โนโน่ (NoNo) กระต่ายขาเดียว ให้นักเรียนชั้น ป.5 ทั่วประเทศ ฝึกเขียนข้อความปฏิเสธบุหรี่ เพื่อให้เด็กกล้าปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ และสามารถพัฒนาทักษะจนสามารถป้องกันตนเองได้ ซึ่งการป้องกันไม่ให้เด็กสูบบุหรี่ควรเริ่มในเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี โดยใช้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้น เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กให้ไปทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น กีฬา โดยกิจกรรมครั้งนี้ได้มีการจับสลากมอบทุนการศึกษา 100 ทุน ทุนละ 2,000 บาท แก่เด็กนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมเขียนข้อความปฏิเสธบุหรี่ 50,000 คน จาก 56 จังหวัด ทั้งนี้ วัยเด็กเป็นวัยที่น่าห่วงในการถูกชักจูงเป็นนักสูบหน้าใหม่ เพราะจากการสำรวจเด็กประถมฯอายุ 8 - 12 ปี ในปี 2557 จำนวน 3,532 คน พบร้อยละ 22 มีเพื่อนที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 1.5 คิดว่าจะลองสูบบุหรี่ถ้าเพื่อนชวน ร้อยละ 7.6 เคยลองสูบบุหรี่แล้ว และร้อยละ 40 เคยถูกผู้ใหญ่ใช้ไปซื้อบุหรี่ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่แสดงว่าครอบครัว คนใกล้ชิด เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่ของเยาวชนมากที่สุด
ด้าน ศ.(พิเศษ) พล.ท.พิศาล เทพสิทธา นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า บุหรี่ทุกรูปแบบเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและช่องปาก เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก โรคปริทันต์ ทำให้สูญเสียฟันเร็ว ช่องปากสกปรก ฟันเปลี่ยนสี เกิดกลิ่นปาก ความสามารถในการรับกลิ่นและรสลดลง ขัดขวางการรักษาทางทันตกรรม ทันตแพทยสมาคมฯ ได้ส่งเสริมให้ทันตแพทย์ทุกคนมีบทบาทในการควบคุมและป้องกันการสูบบุหรี่ โดยชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในช่องปากที่เกิดจากการสูบบุหรี่ และรอยโรคที่อาจกลายเป็นมะเร็ง แนะนำโปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่ควบคู่ไปกับการให้บริการทันตกรรม แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือความตั้งใจของผู้ป่วยเอง ซึ่งวันที่ 31 พ.ค. ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ถือเป็นวันดีที่ผู้สูบบุหรี่จะเริ่มต้นเลิกสูบบุหรี่
ทพ.ณัฐวุธ แก้วสุทธา รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า อัตราการสูบบุหรี่ของชายไทยยังสูงถึงร้อยละ 40 และจำนวนผู้สูบบุหรี่มีถึง 11 ล้านคน บุหรี่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันดับที่สองของคนไทย เด็กไทยอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่แล้ว 4 แสนคน แต่ละปีมีเยาวชนติดบุหรี่ใหม่ 100,000 คน การเริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่เด็กจะทำให้สมองเด็กถูกกระตุ้น เสพติดง่ายและเลิกไม่ได้ จากสถิติพบว่าเด็กไทย 10 คนที่ติดบุหรี่ 7 คนจะเลิกไม่ได้จนตลอดชีวิต การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเด็กจึงเป็นมาตรการที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ สำหรับประเทศไทยควรเร่งออก พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่มาใช้ เพื่อให้ทันสถานการณ์ปัจจุบันต่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 พ.ค.) ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย แถลงข่าวโครงการรณรงค์สัญลักษณ์กระต่ายขาเดียว ป้องกันนักสูบหน้าใหม่โดยทันตบุคลากร ว่า ได้จัดกิจกรรมรณรงค์สัญลักษณ์โนโน่ (NoNo) กระต่ายขาเดียว ให้นักเรียนชั้น ป.5 ทั่วประเทศ ฝึกเขียนข้อความปฏิเสธบุหรี่ เพื่อให้เด็กกล้าปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ และสามารถพัฒนาทักษะจนสามารถป้องกันตนเองได้ ซึ่งการป้องกันไม่ให้เด็กสูบบุหรี่ควรเริ่มในเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี โดยใช้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้น เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กให้ไปทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น กีฬา โดยกิจกรรมครั้งนี้ได้มีการจับสลากมอบทุนการศึกษา 100 ทุน ทุนละ 2,000 บาท แก่เด็กนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมเขียนข้อความปฏิเสธบุหรี่ 50,000 คน จาก 56 จังหวัด ทั้งนี้ วัยเด็กเป็นวัยที่น่าห่วงในการถูกชักจูงเป็นนักสูบหน้าใหม่ เพราะจากการสำรวจเด็กประถมฯอายุ 8 - 12 ปี ในปี 2557 จำนวน 3,532 คน พบร้อยละ 22 มีเพื่อนที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 1.5 คิดว่าจะลองสูบบุหรี่ถ้าเพื่อนชวน ร้อยละ 7.6 เคยลองสูบบุหรี่แล้ว และร้อยละ 40 เคยถูกผู้ใหญ่ใช้ไปซื้อบุหรี่ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่แสดงว่าครอบครัว คนใกล้ชิด เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่ของเยาวชนมากที่สุด
ด้าน ศ.(พิเศษ) พล.ท.พิศาล เทพสิทธา นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า บุหรี่ทุกรูปแบบเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและช่องปาก เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก โรคปริทันต์ ทำให้สูญเสียฟันเร็ว ช่องปากสกปรก ฟันเปลี่ยนสี เกิดกลิ่นปาก ความสามารถในการรับกลิ่นและรสลดลง ขัดขวางการรักษาทางทันตกรรม ทันตแพทยสมาคมฯ ได้ส่งเสริมให้ทันตแพทย์ทุกคนมีบทบาทในการควบคุมและป้องกันการสูบบุหรี่ โดยชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในช่องปากที่เกิดจากการสูบบุหรี่ และรอยโรคที่อาจกลายเป็นมะเร็ง แนะนำโปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่ควบคู่ไปกับการให้บริการทันตกรรม แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือความตั้งใจของผู้ป่วยเอง ซึ่งวันที่ 31 พ.ค. ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ถือเป็นวันดีที่ผู้สูบบุหรี่จะเริ่มต้นเลิกสูบบุหรี่
ทพ.ณัฐวุธ แก้วสุทธา รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า อัตราการสูบบุหรี่ของชายไทยยังสูงถึงร้อยละ 40 และจำนวนผู้สูบบุหรี่มีถึง 11 ล้านคน บุหรี่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันดับที่สองของคนไทย เด็กไทยอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่แล้ว 4 แสนคน แต่ละปีมีเยาวชนติดบุหรี่ใหม่ 100,000 คน การเริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่เด็กจะทำให้สมองเด็กถูกกระตุ้น เสพติดง่ายและเลิกไม่ได้ จากสถิติพบว่าเด็กไทย 10 คนที่ติดบุหรี่ 7 คนจะเลิกไม่ได้จนตลอดชีวิต การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเด็กจึงเป็นมาตรการที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ สำหรับประเทศไทยควรเร่งออก พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่มาใช้ เพื่อให้ทันสถานการณ์ปัจจุบันต่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่