อนุกรรมการปฏิรูปฯ เสนอศึกษาวิจัยการผ่อนคลายหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานที่ใช้อยู่ ก่อนประกาศใช้ ชูปรับโครงสร้างเวลาเรียนให้ยืดหยุ่นตามความจำเป็น
วันนี้ (26 พ.ค.) นางสิริกร มณีรินทร์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ ว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า แผนการศึกษาและแผนพัฒนาประเทศชาติขาดทิศทาง ขาดความต่อเนื่อง และขาดความเชื่อมโยง นอกจากนี้ ยังขาดผู้เอาใจใส่คุณภาพทางวิชาการที่ชั้นเรียนในทุกระดับ ที่ประชุมจึงยืนยันว่าควรฟื้นหน่วยงานกลางที่มีลักษณะเป็นกรมวิชาการที่ทันสมัย ทำหน้าที่วิจัย และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่ครบวงจรอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมาจะเน้นการทำเอกสารหลักสูตร มากกว่าการกำกับติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนว่าได้ตามที่คาดหวังหรือไม่
นางสิริกร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้เสนอให้มีการศึกษาวิจัย เรื่องแนวทางการผ่อนคลายหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่การประกาศแนวทางการผ่อนคลายหลักสูตรฯ ต่อไป เพราะถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้ได้ไม่เต็มที่ในห้องเรียน โดยขอให้ผ่อนปรนโครงสร้างเวลาเรียน เพื่อให้การกำหนดจำนวนชั่วโมงสอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ของแต่ละระดับชั้น มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และผ่อนปรนการบังคับให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องวัด และประเมินผลผู้เรียนทุกตัวชี้วัด ซึ่งปัจจุบันตัวชี้วัดในภาพรวมมีกว่า 1,000 ตัว ทำให้สถานศึกษาบางแห่ง เช่น โรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ไม่สามารถสอนได้ตามบริบท หรือสอนตามลักษณะของผู้เรียนได้ อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ จะนำข้อเสนอดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อพิจารณาต่อไปทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรฯ แต่อยากให้โรงเรียนเป็นผู้บริหารจัดการเรื่องเวลาเรียนของแต่ละวิชาเอง ไม่ต้องบังคับ เพราะในระดับนี้วิชาหลักมีความจำเป็นมากกว่าที่จะต้องมาเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 พ.ค.) นางสิริกร มณีรินทร์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ ว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า แผนการศึกษาและแผนพัฒนาประเทศชาติขาดทิศทาง ขาดความต่อเนื่อง และขาดความเชื่อมโยง นอกจากนี้ ยังขาดผู้เอาใจใส่คุณภาพทางวิชาการที่ชั้นเรียนในทุกระดับ ที่ประชุมจึงยืนยันว่าควรฟื้นหน่วยงานกลางที่มีลักษณะเป็นกรมวิชาการที่ทันสมัย ทำหน้าที่วิจัย และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่ครบวงจรอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมาจะเน้นการทำเอกสารหลักสูตร มากกว่าการกำกับติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนว่าได้ตามที่คาดหวังหรือไม่
นางสิริกร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้เสนอให้มีการศึกษาวิจัย เรื่องแนวทางการผ่อนคลายหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่การประกาศแนวทางการผ่อนคลายหลักสูตรฯ ต่อไป เพราะถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้ได้ไม่เต็มที่ในห้องเรียน โดยขอให้ผ่อนปรนโครงสร้างเวลาเรียน เพื่อให้การกำหนดจำนวนชั่วโมงสอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ของแต่ละระดับชั้น มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และผ่อนปรนการบังคับให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องวัด และประเมินผลผู้เรียนทุกตัวชี้วัด ซึ่งปัจจุบันตัวชี้วัดในภาพรวมมีกว่า 1,000 ตัว ทำให้สถานศึกษาบางแห่ง เช่น โรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ไม่สามารถสอนได้ตามบริบท หรือสอนตามลักษณะของผู้เรียนได้ อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ จะนำข้อเสนอดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อพิจารณาต่อไปทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรฯ แต่อยากให้โรงเรียนเป็นผู้บริหารจัดการเรื่องเวลาเรียนของแต่ละวิชาเอง ไม่ต้องบังคับ เพราะในระดับนี้วิชาหลักมีความจำเป็นมากกว่าที่จะต้องมาเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่