ผอ.สถาบันโภชนาการ ซัดข้อมูลมั่ว ห้ามกินผลไม้บางชนิดคู่กันทำให้เกิดโรค ชี้ ไม่มีผลการศึกษาใดรองรับ ย้ำผลไม้ต้องกินให้หลากหลายจึงจะดี ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง แต่ห่วงคนไทยยังกินผักผลไม้น้อย
รศ.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล กล่าวถึงกรณีการส่งต่อข้อมูลทางสื่อออนไลน์ ว่า การกินผลไม้บางอย่างคู่กันจะก่อให้เกิดโรค เช่น กินกีวีคู่แอปเปิล ทำให้เกิดโรคหัวใจ หรือ กินมะม่วงดิบคู่กล้วย ทำให้เกิดโรคตับแข็ง ว่า เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง และไม่เคยมีการศึกษาใดๆ ที่พบว่าการกินผลไม้คู่กันเช่นนั้นจะเกิดโทษ การกินผลไม้มีแต่เพียงข้อควรระวังเรื่องน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ ตามหลักโภชนาการแนะนำให้กินผลไม้อย่างหลากหลาย การกินผลไม้หลายๆ ชนิดจึงเป็นเรื่องดีและนแนะนำ นอกจากนี้ ยังไม่มีการศึกษาใดที่ห้ามการกินผลไม้บางชนิดพร้อมกัน ซึ่งอาจจะมีปัญหาบ้างที่ระบบการย่อยในบางคน จะไม่รับผลไม้บางประเภทแล้ว ทำให้เกิดการย่อยยาก เช่น บางคนทานมะม่วงแล้วท้องอืด เพราะไม่สามารถย่อยแป้งได้ หรือ บางคนทานแอปเปิล แล้วเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารบ้าง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นเฉพาะบางคนเท่านั้น และไม่ได้ถือว่าเป็นโทษร้ายแรงแต่อย่างใด
“ส่วนมากสารโปรไบโอติกที่อยู่ในผลไม้จะช่วยระบบย่อยได้ดีมากกว่าเกิดโทษ ซึ่งในผลไม้ชนิดเดียวกันในช่วงการสุกที่ไม่เท่ากันก็ยังมีประโยชน์ที่แตกต่างกันด้วย อย่างไรก็ตาม การกินผลไม้อาจมีข้อควรระวังเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ต้องระวังเรื่องน้ำตาลเล็กน้อยเท่านั้น แต่โดยรวมผลไม้ถือว่ามีประโยชน์มาก ปัจจุบันปริมาณที่ควรรับประทานผักผลไม้ต่อวันอยู่ที่ 400 กรัม แต่พบว่าคนไทยยังกินเพียงแค่ 100 กรัมเท่านั้น ซึ่งในผลไม้มีทั้งน้ำตาลดี วิตามิน แร่ธาตุ โดยเฉพาะใยอาหาร ซึ่งพบว่ามีสูงกว่าในผักด้วยซ้ำ และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็ง” รศ.วิสิฐ กล่าว
รศ.วิสิฐ กล่าวว่า การกินผลไม้ถือเป็นสิ่งที่จะช่วยป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้เป็นอย่างดี เพราะพบว่าคนไทยยังบริโภคโพแทสเซียมไม่เพียงพอ จากปริมาณที่ควรได้รับต่อวันอยู่ที่ 3,500 - 4,000 มิลลิกรัม แต่คนไทยยังได้รับอยู่ที่ 1,000 - 2,000 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น ซึ่งพบว่าโพแทสเซียมจะมีอยู่ในผลไม้สูง โดยโพแทสเซียมจะช่วยลดความดันโลหิตและป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้เป็นอย่างดี ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องระวังเรื่องน้ำตาล ก็ยังมีข้อถกเถียงว่า การได้รับน้ำตาลจากผลไม้ อย่างไรก็ดีกว่าการได้รับจากน้ำตาลจากเครื่องดื่ม หรือ อาหารอยู่ดี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล กล่าวถึงกรณีการส่งต่อข้อมูลทางสื่อออนไลน์ ว่า การกินผลไม้บางอย่างคู่กันจะก่อให้เกิดโรค เช่น กินกีวีคู่แอปเปิล ทำให้เกิดโรคหัวใจ หรือ กินมะม่วงดิบคู่กล้วย ทำให้เกิดโรคตับแข็ง ว่า เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง และไม่เคยมีการศึกษาใดๆ ที่พบว่าการกินผลไม้คู่กันเช่นนั้นจะเกิดโทษ การกินผลไม้มีแต่เพียงข้อควรระวังเรื่องน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ ตามหลักโภชนาการแนะนำให้กินผลไม้อย่างหลากหลาย การกินผลไม้หลายๆ ชนิดจึงเป็นเรื่องดีและนแนะนำ นอกจากนี้ ยังไม่มีการศึกษาใดที่ห้ามการกินผลไม้บางชนิดพร้อมกัน ซึ่งอาจจะมีปัญหาบ้างที่ระบบการย่อยในบางคน จะไม่รับผลไม้บางประเภทแล้ว ทำให้เกิดการย่อยยาก เช่น บางคนทานมะม่วงแล้วท้องอืด เพราะไม่สามารถย่อยแป้งได้ หรือ บางคนทานแอปเปิล แล้วเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารบ้าง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นเฉพาะบางคนเท่านั้น และไม่ได้ถือว่าเป็นโทษร้ายแรงแต่อย่างใด
“ส่วนมากสารโปรไบโอติกที่อยู่ในผลไม้จะช่วยระบบย่อยได้ดีมากกว่าเกิดโทษ ซึ่งในผลไม้ชนิดเดียวกันในช่วงการสุกที่ไม่เท่ากันก็ยังมีประโยชน์ที่แตกต่างกันด้วย อย่างไรก็ตาม การกินผลไม้อาจมีข้อควรระวังเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ต้องระวังเรื่องน้ำตาลเล็กน้อยเท่านั้น แต่โดยรวมผลไม้ถือว่ามีประโยชน์มาก ปัจจุบันปริมาณที่ควรรับประทานผักผลไม้ต่อวันอยู่ที่ 400 กรัม แต่พบว่าคนไทยยังกินเพียงแค่ 100 กรัมเท่านั้น ซึ่งในผลไม้มีทั้งน้ำตาลดี วิตามิน แร่ธาตุ โดยเฉพาะใยอาหาร ซึ่งพบว่ามีสูงกว่าในผักด้วยซ้ำ และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็ง” รศ.วิสิฐ กล่าว
รศ.วิสิฐ กล่าวว่า การกินผลไม้ถือเป็นสิ่งที่จะช่วยป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้เป็นอย่างดี เพราะพบว่าคนไทยยังบริโภคโพแทสเซียมไม่เพียงพอ จากปริมาณที่ควรได้รับต่อวันอยู่ที่ 3,500 - 4,000 มิลลิกรัม แต่คนไทยยังได้รับอยู่ที่ 1,000 - 2,000 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น ซึ่งพบว่าโพแทสเซียมจะมีอยู่ในผลไม้สูง โดยโพแทสเซียมจะช่วยลดความดันโลหิตและป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้เป็นอย่างดี ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องระวังเรื่องน้ำตาล ก็ยังมีข้อถกเถียงว่า การได้รับน้ำตาลจากผลไม้ อย่างไรก็ดีกว่าการได้รับจากน้ำตาลจากเครื่องดื่ม หรือ อาหารอยู่ดี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่