สุดเจ๋ง! โครงการนำร่องป้องกันโรคไตเรื้อรัง รพ.คลองขลุง ดูแลผู้ป่วยไตระยะ 3 - 4 แบบสหวิชาชีพ ให้ความรู้การใช้ยา คุมความดัน - โซเดียม ออกกำลังกาย มีเครือข่ายเยี่ยมบ้าน ช่วยชะลอไตเสื่อม ยืดเวลาป่วยระยะ 5 ต้องล้างไตจาก 7 ปี เป็น 14 ปี ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษา
วันนี้ (11 พ.ค.) ที่ รพ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังประชุมติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนารูปแบบลดโรคไตเรื้อรัง ว่า โครงการนำร่องเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรัง ที่ อ.คลองขลุง จัดโดยสถาบันไตภูมิราชนครินทร์ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยจัดตั้งคลินิกโรคไตเรื้อรังแบบบูรณาการที่ รพ.คลองขลุง หลังจากการคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 3 และ 4 ทั้งสิ้น 232 คน และให้การดูแลโดยทีมสหวิชาชีพ ให้ความรู้ผู้ป่วยทั้งการใช้ยา การควบคุมระดับความดัน การออกกำลังกาย การควบคุมปริมาณโซเดียมและโปรตีน มีเครือข่ายเยี่ยมบ้าน อย่างต่อเนื่อง 2 ปี พบว่า ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีทักษะในการจัดการตัวเองได้อย่างเหมาะสม และอัตราการเสื่อมของไตมีแนวโน้มชะลอลง เมื่อเทียบกับการรักษาแบบมาตรฐาน โดยสามารถยืดเวลาล้างไตจาก 7 ปี ออกไปเป็น 14 ปี
“จากข้อมูลปี 2552 ของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังถึง 8 ล้านราย โดยเป็นผู้ป่วยระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายต้องรักษาด้วยการฟอกเลือด ล้างไตทางช่องท้อง และผ่าตัดปลูกถ่ายไต รวม 40,845 รายและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงถึงรายละ 250,000 บาทต่อปี คิดเป็นจำนวนมากกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท ดังนั้น การดูแลในคลินิกโรคไตเรื้อรังแบบบูรณาการ จะสามารถชะลอการเสื่อมของไตและลดจำนวนผู้ป่วยที่จะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต จะช่วยให้ประชาชนชาวไทยห่างไกลความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยและประหยัดงบประมาณของประเทศชาติอย่างมหาศาล” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวว่า วิธีการสังเกตหรือสัญญาณอันตรายที่บอกว่าอาจเป็นโรคไต เช่น ปัสสาวะขัด หรือ ปัสสาวะสีเข้มแบบสีน้ำล้างเนื้อ ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ มีอาการบวมหน้า บวมเท้า ปวดหลัง ปวดเอว และมีความดันโลหิตสูง ซึ่งวิธีที่ดีที่สุด คือ การตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะรวมการตรวจสุขภาพไต ถ้ามีความผิดปกติ แพทย์จะแนะนำให้ท่านรับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยัน ที่สำคัญต้องใส่ใจดูแลสุขภาพตนเอง รับประทานอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้พอเพียง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (11 พ.ค.) ที่ รพ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังประชุมติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนารูปแบบลดโรคไตเรื้อรัง ว่า โครงการนำร่องเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรัง ที่ อ.คลองขลุง จัดโดยสถาบันไตภูมิราชนครินทร์ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยจัดตั้งคลินิกโรคไตเรื้อรังแบบบูรณาการที่ รพ.คลองขลุง หลังจากการคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 3 และ 4 ทั้งสิ้น 232 คน และให้การดูแลโดยทีมสหวิชาชีพ ให้ความรู้ผู้ป่วยทั้งการใช้ยา การควบคุมระดับความดัน การออกกำลังกาย การควบคุมปริมาณโซเดียมและโปรตีน มีเครือข่ายเยี่ยมบ้าน อย่างต่อเนื่อง 2 ปี พบว่า ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีทักษะในการจัดการตัวเองได้อย่างเหมาะสม และอัตราการเสื่อมของไตมีแนวโน้มชะลอลง เมื่อเทียบกับการรักษาแบบมาตรฐาน โดยสามารถยืดเวลาล้างไตจาก 7 ปี ออกไปเป็น 14 ปี
“จากข้อมูลปี 2552 ของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังถึง 8 ล้านราย โดยเป็นผู้ป่วยระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายต้องรักษาด้วยการฟอกเลือด ล้างไตทางช่องท้อง และผ่าตัดปลูกถ่ายไต รวม 40,845 รายและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงถึงรายละ 250,000 บาทต่อปี คิดเป็นจำนวนมากกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท ดังนั้น การดูแลในคลินิกโรคไตเรื้อรังแบบบูรณาการ จะสามารถชะลอการเสื่อมของไตและลดจำนวนผู้ป่วยที่จะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต จะช่วยให้ประชาชนชาวไทยห่างไกลความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยและประหยัดงบประมาณของประเทศชาติอย่างมหาศาล” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวว่า วิธีการสังเกตหรือสัญญาณอันตรายที่บอกว่าอาจเป็นโรคไต เช่น ปัสสาวะขัด หรือ ปัสสาวะสีเข้มแบบสีน้ำล้างเนื้อ ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ มีอาการบวมหน้า บวมเท้า ปวดหลัง ปวดเอว และมีความดันโลหิตสูง ซึ่งวิธีที่ดีที่สุด คือ การตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะรวมการตรวจสุขภาพไต ถ้ามีความผิดปกติ แพทย์จะแนะนำให้ท่านรับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยัน ที่สำคัญต้องใส่ใจดูแลสุขภาพตนเอง รับประทานอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้พอเพียง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่