กกอ.มีมติเพิ่มเงื่อนไขคุณสมบัติอาจารย์ให้เข้มขึ้น อาทิ มีผลงานวิชาการต่อเนื่องรอบ 5 ปี ทั้งสร้างมาตรฐานผู้คุมวิทยานิพนธ์ และวางกลไกตรวจสอบเชิงคุณภาพ
รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยผลการประชุม กกอ.นัดพิเศษ มีคุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธาน กกอ.เป็นประธาน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก เพื่อให้การศึกษาระดับอุดมศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น โดยเบื้องต้นที่ประชุมเห็นว่าต้องเพิ่มเงื่อนไขคุณสมบัติอาจารย์ให้เข้มข้นขึ้น โดยเน้นให้มีผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่องในรอบ 5 ปี และในระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องมีผลงานทางวิชาการที่จะสนับสนุนให้วิทยานิพนธ์ของนักศึกษามีคุณภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การสอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นระบบเปิด และต้องเพิ่มมาตรการกำกับดูแลการลอกผลงานวิทยานิพนธ์ด้วย
“สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งต้องสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าต้องสร้างมาตรฐานของผู้คุมวิทยานิพนธ์ให้เข้มข้นขึ้น และมีกลไกที่ตรวจสอบเชิงคุณภาพได้ เช่น ประธานสอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และต้องแจ้งรายชื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ทราบด้วย ส่วนเรื่องการนำเสนอบทความทางวิชาการจากวิทยานิพนธ์นั้น ต้องเป็นการนำเสนอในการประชุมขององค์กรวิชาชีพที่จัดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดขึ้นเอง รวมทั้งการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ ต้องไม่ใช่วารสารของมหาวิทยาลัย แต่ควรเป็นวารสารทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติ หรือนานาชาติ อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวต้องหารือในรายละเอียดอีกครั้งในการประชุม กกอ.ครั้งต่อไป ซึ่งต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว” เลขาธิการ กกอ.กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยผลการประชุม กกอ.นัดพิเศษ มีคุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธาน กกอ.เป็นประธาน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก เพื่อให้การศึกษาระดับอุดมศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น โดยเบื้องต้นที่ประชุมเห็นว่าต้องเพิ่มเงื่อนไขคุณสมบัติอาจารย์ให้เข้มข้นขึ้น โดยเน้นให้มีผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่องในรอบ 5 ปี และในระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องมีผลงานทางวิชาการที่จะสนับสนุนให้วิทยานิพนธ์ของนักศึกษามีคุณภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การสอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นระบบเปิด และต้องเพิ่มมาตรการกำกับดูแลการลอกผลงานวิทยานิพนธ์ด้วย
“สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งต้องสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าต้องสร้างมาตรฐานของผู้คุมวิทยานิพนธ์ให้เข้มข้นขึ้น และมีกลไกที่ตรวจสอบเชิงคุณภาพได้ เช่น ประธานสอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และต้องแจ้งรายชื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ทราบด้วย ส่วนเรื่องการนำเสนอบทความทางวิชาการจากวิทยานิพนธ์นั้น ต้องเป็นการนำเสนอในการประชุมขององค์กรวิชาชีพที่จัดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดขึ้นเอง รวมทั้งการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ ต้องไม่ใช่วารสารของมหาวิทยาลัย แต่ควรเป็นวารสารทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติ หรือนานาชาติ อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวต้องหารือในรายละเอียดอีกครั้งในการประชุม กกอ.ครั้งต่อไป ซึ่งต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว” เลขาธิการ กกอ.กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่