กรมอนามัยเร่งเสนอ ครม. เห็นชอบยุทธศาสตร์คนไทยปั๊มลูกเพิ่ม หลังพบเด็กแรกเกิดลดลงจาก 8 แสนคน เหลือ 6 แสนคน เหตุแต่งงานช้า ไม่ยอมมีลูกเพราะต้องทำงานนอกบ้าน ผุด 3 แนวทาง ส่งเสริมชายหญิงพบกัน ให้คำแนะนำวัยรุ่นเตรียมความพร้อม ออกกม. บังคับที่ทำงานมีสถานเลี้ยงเด็กอ่อน
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า อัตราการเกิดของไทยในปีที่ผ่านมาน้อยลง จากเดิมเด็กเกิดใหม่ปีละ 800,000 คน เหลือเพียง 600,000 คน เนื่องจากคนไทยแต่งงานช้า และไม่ยอมมีบุตร นอกจากนี้ ยังพบแนวโน้มการหย่าร้างสูง โดย 1 ใน 4 ของคู่แต่งงานจะหย่าร้างกันใน 3 ปี ที่ผ่านมา กรมฯพยายามรณรงค์ให้คนไทยมีบุตรเพิ่มขึ้น แต่ถือว่าล้มเหลว เพราะคนไม่ยอมมีบุตรเนื่องจากต้องทำงานนอกบ้าน ทำให้ไม่มีคนเลี้ยงลูก ทั้งนี้ ในการส่งเสริมให้คนไทยมีบุตรเพิ่มขึ้นอย่างมีคุณภาพ มีแนวทางดังต่อไปนี้ 1. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ชายหญิงพบปะกัน เพื่อเพิ่มโอกาสแต่งงานและมีบุตร 2. จัดระบบให้คำแนะวัยรุ่นเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตรหลังอายุ 20 ปี เนื่องจากปัจจุบันพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี มีบุตรจำนวนมาก ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม จึงมีปัญหาสุขภาพตามมา และพัฒนาการไม่สมวัย
นพ.พรเทพ กล่าวว่า และ 3. ให้มีกฎหมายบังคับให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีสถานเลี้ยงเด็กอ่อน หากไม่สะดวกที่จะตั้งใน ต้องจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กอ่อนใกล้กับสถานที่ทำงาน โดยกรมฯจะจัดทีมพี่เลี้ยงไปฝึกอบรมเรื่องการดูแลเด็กอ่อนอย่างถูกวิธี ซึ่งต่างจังหวัดไม่น่ามีปัญหา เพราะมีศูนย์เด็กเล็ก สามารถขยายเป็นศูนย์รับดูแลเด็กอ่อนได้ กรมฯจะจัดหลักสูตรดูแลคุณภาพพนักงานศูนย์เด็กอ่อนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน เป็นการส่งเสริมให้คนไทยมีบุตรโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเลี้ยงดูและเป็นการเพิ่มพัฒนาการเด็กได้อย่างสมวัย ซึ่งปัจจุบันไทยมีปัญหาเด็กพัฒนาการไม่สมวัย 30% ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเสนอต่อ ครม. พิจารณาภายใน เม.ย. ให้เป็นยุทธศาสตร์เร่งด่วน
“กรมฯได้รวบรวมหน่วยงานที่ทำเรื่องพัฒนาการเด็กอ่อน ตั้งเป็นสถาบันพัฒนาการเด็กแห่งชาติเมื่อปีที่ผ่านมา และในปีนี้เพิ่งได้รับงบประมาณ 77 ล้านบาท ในการสร้างอาคารหลังใหม่เพื่อดูแลเด็กตั้งแต่แรกคลอด และเอาความรู้มาขยายผลอบรมบุคลากรที่ดูแลเด็กให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า อัตราการเกิดของไทยในปีที่ผ่านมาน้อยลง จากเดิมเด็กเกิดใหม่ปีละ 800,000 คน เหลือเพียง 600,000 คน เนื่องจากคนไทยแต่งงานช้า และไม่ยอมมีบุตร นอกจากนี้ ยังพบแนวโน้มการหย่าร้างสูง โดย 1 ใน 4 ของคู่แต่งงานจะหย่าร้างกันใน 3 ปี ที่ผ่านมา กรมฯพยายามรณรงค์ให้คนไทยมีบุตรเพิ่มขึ้น แต่ถือว่าล้มเหลว เพราะคนไม่ยอมมีบุตรเนื่องจากต้องทำงานนอกบ้าน ทำให้ไม่มีคนเลี้ยงลูก ทั้งนี้ ในการส่งเสริมให้คนไทยมีบุตรเพิ่มขึ้นอย่างมีคุณภาพ มีแนวทางดังต่อไปนี้ 1. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ชายหญิงพบปะกัน เพื่อเพิ่มโอกาสแต่งงานและมีบุตร 2. จัดระบบให้คำแนะวัยรุ่นเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตรหลังอายุ 20 ปี เนื่องจากปัจจุบันพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี มีบุตรจำนวนมาก ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม จึงมีปัญหาสุขภาพตามมา และพัฒนาการไม่สมวัย
นพ.พรเทพ กล่าวว่า และ 3. ให้มีกฎหมายบังคับให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีสถานเลี้ยงเด็กอ่อน หากไม่สะดวกที่จะตั้งใน ต้องจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กอ่อนใกล้กับสถานที่ทำงาน โดยกรมฯจะจัดทีมพี่เลี้ยงไปฝึกอบรมเรื่องการดูแลเด็กอ่อนอย่างถูกวิธี ซึ่งต่างจังหวัดไม่น่ามีปัญหา เพราะมีศูนย์เด็กเล็ก สามารถขยายเป็นศูนย์รับดูแลเด็กอ่อนได้ กรมฯจะจัดหลักสูตรดูแลคุณภาพพนักงานศูนย์เด็กอ่อนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน เป็นการส่งเสริมให้คนไทยมีบุตรโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเลี้ยงดูและเป็นการเพิ่มพัฒนาการเด็กได้อย่างสมวัย ซึ่งปัจจุบันไทยมีปัญหาเด็กพัฒนาการไม่สมวัย 30% ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเสนอต่อ ครม. พิจารณาภายใน เม.ย. ให้เป็นยุทธศาสตร์เร่งด่วน
“กรมฯได้รวบรวมหน่วยงานที่ทำเรื่องพัฒนาการเด็กอ่อน ตั้งเป็นสถาบันพัฒนาการเด็กแห่งชาติเมื่อปีที่ผ่านมา และในปีนี้เพิ่งได้รับงบประมาณ 77 ล้านบาท ในการสร้างอาคารหลังใหม่เพื่อดูแลเด็กตั้งแต่แรกคลอด และเอาความรู้มาขยายผลอบรมบุคลากรที่ดูแลเด็กให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่