กรมแพทย์จี้ผู้ป่วย “ฝังแร่ถาวร” ที่จีนแสดงตัว รับคำแนะนำปฏิบัติตัว สกัดอันตรายต่อคนรอบข้าง ชี้อันตรายระยะยาวรังสีกดไขกระดูกเสี่ยงมะเร็งเม็ดเลือด ด้าน ผอ.รพ.มะเร็งลำปางชี้ไทยใช้ฝังแร่รักษามะเร็งแบบชั่วคราว เน้นเฉพาะมะเร็งปากมดลูก ชี้ใส่เฉลี่ย 10-15 นาทีแล้วเอาออก ระบุการฝังแร่ถาวรมีทำเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก เหตุใช้ปริมาณน้อย ฝังลึก ไม่ส่งผลกระทบคนรอบข้าง
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงกรณีคนไทยเดินทางไปฝังแร่ไอโอดีน-125 ที่โรงพยาบาลรักษามะเร็งฟูด้า กว่างโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อรักษาโรคมะเร็งว่า ที่น่าเป็นห่วงคือขณะนี้ไม่ทราบว่ามีใครบ้างที่เดินทางไปฝังแร่ดังกล่าวมา จึงขอแนะนำให้ประชาชนที่เดินทางไปฝังแร่ดังกล่าวให้มาแสดงตัวต่อโรงพยาบาลในพื้นที่ เนื่องจากโรงพยาบาลจะมีเครื่องวัดปริมาณรังสี เพื่อดูว่าปริมาณกัมมันตภาพรังสีเกินค่ามาตรฐานหรือไม่ หากเกินค่ามาตรฐาน แพทย์จะให้คำแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป เพราะหากไม่แจ้งให้โรงพยาบาลทราบว่าฝังแร่ใด รังสีจากแร่ก็จะแผ่ออกมาทำให้ผู้ที่ใกล้ชิด ทั้งผู้ดูแล แพทย์ และพยาบาลได้รับอันตรายไปด้วยซึ่งมีหลายระยะขึ้นอยู่กับปริมาณของกัมมันตภาพรังสี เช่น ระยะแรกจะมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ ส่วนระยะยาวรังสีจะไปกดไขกระดูกทำให้ไขกระดูกไม่ทำงาน และส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งในเม็ดเลือดได้ สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก สติปัญญาไม่ดีเท่าเด็กวัยเดียวกัน อย่างไรก็ตาม คนที่ไปรักษาส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายที่หวังให้ก้อนเนื้อลดลงซึ่งอาจลดลงชั่วคราวเพราะตัวเซลล์มะเร็งไม่ได้ตายไปด้วย ส่วนขณะนี้มีผู้ป่วยที่ไปฝังแร่และแจ้งชื่อเข้ามาแล้วประมาณ 35 ราย
นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง กล่าวว่า การรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่นั้นในประเทศไทยจะเป็นแบบไม่ถาวร หรือเรียกว่าเป็นการใส่แร่แบบชั่วคราว โดยปกติจะใช้เฉพาะการรักษามะเร็งปากมดลูก ก็จะฝังประมาณ 10-15 นาที เพื่อเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งแล้วจึงเอาออก ระยะเวลาในการฝังแร่จะอยู่ที่ระยะของโรคมะเร็งด้วย โดยแพทย์จะเป็นผู้คำนวณระยะเวลา สำหรับการใส่แร่แบบชั่วคราวมีการดำเนินการที่ปลอดภัย เนื่องจากใช้เครื่องใส่แร่แบบอัตโนมัติ ระหว่างการใส่แร่ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ก็จะอยู่ภายนอกห้อง ไม่ได้รับอันตรายจากการใส่แร่ และเมื่อใส่แร่เสร็จแล้วเครื่องก็จะถอนแร่ออกมาจากร่างกายแล้วนำไปเก็บในอุปกรณ์ป้องกัน หลังจากใส่แร่เสร็จแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที ไม่ส่งผลกระทบอันตรายต่อคนรอบข้าง
นพ.สมเกียรติกล่าวว่า ส่วนการฝังแร่แบบถาวรนั้นในประเทศไทยพบว่า ทำได้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ด้วยการใช้แร่ไอโอดีน-125 ซึ่งมีโรงเรียนแพทย์บางแห่งดำเนินการ ซึ่งการฝังแร่แบบถาวรที่ต่อมลูกหมากถือว่ามีความปลอดภัย เพราะฝังลึกเข้าไปในร่างกาย และใช้จำนวนที่น้อยมาก จึงไม่ส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง ไม่เหมือนการนำมาฝังที่ปอด หรือตับ ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการรักษาเช่นนี้ ส่วน รพ.มะเร็งลำปางยังไม่มีการใช้วิธีฝังแร่ถาวรที่ต่อมลูกหมาก เนื่องจากแพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญ และต้องพิจารณาจำนวนคนไข้ด้วย
“อานุภาพหรือความแรงในการแผ่รังสีของแร่ขึ้นอยู่กับขนาด ชนิด และอายุครึ่งชีวิตของแร่ด้วย แต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันไป เช่น โคบอลต์ ซีเซียม ไอโอดีน 125 เป็นต้น สำหรับระยะที่ปลอดภัยจากแร่กัมมัตภาพรังสีที่ใช้ในการรักษามะเร็งนั้นอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ซึ่งระหว่างการรักษาบุคลากรทางการแพทย์ก็จะมีการป้องกันการสัมผัสรังสีของแร่ด้วยเครื่องกำบัง มีฉากตะกั่ว หรือสวมเสื้อตะกั่วในการป้องกัน” นพ.สมเกียรติกล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงกรณีคนไทยเดินทางไปฝังแร่ไอโอดีน-125 ที่โรงพยาบาลรักษามะเร็งฟูด้า กว่างโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อรักษาโรคมะเร็งว่า ที่น่าเป็นห่วงคือขณะนี้ไม่ทราบว่ามีใครบ้างที่เดินทางไปฝังแร่ดังกล่าวมา จึงขอแนะนำให้ประชาชนที่เดินทางไปฝังแร่ดังกล่าวให้มาแสดงตัวต่อโรงพยาบาลในพื้นที่ เนื่องจากโรงพยาบาลจะมีเครื่องวัดปริมาณรังสี เพื่อดูว่าปริมาณกัมมันตภาพรังสีเกินค่ามาตรฐานหรือไม่ หากเกินค่ามาตรฐาน แพทย์จะให้คำแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป เพราะหากไม่แจ้งให้โรงพยาบาลทราบว่าฝังแร่ใด รังสีจากแร่ก็จะแผ่ออกมาทำให้ผู้ที่ใกล้ชิด ทั้งผู้ดูแล แพทย์ และพยาบาลได้รับอันตรายไปด้วยซึ่งมีหลายระยะขึ้นอยู่กับปริมาณของกัมมันตภาพรังสี เช่น ระยะแรกจะมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ ส่วนระยะยาวรังสีจะไปกดไขกระดูกทำให้ไขกระดูกไม่ทำงาน และส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งในเม็ดเลือดได้ สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก สติปัญญาไม่ดีเท่าเด็กวัยเดียวกัน อย่างไรก็ตาม คนที่ไปรักษาส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายที่หวังให้ก้อนเนื้อลดลงซึ่งอาจลดลงชั่วคราวเพราะตัวเซลล์มะเร็งไม่ได้ตายไปด้วย ส่วนขณะนี้มีผู้ป่วยที่ไปฝังแร่และแจ้งชื่อเข้ามาแล้วประมาณ 35 ราย
นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง กล่าวว่า การรักษามะเร็งด้วยการฝังแร่นั้นในประเทศไทยจะเป็นแบบไม่ถาวร หรือเรียกว่าเป็นการใส่แร่แบบชั่วคราว โดยปกติจะใช้เฉพาะการรักษามะเร็งปากมดลูก ก็จะฝังประมาณ 10-15 นาที เพื่อเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งแล้วจึงเอาออก ระยะเวลาในการฝังแร่จะอยู่ที่ระยะของโรคมะเร็งด้วย โดยแพทย์จะเป็นผู้คำนวณระยะเวลา สำหรับการใส่แร่แบบชั่วคราวมีการดำเนินการที่ปลอดภัย เนื่องจากใช้เครื่องใส่แร่แบบอัตโนมัติ ระหว่างการใส่แร่ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ก็จะอยู่ภายนอกห้อง ไม่ได้รับอันตรายจากการใส่แร่ และเมื่อใส่แร่เสร็จแล้วเครื่องก็จะถอนแร่ออกมาจากร่างกายแล้วนำไปเก็บในอุปกรณ์ป้องกัน หลังจากใส่แร่เสร็จแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที ไม่ส่งผลกระทบอันตรายต่อคนรอบข้าง
นพ.สมเกียรติกล่าวว่า ส่วนการฝังแร่แบบถาวรนั้นในประเทศไทยพบว่า ทำได้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ด้วยการใช้แร่ไอโอดีน-125 ซึ่งมีโรงเรียนแพทย์บางแห่งดำเนินการ ซึ่งการฝังแร่แบบถาวรที่ต่อมลูกหมากถือว่ามีความปลอดภัย เพราะฝังลึกเข้าไปในร่างกาย และใช้จำนวนที่น้อยมาก จึงไม่ส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง ไม่เหมือนการนำมาฝังที่ปอด หรือตับ ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการรักษาเช่นนี้ ส่วน รพ.มะเร็งลำปางยังไม่มีการใช้วิธีฝังแร่ถาวรที่ต่อมลูกหมาก เนื่องจากแพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญ และต้องพิจารณาจำนวนคนไข้ด้วย
“อานุภาพหรือความแรงในการแผ่รังสีของแร่ขึ้นอยู่กับขนาด ชนิด และอายุครึ่งชีวิตของแร่ด้วย แต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันไป เช่น โคบอลต์ ซีเซียม ไอโอดีน 125 เป็นต้น สำหรับระยะที่ปลอดภัยจากแร่กัมมัตภาพรังสีที่ใช้ในการรักษามะเร็งนั้นอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ซึ่งระหว่างการรักษาบุคลากรทางการแพทย์ก็จะมีการป้องกันการสัมผัสรังสีของแร่ด้วยเครื่องกำบัง มีฉากตะกั่ว หรือสวมเสื้อตะกั่วในการป้องกัน” นพ.สมเกียรติกล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่