แพทย์แผนไทยจับมือกรมป่าไม้ เปิดป่าชุมชนให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ่วงหลักเกณฑ์อนุรักษ์ พร้อมปลูกป่าทดแทน หวังได้ประโยชน์และความหวงแหนทรัพยากรที่มี เผยป่าภาคใต้มีพันธุ์พืชหาทดสอบยาก เล็งทดสอบนำมาทำผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมตลาดสมุนไพร
ภก.สมนึก สุชัยธนาวนิช ผู้อำนวยการกองยาแผนไทยและสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีป่าชุมชนกว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศ ถือเป็นแหล่งสำคัญของสมุนไพร ซึ่งมีความสมบูรณ์และมีจำนวนมากคิดเป็นร้อยละ 70 ของพันธุ์พืชทั่วโลก ขณะนี้กำลังจะมีการบริหารจัดการป่าสมุนไพร 60 แห่งทั่วประเทศ ร่วมกับกรมป่าไม้ โดยเลือกป่าที่มีความพร้อมทั้งตัวป่าและแกนนำในพื้นที่ เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์ โดยยึดหลักอนุรักษ์ ไปพร้อมๆ กับได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งจะทำให้เกิดความหวงแหนมากขึ้น โดยจะต้องหาวิธีให้ชาวบ้านร่วมอนุรักษ์ให้ได้ นอกจากนี้ จะส่งเสริมให้ปลูกป่าทดแทนและอนุรักษ์จะช่วยลดการขาดแคลนสมุนไพรได้ เพราะปัจจุบันไทยเริ่มต้องนำเข้าสมุนไพรบางชนิดจากประเทศเพื่อนบ้านแล้ว
ภก.สมนึก กล่าวว่า ป่าภาคใต้ เป็นป่าดิบชื้น ที่มีความสมบูรณ์และพบพันธุ์พืชได้หลากหลาย แต่พบว่ายังไม่ได้รับการนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งหลายแห่งสามารถส่งเสริมให้กลายเป็นป่าชุมชนที่อนุรักษ์สมุนไพรได้ ทั้งนี้ จะมีการหาพันธุ์พืชมาทดสอบและพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป เช่น ต้นนวลแป้ง ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น พบว่าภูมิปัญญาพืชบ้านจะเอากิ่งปักลงในจอมปลวกก็สามารถทำลายรังได้ โดยจะนำมาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อทดสอบคุณสมบัติต่อไป หรือ มันเงาะ ที่ชาวซาไก นำมากินแก้ปวดเมื่อย หรือ ต้นหัวร้อยรู ซึ่งเป็นส่วนผสมในยารักษามะเร็ง ที่ปลูกขึ้นได้ยากมาก หรือ ไม้ไฟห้ากอง เป็นพืชชนิดใหม่ที่ใช้บำรุงธาตุ ซึ่งต้องจดสิทธิบัตรและพัฒนาต่อ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเปิดป่าชุมชน 60 แห่ง จะมีการเลือกพันธุ์ไม้มาที่ละ 10 ชนิด รวมแล้วก็เป็น 600 ชนิด ที่จะได้รับการอนุรักษ์ ซึ่งทำให้ไทยมีคลังสะสมสมุนไพรเพิ่มขึ้น
นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดสมุนไพรมีความต้องการสูงมาก ซึ่งประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เช่น กระชายดำ กวาวเครือขาว ซึ่งมีปริมาณความต้องการจากประเทศญี่ปุ่นจำนวนมาก ส่วนตลาดในประเทศก็เริ่มมีการขาดแคลนสมุรไพรบางชนิด เช่น ขมิ้น ไพร ที่บางช่วงต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงต้องมีการวางแผนการผลิต อนุรักษ์ และพัฒนาไปพร้อมๆ กัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภก.สมนึก สุชัยธนาวนิช ผู้อำนวยการกองยาแผนไทยและสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีป่าชุมชนกว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศ ถือเป็นแหล่งสำคัญของสมุนไพร ซึ่งมีความสมบูรณ์และมีจำนวนมากคิดเป็นร้อยละ 70 ของพันธุ์พืชทั่วโลก ขณะนี้กำลังจะมีการบริหารจัดการป่าสมุนไพร 60 แห่งทั่วประเทศ ร่วมกับกรมป่าไม้ โดยเลือกป่าที่มีความพร้อมทั้งตัวป่าและแกนนำในพื้นที่ เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์ โดยยึดหลักอนุรักษ์ ไปพร้อมๆ กับได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งจะทำให้เกิดความหวงแหนมากขึ้น โดยจะต้องหาวิธีให้ชาวบ้านร่วมอนุรักษ์ให้ได้ นอกจากนี้ จะส่งเสริมให้ปลูกป่าทดแทนและอนุรักษ์จะช่วยลดการขาดแคลนสมุนไพรได้ เพราะปัจจุบันไทยเริ่มต้องนำเข้าสมุนไพรบางชนิดจากประเทศเพื่อนบ้านแล้ว
ภก.สมนึก กล่าวว่า ป่าภาคใต้ เป็นป่าดิบชื้น ที่มีความสมบูรณ์และพบพันธุ์พืชได้หลากหลาย แต่พบว่ายังไม่ได้รับการนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งหลายแห่งสามารถส่งเสริมให้กลายเป็นป่าชุมชนที่อนุรักษ์สมุนไพรได้ ทั้งนี้ จะมีการหาพันธุ์พืชมาทดสอบและพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป เช่น ต้นนวลแป้ง ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น พบว่าภูมิปัญญาพืชบ้านจะเอากิ่งปักลงในจอมปลวกก็สามารถทำลายรังได้ โดยจะนำมาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อทดสอบคุณสมบัติต่อไป หรือ มันเงาะ ที่ชาวซาไก นำมากินแก้ปวดเมื่อย หรือ ต้นหัวร้อยรู ซึ่งเป็นส่วนผสมในยารักษามะเร็ง ที่ปลูกขึ้นได้ยากมาก หรือ ไม้ไฟห้ากอง เป็นพืชชนิดใหม่ที่ใช้บำรุงธาตุ ซึ่งต้องจดสิทธิบัตรและพัฒนาต่อ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเปิดป่าชุมชน 60 แห่ง จะมีการเลือกพันธุ์ไม้มาที่ละ 10 ชนิด รวมแล้วก็เป็น 600 ชนิด ที่จะได้รับการอนุรักษ์ ซึ่งทำให้ไทยมีคลังสะสมสมุนไพรเพิ่มขึ้น
นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดสมุนไพรมีความต้องการสูงมาก ซึ่งประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เช่น กระชายดำ กวาวเครือขาว ซึ่งมีปริมาณความต้องการจากประเทศญี่ปุ่นจำนวนมาก ส่วนตลาดในประเทศก็เริ่มมีการขาดแคลนสมุรไพรบางชนิด เช่น ขมิ้น ไพร ที่บางช่วงต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงต้องมีการวางแผนการผลิต อนุรักษ์ และพัฒนาไปพร้อมๆ กัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่