หมอสูติฯ ไขข้อข้องใจ ห้ามลูกคนแรก “ดูดนมแม่” ขณะท้องคนที่สองเสี่ยง "แท้ง" ไม่จริงเสมอไป แต่รับดูดนมแม่ทำแม่หลั่งฮอร์โมน “ออกซิโตซิน” ส่งผลมดลูกบีบรัดตัว ระบุหากสุขภาพแม่ - ครรภ์ไม่แข็งแรงจึงเสี่ยงลูกหลุด แนะอย่ามีลูกหัวปีท้ายปี ควรเว้น 2 - 3 ปีเหมาะสมกว่า
รศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีคุณแม่ควรหยุดให้นมลูกคนแรกขณะตั้งครรภ์ลูกคนที่สอง เพื่อป้องกันการแท้งบุตร ซึ่งมีข้อถกเถียงว่าเป็นความเชื่อสมัยก่อน เนื่องจากมีงานวิจัยว่าการให้นมแม่ปลอดภัยไม่เสี่ยงต่อการแท้งบุตร ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำให้ระมัดระวังเท่านั้น ไม่ใช่ว่าหากให้ลูกคนแรกดื่มนมแม่แล้วจะต้องแท้งลูกคนที่สองที่กำลังตั้งครรภ์เสมอไป เพราะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแม่ และความแข็งแรงของครรภ์ด้วย ซึ่งหากครรภ์ไม่แข็งแรงอยู่แล้วก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ โดยมีการให้นมลูกคนแรกเป็นปัจจัยกระตุ้น
“การที่ลูกดูดนมแม่ จะส่งผลให้ร่างกายแม่หลั่งฮอร์โมนที่ชื่อ ออกซิโตซิน (Oxytocin) ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำให้มดลูกบีบรัดตัว ซึ่งแม่ที่มีร่างกายและครรภ์แข็งแรงคงไม่ทำให้ถึงกับต้องแท้งบุตร แต่ในความเป็นจริงเราไม่รู้ว่าเมื่อตั้งครรภ์แล้วครรภ์นั้นแข็งแรงหรือไม่อย่างไร ส่วนใหญ่จึงมีคำแนะนำให้เมื่อตั้งครรภ์ลูกคนที่สองระหว่างยังให้นมลูกคนแรกอยู่นั้นก็ควรหลีกเลี่ยงการให้นมไปก่อนหรือต้องระมัดระวัง เพราะแม่บางคนครรภ์ไม่แข็งแรงพอก็มีโอกาสเกิดภาวะแท้งบุตรได้” รศ.นพ.กำธร กล่าวและว่า การตั้งครรภ์ลูกคนที่สองส่วนใหญ่ลูกคนแรกน่าจะมีอายุเกิน 1 ขวบไปแล้ว หากจำเป็นต้องให้หยุดนมแม่ก็คงไม่ส่งผลกระทบใดมากนัก เพราะเด็กวัยนี้สามารถรับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจากอาหารแหล่งอื่นๆ ได้แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะขัดแย้งกับข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หรือไม่ว่า ควรให้ลูกได้รับนมแม่ไปจนถึงอายุ 2 ขวบหรือมากกว่านั้นก็ยิ่งดี รศ.นพ.กำธร กล่าวว่า หากอยากให้ลูกได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพราะสงสารลูกก็สามารถทำได้ เพียงแต่อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเท่านั้น อย่างที่บอกว่าไม่ใช่แม่ทุกคนที่ให้นมลูกคนแรกแล้วจะต้องแท้งลูกคนที่สองเสมอไป อยู่ที่ความแข็งแรงซึ่งเราไม่รู้ว่าสุขภาพครรภ์ของแม่แข็งแรงพอหรือไม่ จึงไม่ใช่ว่าขัดกับข้อแนะนำ ทั้งนี้ หากอยากให้ปลอดภัยจริงๆ การมีลูกคนที่สองนั้นควรห่างจากลูกคนแรกอย่างน้อย 2 - 3 ปี เพื่อให้ลูกคนแรกได้รับนมแม่อย่างเต็มที่จะดีกว่า
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีคุณแม่ควรหยุดให้นมลูกคนแรกขณะตั้งครรภ์ลูกคนที่สอง เพื่อป้องกันการแท้งบุตร ซึ่งมีข้อถกเถียงว่าเป็นความเชื่อสมัยก่อน เนื่องจากมีงานวิจัยว่าการให้นมแม่ปลอดภัยไม่เสี่ยงต่อการแท้งบุตร ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำให้ระมัดระวังเท่านั้น ไม่ใช่ว่าหากให้ลูกคนแรกดื่มนมแม่แล้วจะต้องแท้งลูกคนที่สองที่กำลังตั้งครรภ์เสมอไป เพราะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแม่ และความแข็งแรงของครรภ์ด้วย ซึ่งหากครรภ์ไม่แข็งแรงอยู่แล้วก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ โดยมีการให้นมลูกคนแรกเป็นปัจจัยกระตุ้น
“การที่ลูกดูดนมแม่ จะส่งผลให้ร่างกายแม่หลั่งฮอร์โมนที่ชื่อ ออกซิโตซิน (Oxytocin) ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำให้มดลูกบีบรัดตัว ซึ่งแม่ที่มีร่างกายและครรภ์แข็งแรงคงไม่ทำให้ถึงกับต้องแท้งบุตร แต่ในความเป็นจริงเราไม่รู้ว่าเมื่อตั้งครรภ์แล้วครรภ์นั้นแข็งแรงหรือไม่อย่างไร ส่วนใหญ่จึงมีคำแนะนำให้เมื่อตั้งครรภ์ลูกคนที่สองระหว่างยังให้นมลูกคนแรกอยู่นั้นก็ควรหลีกเลี่ยงการให้นมไปก่อนหรือต้องระมัดระวัง เพราะแม่บางคนครรภ์ไม่แข็งแรงพอก็มีโอกาสเกิดภาวะแท้งบุตรได้” รศ.นพ.กำธร กล่าวและว่า การตั้งครรภ์ลูกคนที่สองส่วนใหญ่ลูกคนแรกน่าจะมีอายุเกิน 1 ขวบไปแล้ว หากจำเป็นต้องให้หยุดนมแม่ก็คงไม่ส่งผลกระทบใดมากนัก เพราะเด็กวัยนี้สามารถรับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจากอาหารแหล่งอื่นๆ ได้แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะขัดแย้งกับข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หรือไม่ว่า ควรให้ลูกได้รับนมแม่ไปจนถึงอายุ 2 ขวบหรือมากกว่านั้นก็ยิ่งดี รศ.นพ.กำธร กล่าวว่า หากอยากให้ลูกได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพราะสงสารลูกก็สามารถทำได้ เพียงแต่อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเท่านั้น อย่างที่บอกว่าไม่ใช่แม่ทุกคนที่ให้นมลูกคนแรกแล้วจะต้องแท้งลูกคนที่สองเสมอไป อยู่ที่ความแข็งแรงซึ่งเราไม่รู้ว่าสุขภาพครรภ์ของแม่แข็งแรงพอหรือไม่ จึงไม่ใช่ว่าขัดกับข้อแนะนำ ทั้งนี้ หากอยากให้ปลอดภัยจริงๆ การมีลูกคนที่สองนั้นควรห่างจากลูกคนแรกอย่างน้อย 2 - 3 ปี เพื่อให้ลูกคนแรกได้รับนมแม่อย่างเต็มที่จะดีกว่า
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่