แพทย์ชนบทมึน! ครม. ไฟเขียวสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ จี้ กระทรวงการคลัง เปลี่ยนความคิด ชี้กำไรปีละ 6 พันล้านบาท เทียบไม่ได้กับค่ารักษาพยาบาลคนติดบุหรี่ปีละ 1 หมื่นล้านบาท ขาดรายได้จากการตายก่อนวัยปีละ 4 หมื่นล้านบาท วอนดัน พ.ร.บ. ยาสูบฉบับใหม่
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ เลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวถึงกรณีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 เม.ย. ที่ผ่านมา ที่อนุมัติให้กระทรวงการคลังสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ด้วยงบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ว่า ถือเป็นแนวคิดที่ผิดพลาดของกระทรวงการคลังในการขยายการผลิตยาสูบ และจะทำกำไรจากการค้าบุหรี่ให้มากขึ้น เพราะแม้จะได้กำไรจากยาสูบปีละ 6 พันล้านบาท แต่กลับต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยจากบุหรี่ปีละ 10,137 ล้านบาท ยังไม่รวมประเทศไทยขาดรายได้จากจากการตายก่อนวัย และทุพพลภาพต้องใส่ท่อช่วยหายใจทำงานไม่ได้อีกปีละ 40,464 ล้านบาท ทั้งที่คนกลุ่มนี้สามารถเป็นกำลังสำคัญให้สังคมได้ แต่กลับตาย หรือพิการก่อนวัยอันควร แต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่เป็นมะเร็งปอดปีละประมาณ 10,000 คน ซึ่งปัจจุบันยารักษามะเร็งปอดในปัจจุบัน ราคา 1 - 4 ล้านบาทต่อคนต่อปี คิดเป็นเงิน 1 - 4 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งกระทรวงการคลังไม่สามารถสนับสนุนค่ารักษาได้ ต้องให้ผู้ป่วยดิ้นรนกู้หนี้ยืมสินรักษากันตามยถากรรม และค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในโครงการหลักประกันสุขภาพที่ควรเพิ่มขึ้นตามมาตรฐานการรักษาของโลกที่พัฒนาก้าวหน้าไปมาก ก็กลับคงที่อยู่ที่ 2,895 บาทต่อคนต่อปี
“ทุกวันนี้ชายไทยสูบบุหรี่ร้อยละ 40 ทำให้ชายไทยอายุสั้นกว่าหญิงไทย 6 ปี บุหรี่จึงเหมือนพยาธิที่คอยกัดกินทำให้คนอ่อนแอ เศรษฐกิจก็จะแย่ลงไปตามการเจ็บป่วยที่มากขึ้น ผมอยากให้กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ว่า เมื่อลดการสูบบุหรี่ลงจะทำให้กระทรวงการคลังได้เงินมากขึ้น จากค่าใช้จ่ายที่น้อยลง และเศรษฐกิจจะเดินหน้าได้จากสุขภาพประชาชนที่ดีขึ้น และขอเรียกร้องให้รัฐบาลควรเร่งผลักดัน พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ ซึ่งปรับปรุงให้ทันสมัยและทันสถานการณ์ต่อการโฆษณาแฝงและบุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ที่เข้ามาโดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า จากประวัติศาสตร์สังคมไทย หลังรัฐประหาร สังคมไทยจะได้กฎหมายดีๆ ด้านสุขภาพ ดังเช่นปี 2535 มี พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ ปี 2551 มี พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะในการเมืองปกติ บริษัทบุหรี่ - สุรา จะเข้าถึงนักการเมืองโดยสนับสนุนเงินใต้โต๊ะ จึงคาดหวังว่ารัฐบาลชุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเห็นการสร้างสุขภาพประชาชนดีกว่าการสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ เลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวถึงกรณีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 เม.ย. ที่ผ่านมา ที่อนุมัติให้กระทรวงการคลังสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ด้วยงบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ว่า ถือเป็นแนวคิดที่ผิดพลาดของกระทรวงการคลังในการขยายการผลิตยาสูบ และจะทำกำไรจากการค้าบุหรี่ให้มากขึ้น เพราะแม้จะได้กำไรจากยาสูบปีละ 6 พันล้านบาท แต่กลับต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยจากบุหรี่ปีละ 10,137 ล้านบาท ยังไม่รวมประเทศไทยขาดรายได้จากจากการตายก่อนวัย และทุพพลภาพต้องใส่ท่อช่วยหายใจทำงานไม่ได้อีกปีละ 40,464 ล้านบาท ทั้งที่คนกลุ่มนี้สามารถเป็นกำลังสำคัญให้สังคมได้ แต่กลับตาย หรือพิการก่อนวัยอันควร แต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่เป็นมะเร็งปอดปีละประมาณ 10,000 คน ซึ่งปัจจุบันยารักษามะเร็งปอดในปัจจุบัน ราคา 1 - 4 ล้านบาทต่อคนต่อปี คิดเป็นเงิน 1 - 4 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งกระทรวงการคลังไม่สามารถสนับสนุนค่ารักษาได้ ต้องให้ผู้ป่วยดิ้นรนกู้หนี้ยืมสินรักษากันตามยถากรรม และค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในโครงการหลักประกันสุขภาพที่ควรเพิ่มขึ้นตามมาตรฐานการรักษาของโลกที่พัฒนาก้าวหน้าไปมาก ก็กลับคงที่อยู่ที่ 2,895 บาทต่อคนต่อปี
“ทุกวันนี้ชายไทยสูบบุหรี่ร้อยละ 40 ทำให้ชายไทยอายุสั้นกว่าหญิงไทย 6 ปี บุหรี่จึงเหมือนพยาธิที่คอยกัดกินทำให้คนอ่อนแอ เศรษฐกิจก็จะแย่ลงไปตามการเจ็บป่วยที่มากขึ้น ผมอยากให้กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ว่า เมื่อลดการสูบบุหรี่ลงจะทำให้กระทรวงการคลังได้เงินมากขึ้น จากค่าใช้จ่ายที่น้อยลง และเศรษฐกิจจะเดินหน้าได้จากสุขภาพประชาชนที่ดีขึ้น และขอเรียกร้องให้รัฐบาลควรเร่งผลักดัน พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ ซึ่งปรับปรุงให้ทันสมัยและทันสถานการณ์ต่อการโฆษณาแฝงและบุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ที่เข้ามาโดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า จากประวัติศาสตร์สังคมไทย หลังรัฐประหาร สังคมไทยจะได้กฎหมายดีๆ ด้านสุขภาพ ดังเช่นปี 2535 มี พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ ปี 2551 มี พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะในการเมืองปกติ บริษัทบุหรี่ - สุรา จะเข้าถึงนักการเมืองโดยสนับสนุนเงินใต้โต๊ะ จึงคาดหวังว่ารัฐบาลชุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเห็นการสร้างสุขภาพประชาชนดีกว่าการสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่