สธ.- สปสช.- 9 คณะทันตแพทย์ ลงนามความร่วมมือเพิ่มใส่ฟันปลอมทั้งปากให้ผู้สูงอายุสิทธิบัตรทอง 2,200 ราย ใช้งบหนุน 12.9 ล้านบาท คาดเสร็จ ธ.ค. นี้
วันนี้ (8 เม.ย.) ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ 9 สถาบัน ได้แก่ ม.มหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ม.รังสิต ม.เชียงใหม่ ม.นเรศวร ม.ขอนแก่น และ ม.สงขลานครินทร์ ลงนามความร่วมมือเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการใส่ฟันเทียมพระราชทานฯ แก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่สูญเสียฟันทั้งปากสำหรับการบดเคี้ยวอาหาร ในสิทธิบัตรทองให้ได้รับการใส่ฟันเทียมทั้งปาก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า ผู้สูงอายุไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในปี 2557 มี 9 ล้านกว่าคน หรือร้อยละ 14 ของประชากร โดยองค์การอนามัยโลกเสนอว่า หากลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันโรคเรื้อรังได้ ผู้สูงอายุจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งปัญหาสุขภาพช่องปากนับเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพและการเกิดโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ จากการสำรวจสุขภาวะช่องปากแห่งชาติปี 2555 พบผู้สูงอายุที่มีฟันน้อยกว่า 20 ซี่ ร้อยละ 42 แนวโน้มการสูญเสียฟันทั้งปากดีขึ้น มีความต้องการใส่ฟันเทียมลดลงจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 3 มีผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใส่ฟันเทียมทั้งปากจำนวน 236,000 ราย สธ.จึงดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในโครงการใส่ฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจัดเป็นของขวัญปีใหม่ 2558 ให้ผู้สูงอายุ 35,000 ราย เร่งดำเนินการมาแล้ว 6 เดือน มีความคืบหน้าไปกว่าครึ่ง มีผู้สูงอายุได้รับการใส่ฟันเทียมแล้ว 19,760 ราย คาดว่าจะครบตามเป้าหมายที่กำหนด แต่ละรายใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน
“ขณะนี้ยังเหลือผู้สูงอายุที่รอใส่ฟันเทียมอีกจำนวนหนึ่ง จึงได้เพิ่มเป้าหมายอีก 2,200 ราย โดย สธ. ได้ร่วมมือกับคณะทันตแพทยศาสตร์ทั้ง 9 มหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใส่ฟันเทียม และ สปสช. เร่งขยายบริการผู้สูงอายุมากขึ้นและเร็วขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีปัญหา เช่น สันเหงือกแบนราบ ต้องการความเชี่ยวชาญระดับสูงการลงนามความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้ผู้สูงอายุได้ใส่ฟันเทียมทั้งปากคุณภาพสูงได้เร็วขึ้น ตั้งเป้าให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในต้นเดือนธันวาคม 2558 แน่นอน” รมว.สธ. กล่าว
ด้าน นพ.พรเทพ กล่าวว่า กรมอนามัยจะประสานงานและส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่รอคิวทำฟันเทียมนานเกิน 6 เดือน หรือกรณีที่มีความยากและซับซ้อนให้เข้ารับบริการที่คณะทันตแพทยศาสตร์ทั้ง 9 สถาบัน เพื่อให้ทั้ง 9 สถาบันจัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากแก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิบัตรทอง รวมทั้งให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่กลุ่มเป้าหมายด้วย สำหรับผู้ใช้สิทธิ์อื่นๆ สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขหรืออื่นๆ ตามสิทธิ์นั้น
นพ.วินัย กล่าวว่า สปสช. จะสนับสนุนงบประมาณตั้งแต่คัดกรอง การเตรียมช่องปาก การให้คำแนะนำ และการประชาสัมพันธ์ รวมถึงค่าชดเชยอุปกรณ์ฟันเทียมตามราคาที่กำหนดในสิทธิบัตรทองจำนวน 12,980,000 บาท แก่ผู้สูงอายุจำนวน 2,200 ราย ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ทั้งกรณีใส่ฟันปลอมทั้งปากและผู้ไม่มีฟันตั้งแต่ 16 ซี่ขึ้นไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (8 เม.ย.) ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ 9 สถาบัน ได้แก่ ม.มหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ม.รังสิต ม.เชียงใหม่ ม.นเรศวร ม.ขอนแก่น และ ม.สงขลานครินทร์ ลงนามความร่วมมือเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการใส่ฟันเทียมพระราชทานฯ แก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่สูญเสียฟันทั้งปากสำหรับการบดเคี้ยวอาหาร ในสิทธิบัตรทองให้ได้รับการใส่ฟันเทียมทั้งปาก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า ผู้สูงอายุไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในปี 2557 มี 9 ล้านกว่าคน หรือร้อยละ 14 ของประชากร โดยองค์การอนามัยโลกเสนอว่า หากลดปัจจัยเสี่ยงและป้องกันโรคเรื้อรังได้ ผู้สูงอายุจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งปัญหาสุขภาพช่องปากนับเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพและการเกิดโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ จากการสำรวจสุขภาวะช่องปากแห่งชาติปี 2555 พบผู้สูงอายุที่มีฟันน้อยกว่า 20 ซี่ ร้อยละ 42 แนวโน้มการสูญเสียฟันทั้งปากดีขึ้น มีความต้องการใส่ฟันเทียมลดลงจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 3 มีผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใส่ฟันเทียมทั้งปากจำนวน 236,000 ราย สธ.จึงดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในโครงการใส่ฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจัดเป็นของขวัญปีใหม่ 2558 ให้ผู้สูงอายุ 35,000 ราย เร่งดำเนินการมาแล้ว 6 เดือน มีความคืบหน้าไปกว่าครึ่ง มีผู้สูงอายุได้รับการใส่ฟันเทียมแล้ว 19,760 ราย คาดว่าจะครบตามเป้าหมายที่กำหนด แต่ละรายใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน
“ขณะนี้ยังเหลือผู้สูงอายุที่รอใส่ฟันเทียมอีกจำนวนหนึ่ง จึงได้เพิ่มเป้าหมายอีก 2,200 ราย โดย สธ. ได้ร่วมมือกับคณะทันตแพทยศาสตร์ทั้ง 9 มหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใส่ฟันเทียม และ สปสช. เร่งขยายบริการผู้สูงอายุมากขึ้นและเร็วขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีปัญหา เช่น สันเหงือกแบนราบ ต้องการความเชี่ยวชาญระดับสูงการลงนามความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้ผู้สูงอายุได้ใส่ฟันเทียมทั้งปากคุณภาพสูงได้เร็วขึ้น ตั้งเป้าให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในต้นเดือนธันวาคม 2558 แน่นอน” รมว.สธ. กล่าว
ด้าน นพ.พรเทพ กล่าวว่า กรมอนามัยจะประสานงานและส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่รอคิวทำฟันเทียมนานเกิน 6 เดือน หรือกรณีที่มีความยากและซับซ้อนให้เข้ารับบริการที่คณะทันตแพทยศาสตร์ทั้ง 9 สถาบัน เพื่อให้ทั้ง 9 สถาบันจัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากแก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิบัตรทอง รวมทั้งให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่กลุ่มเป้าหมายด้วย สำหรับผู้ใช้สิทธิ์อื่นๆ สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขหรืออื่นๆ ตามสิทธิ์นั้น
นพ.วินัย กล่าวว่า สปสช. จะสนับสนุนงบประมาณตั้งแต่คัดกรอง การเตรียมช่องปาก การให้คำแนะนำ และการประชาสัมพันธ์ รวมถึงค่าชดเชยอุปกรณ์ฟันเทียมตามราคาที่กำหนดในสิทธิบัตรทองจำนวน 12,980,000 บาท แก่ผู้สูงอายุจำนวน 2,200 ราย ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ทั้งกรณีใส่ฟันปลอมทั้งปากและผู้ไม่มีฟันตั้งแต่ 16 ซี่ขึ้นไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่