กรมควบคุมโรคเผยยอดป่วยไข้หวัดใหญ่ปีนี้ในไทยยอดกว่า 1 หมื่นราย ตรวจพบสายพันธุ์ H3N2 ชนิดเดียวกับระบาดในฮ่องกง 50% ยันเชื้อไม่รุนแรง ไม่ดื้อยา ไม่ต้องกังวล เตรียมวัคซีนรองรับกลุ่มเสี่ยง เริ่มฉีด เม.ย. นี้ พร้อมยาโอเซลทามิเวียร์อีกกว่า 30 ล้านเม็ด
วันนี้ (2 มี.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังประชุมวอร์รูมเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A H3N2 ที่ระบาดในฮ่องกง ว่า จากการติดตามพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3N2 ในฮ่องกง 383 ราย เสียชีวิต 283 ราย และพบการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 (ไข้หวัด 2009) ที่อินเดีย มีผู้ป่วยสะสม 16,235 ราย เสียชีวิต 926 ราย ส่วนประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 23 ก.พ. 2558 มีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ 10,032 ราย เสียชีวิต 8 ราย แบ่งเป็น นครราชสีมา 7 ราย และ ลำพูน 1 ราย ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากสายพันธุ์ 2009 สิ่งสำคัญคือต้องดูแลสุขภาพตัวเอง เน้นกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และหากไอ จามควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันการกระจายของโรค
ผู้สื่อข่าวถามว่าจากข่าวในสังคมออนไลน์ทำให้ประชาชนกังวลว่า ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกงจะระบาดมาไทยและมีความรุนแรง นพ.โสภณ กล่าวว่า ต้องขอความร่วมมือทุกฝ่าย ก่อนเผยแพร่ข่าวสารใดๆ ขอให้มีการสอบถามอย่างรอบด้าน เพื่อป้องกันการแตกตื่นจนเกินเหตุ อย่างไรก็ตาม กรมฯไม่ได้นิ่งเฉย ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานกับกระทรวงคมนาคม ขอความร่วมมือการเดินทางต่างๆ โดยเฉพาะสายการบินต่างๆ ว่าหากพบผู้ป่วยมีอาการไอจาม ขอความร่วมมือในการสวมหน้ากากอนามัย โดยจะมีการใช้สโลแกนว่า “ไอเมื่อไรใส่หน้ากากอนามัย”
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า การตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่เพื่อแยกสายพันธุ์ จะส่งเชื้อตรวจที่สำนักระบาดวิทยา คร. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสถาบันวิจัยทางทหารของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปี 2558 พบว่า สายพันธุ์ H3NS พบมากที่สุดร้อยละ 68 รองลงมาคือ สายพันธุ์บี ร้อยละ 24 และสายพันธุ์ 2009 ร้อยละ 4 ส่วนสายพันธุ์ H3N2 ที่ระบาดหนักในฮ่องกง เป็นสายพันธุ์ เอ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์ H3N2 ที่ไทยเคยพบเมื่อปีที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวถามว่าจากการแยกสายพันธุ์นั้น ประเทศไทยพบสายพันธุ์ที่ระบาดในฮ่องกงหรือไม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า สายพันธุ์ H3N2 ที่พบกว่าร้อยละ 68 พบเป็นสายพันธุ์เอ สวิตเซอร์แลนด์ที่พบในฮ่องกงเกือบร้อยละ 90 หากคิดง่ายๆ คือ มีผู้ป่วยอยู่กว่า 10,000 ราย พบเป็นสายพันธุ์เดียวกับฮ่องกงร้อยละ 50 ซึ่งยังไม่มาก ที่สำคัญเชื้อนี้ในไทยยังไม่รุนแรง ไม่มีการกลายพันธุ์ และไม่พบการดื้อยา จึงไม่ต้องกังวล ส่วนที่ฮ่องกงมีผู้เสียชีวิตมาก ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยง ทั้งผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และไม่ฉีดวัคซีนป้องกัน ส่วนไทยไม่ประมาท แม้จะพบผู้ป่วย แต่สามารถควบคุมโรคได้ รวมทั้งสธ.มีมาตรการในการเฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ โดย เม.ย. นี้ จะนำเข้าวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ กว่า 3.5 ล้านโดส ฉีดให้กลุ่มเสี่ยงต่างๆ ก่อน
“วัคซีนปีนี้สายพันธุ์จะเปลี่ยนไป เพราะการระบาในแต่ละปีสายพันธุ์จะหมุนเวียนกันไปในแต่ละประเทศ โดยวัคซีน 3 สายพันธุ์ปีนี้ ประกอบด้วย H1N1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดิมในปี 2557 สายพันธุ์บี ปีนี้เป็นสายพันธุ์จากภูเก็ต และ H3N2 สวิตเซอร์แลนด์ โดยจะฉีดวัคซีนเร็วขึ้นตั้งแต่ เม.ย. นี้ เป็นต้นไป จากเดิมจะเริ่มฉีดให้ช่วง พ.ค. นอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ยังเตรียมพร้อมยาโอเซลทามิเวียร์ ขณะนี้มีวัตถุดิบในการผลิตประมาณ 3,000 กิโลกรัม สามารถผลิตยาได้ถึง 30 ล้านเม็ด” รองอธิบดี คร. กล่าว
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผอ.อภ. กล่าวว่า ขณะนี้ อภ. มียาโอเซลทามิเวียร์อยู่ในสต๊อกประมาณ 1 ล้านเม็ด พร้อมที่จะกระจายให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ และมีวัตถุดิบที่พร้อมตอกเม็ดเพื่อใช้ภายในประเทศ เรื่องนี้ไม่ต้องเป็นห่วง อภ. จะดูแลให้ เพราะยาโอเซลทามิเวียร์มีความจำเป็นต่อผู้ป่วยมาก หากได้รับยาล่าช้าจะเกิดความสูญเสียถึงแก่ชีวิต
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (2 มี.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังประชุมวอร์รูมเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A H3N2 ที่ระบาดในฮ่องกง ว่า จากการติดตามพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3N2 ในฮ่องกง 383 ราย เสียชีวิต 283 ราย และพบการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 (ไข้หวัด 2009) ที่อินเดีย มีผู้ป่วยสะสม 16,235 ราย เสียชีวิต 926 ราย ส่วนประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 23 ก.พ. 2558 มีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ 10,032 ราย เสียชีวิต 8 ราย แบ่งเป็น นครราชสีมา 7 ราย และ ลำพูน 1 ราย ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากสายพันธุ์ 2009 สิ่งสำคัญคือต้องดูแลสุขภาพตัวเอง เน้นกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และหากไอ จามควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันการกระจายของโรค
ผู้สื่อข่าวถามว่าจากข่าวในสังคมออนไลน์ทำให้ประชาชนกังวลว่า ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกงจะระบาดมาไทยและมีความรุนแรง นพ.โสภณ กล่าวว่า ต้องขอความร่วมมือทุกฝ่าย ก่อนเผยแพร่ข่าวสารใดๆ ขอให้มีการสอบถามอย่างรอบด้าน เพื่อป้องกันการแตกตื่นจนเกินเหตุ อย่างไรก็ตาม กรมฯไม่ได้นิ่งเฉย ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานกับกระทรวงคมนาคม ขอความร่วมมือการเดินทางต่างๆ โดยเฉพาะสายการบินต่างๆ ว่าหากพบผู้ป่วยมีอาการไอจาม ขอความร่วมมือในการสวมหน้ากากอนามัย โดยจะมีการใช้สโลแกนว่า “ไอเมื่อไรใส่หน้ากากอนามัย”
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า การตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่เพื่อแยกสายพันธุ์ จะส่งเชื้อตรวจที่สำนักระบาดวิทยา คร. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสถาบันวิจัยทางทหารของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปี 2558 พบว่า สายพันธุ์ H3NS พบมากที่สุดร้อยละ 68 รองลงมาคือ สายพันธุ์บี ร้อยละ 24 และสายพันธุ์ 2009 ร้อยละ 4 ส่วนสายพันธุ์ H3N2 ที่ระบาดหนักในฮ่องกง เป็นสายพันธุ์ เอ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์ H3N2 ที่ไทยเคยพบเมื่อปีที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวถามว่าจากการแยกสายพันธุ์นั้น ประเทศไทยพบสายพันธุ์ที่ระบาดในฮ่องกงหรือไม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า สายพันธุ์ H3N2 ที่พบกว่าร้อยละ 68 พบเป็นสายพันธุ์เอ สวิตเซอร์แลนด์ที่พบในฮ่องกงเกือบร้อยละ 90 หากคิดง่ายๆ คือ มีผู้ป่วยอยู่กว่า 10,000 ราย พบเป็นสายพันธุ์เดียวกับฮ่องกงร้อยละ 50 ซึ่งยังไม่มาก ที่สำคัญเชื้อนี้ในไทยยังไม่รุนแรง ไม่มีการกลายพันธุ์ และไม่พบการดื้อยา จึงไม่ต้องกังวล ส่วนที่ฮ่องกงมีผู้เสียชีวิตมาก ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยง ทั้งผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และไม่ฉีดวัคซีนป้องกัน ส่วนไทยไม่ประมาท แม้จะพบผู้ป่วย แต่สามารถควบคุมโรคได้ รวมทั้งสธ.มีมาตรการในการเฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ โดย เม.ย. นี้ จะนำเข้าวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ กว่า 3.5 ล้านโดส ฉีดให้กลุ่มเสี่ยงต่างๆ ก่อน
“วัคซีนปีนี้สายพันธุ์จะเปลี่ยนไป เพราะการระบาในแต่ละปีสายพันธุ์จะหมุนเวียนกันไปในแต่ละประเทศ โดยวัคซีน 3 สายพันธุ์ปีนี้ ประกอบด้วย H1N1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดิมในปี 2557 สายพันธุ์บี ปีนี้เป็นสายพันธุ์จากภูเก็ต และ H3N2 สวิตเซอร์แลนด์ โดยจะฉีดวัคซีนเร็วขึ้นตั้งแต่ เม.ย. นี้ เป็นต้นไป จากเดิมจะเริ่มฉีดให้ช่วง พ.ค. นอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ยังเตรียมพร้อมยาโอเซลทามิเวียร์ ขณะนี้มีวัตถุดิบในการผลิตประมาณ 3,000 กิโลกรัม สามารถผลิตยาได้ถึง 30 ล้านเม็ด” รองอธิบดี คร. กล่าว
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผอ.อภ. กล่าวว่า ขณะนี้ อภ. มียาโอเซลทามิเวียร์อยู่ในสต๊อกประมาณ 1 ล้านเม็ด พร้อมที่จะกระจายให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ และมีวัตถุดิบที่พร้อมตอกเม็ดเพื่อใช้ภายในประเทศ เรื่องนี้ไม่ต้องเป็นห่วง อภ. จะดูแลให้ เพราะยาโอเซลทามิเวียร์มีความจำเป็นต่อผู้ป่วยมาก หากได้รับยาล่าช้าจะเกิดความสูญเสียถึงแก่ชีวิต
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่