สธ. เทงบ 10 ล้านบาท เตรียมสำรวจสุขภาพชาวบ้านรอบเหมืองทอง เร่งคัดกรองชาวบ้านรอบเหมือง 20 - 27 ก.พ. 14 หมู่บ้าน 3 อำเภอ กว่า 6,000 คน หากพบความเสี่ยง จะตรวจหาการปนเปื้อนสารโลหะหนัก พร้อมวางแผนดูแลต่อเนื่องยาว 3 ปี
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมพื้นที่รอบเหมืองทอง อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ว่า จากการประชุมร่วมกันระหว่างกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จ.พิจิตร เพชรบูรณ์ และ พิษณุโลก ได้ข้อสรุปว่า จะดำเนินการสำรวจสุขภาพชาวบ้านรอบเหมืองทอง เบื้องต้นใช้ทีมประมาณ 6 - 7 ทีม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ตรวจพบโลหะหนัก คือ สารหนูและแมงกานีสในเลือดแล้ว จำนวน 401 คน กลุ่มนี้จะอยู่ติดเหมืองมี 3 หมู่บ้าน กำหนดลงพื้นที่ในวันที่ 1 - 10 มี.ค. และ 2. ตรวจคัดกรองชาวบ้านทั่วไปรอบเหมืองในลักษณะเดียวกันอย่างเร่งด่วน วันที่ 20 - 27 ก.พ. จำนวน 14 หมู่บ้านใน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ และอ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก รวม 6,000 กว่าคน
“หากรายใดมีพฤติกรรมเสี่ยงจะทำการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ เพื่อหาการปนเปื้อนสารโลหะหนัก และวางแผนดูแลต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี เบื้องต้นคาดว่าใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท จะทราบผลในกลาง มี.ค. 2558 หลังจากนั้น จึงวางแผนระยะยาวในช่วง 3 เดือน 6 เดือนและ 1 ปี เพื่อเฝ้าระวังดูแลสุขภาพประชาชน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและอาหารบริโภคควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง จะให้การแก้ไขเป็นระบบ โดยเฉพาะการป้องกันอันตรายต่อประชาชน” ปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมพื้นที่รอบเหมืองทอง อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ว่า จากการประชุมร่วมกันระหว่างกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จ.พิจิตร เพชรบูรณ์ และ พิษณุโลก ได้ข้อสรุปว่า จะดำเนินการสำรวจสุขภาพชาวบ้านรอบเหมืองทอง เบื้องต้นใช้ทีมประมาณ 6 - 7 ทีม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ตรวจพบโลหะหนัก คือ สารหนูและแมงกานีสในเลือดแล้ว จำนวน 401 คน กลุ่มนี้จะอยู่ติดเหมืองมี 3 หมู่บ้าน กำหนดลงพื้นที่ในวันที่ 1 - 10 มี.ค. และ 2. ตรวจคัดกรองชาวบ้านทั่วไปรอบเหมืองในลักษณะเดียวกันอย่างเร่งด่วน วันที่ 20 - 27 ก.พ. จำนวน 14 หมู่บ้านใน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ และอ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก รวม 6,000 กว่าคน
“หากรายใดมีพฤติกรรมเสี่ยงจะทำการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ เพื่อหาการปนเปื้อนสารโลหะหนัก และวางแผนดูแลต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี เบื้องต้นคาดว่าใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท จะทราบผลในกลาง มี.ค. 2558 หลังจากนั้น จึงวางแผนระยะยาวในช่วง 3 เดือน 6 เดือนและ 1 ปี เพื่อเฝ้าระวังดูแลสุขภาพประชาชน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและอาหารบริโภคควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง จะให้การแก้ไขเป็นระบบ โดยเฉพาะการป้องกันอันตรายต่อประชาชน” ปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่