เตือนไหว้ตรุษจีนปักธูปลงของเซ่นไหว้ เสี่ยงรับสารเคมีอื้อ ทั้งตะกั่ว ปรอท สารหนู ก่อพิษเฉียบพลัน และระยะยาว สะสมนานถึงขั้นมะเร็ง ย้ำใช้กระถางธูปแยกต่างหาก สธ.แนะวิธีเลือกซื้ออาหารสด ผัก ผลไม้ เลี่ยงกินอาหารหวาน มัน เค็ม เน้นถั่ว ธัญพืชสกัดพิษจากแป้ง เสริมผลไม้ พ่วงออกกำลังกาย
วันนี้ (16 ก.พ.) ที่ศาลเจ้าซอยเล่งป๋วยเอี๊ยะ ถ.เยาวราช ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดงาน “รณรงค์ตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย ในช่วงเทศกาลตรุษจีน” ร่วมกับสำนักอนามัย กทม. พร้อมแจกเอกสารคำแนะนำความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย การล้างผัก การเลือกเนื้อสัตว์แก่ประชาชน พ่อค้าแม่ค้า จำนวน 400 ชุด และสาธิตการล้างผักผลไม้ และการเลือกซื้ออาหารไหว้เจ้า ว่า ก่อนช่วงตรุษจีน 1 - 2 สัปดาห์ ได้ให้กรมอนามัย ประสาน กทม. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ให้ความรู้ประชาชนในการเลือกซื้ออาหารและการปรุง เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งทั่วประเทศมีรายงานปีละกว่า 1 ล้านราย รวมทั้งการปนเปื้อนสารอันตราย เนื่องจากช่วงตรุษจีนจะมีการซื้อาอาหารคาว หวาน ผลไม้ มาเซ่นไหว้ตามประเพณีจำนวนมาก ทั้งนี้ ขอแนะนำประชาชนให้ยึดหลัก 4 ส. 1 ร. คือซื้อของสด ทำให้สะอาด ปรุงให้สุก เก็บใส่ตู้เย็น เน้นรับประทานขณะร้อน
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า ที่น่าห่วงคือ ประชาชนบางส่วนยังนิยมปักธูปในอาหารและผลไม้ขณะเซ่นไหว้ มีความเสี่ยงได้รับสารพิษจากสีย้อมก้านธูปที่อาจละลายลงในอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีย้อมผ้า มีสารเคมีหลายตัว อาทิ สารตะกั่ว ปรอท สารหนู โครเมียม เป็นต้น ซึ่งความร้อนไม่สามารถทำลายได้ เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการทั้งแบบเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย และระยะยาว เช่น มะเร็ง จึงขอให้ปักธูปในกระถางแยกต่างหากจากของไหว้
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การซื้อของสด เช่น เป็ด ไก่ ต้องดูตัวที่เนื้อแน่น สีสด ไม่ซีดหรือมีจ้ำเขียว ไม่มีแผลตามตัว ลูกตาไม่ลึกบุ๋ม ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีเมือกที่ผิวหนัง และไม่มีเลือดคั่งหรือจุดแดงกระจายตามผิวหนัง ซึ่งเป็นลักษณะบ่งชี้ว่าอาจตายด้วยโรคติดเชื้อ จากนั้นล้างให้สะอาด 2 - 3 ครั้ง โดยเฉพาะในช่องท้อง การปรุงให้สุกควรใช้ความร้อนไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส หากแช่แข็งไว้ไม่ควรนำมาต้มทันที เพราะจะทำให้เนื้อด้านในติดกระดูก ไม่สุก ควรนำออกมาแช่เย็นช่องธรรมดา 1 คืนก่อนต้ม เพื่อน้ำแข็งละลาย ทั้งนี้ หลังเสร็จพิธีแล้วให้ใช้ความร้อนทำให้สุกอีกครั้ง เช่น ต้ม ทอดหรือผัด ส่วนผัก ผลไม้ ต้องดูที่สะอาดไม่มีเศษดิน โคลน หรือมูลสัตว์ติด ผักใบควรมีร่องรอยแมลงกัดแทะบ้าง ล้างด้วยน้ำเปล่าก่อน 1 ครั้ง จากนั้นนำมาแช่ในน้ำผสมเกลือ น้ำส้มสายชู หรือ เบคกิงโซดา 15 - 30 นาที แล้วล้างด้วยน้ำเปล่าอีก 2 ครั้ง
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การกินอาหารตรุษจีนให้มีสุขภาพ เพื่อเป็นมงคลยิ่งขึ้น ควรเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม ที่อาจก่อโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง โดยควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มีไขมันหรือมีน้อย เลี่ยงกินเครื่องในเพราะมียูริกสูง และควรปรุงอาหารด้วยหลักการคั่วหรือผัดด้วยน้ำมันน้อยๆ ใช้สมุนไพรลดไขมัน เช่น ขิง กระเทียม ขึ้นฉ่าย สำหรับขนมไหว้ที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบควรเพิ่มถั่วและธัญพืช เพราะช่วยล้างพิษจากแป้งและความหวาน เช่น ขนมไส้ถั่วทั้งหลาย ขนมตุ้บตั้บ ขนมเปี๊ยะ ส่วนขนมเข่งวิธีกินให้สุขภาพดีคือไม่เอาไปทอด นอกจากนี้ ควรรับประทานผลไม้ร่วมด้วย เช่น ส้ม มีวิตามินเพิ่มคอลลาเจนและเส้นใย ลดไขมัน แอปเปิ้ลหรือกล้วยหอม มีสารต้านอนุมูลอิสระ และควรดื่มชาร้อน ช่วยลดการอักเสบและไขมัน รวมถึงออกกำลังกายเผาผลาญไขมัน ร่วมดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ชะล้างสารพิษ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
วันนี้ (16 ก.พ.) ที่ศาลเจ้าซอยเล่งป๋วยเอี๊ยะ ถ.เยาวราช ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดงาน “รณรงค์ตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย ในช่วงเทศกาลตรุษจีน” ร่วมกับสำนักอนามัย กทม. พร้อมแจกเอกสารคำแนะนำความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย การล้างผัก การเลือกเนื้อสัตว์แก่ประชาชน พ่อค้าแม่ค้า จำนวน 400 ชุด และสาธิตการล้างผักผลไม้ และการเลือกซื้ออาหารไหว้เจ้า ว่า ก่อนช่วงตรุษจีน 1 - 2 สัปดาห์ ได้ให้กรมอนามัย ประสาน กทม. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ให้ความรู้ประชาชนในการเลือกซื้ออาหารและการปรุง เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งทั่วประเทศมีรายงานปีละกว่า 1 ล้านราย รวมทั้งการปนเปื้อนสารอันตราย เนื่องจากช่วงตรุษจีนจะมีการซื้อาอาหารคาว หวาน ผลไม้ มาเซ่นไหว้ตามประเพณีจำนวนมาก ทั้งนี้ ขอแนะนำประชาชนให้ยึดหลัก 4 ส. 1 ร. คือซื้อของสด ทำให้สะอาด ปรุงให้สุก เก็บใส่ตู้เย็น เน้นรับประทานขณะร้อน
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า ที่น่าห่วงคือ ประชาชนบางส่วนยังนิยมปักธูปในอาหารและผลไม้ขณะเซ่นไหว้ มีความเสี่ยงได้รับสารพิษจากสีย้อมก้านธูปที่อาจละลายลงในอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีย้อมผ้า มีสารเคมีหลายตัว อาทิ สารตะกั่ว ปรอท สารหนู โครเมียม เป็นต้น ซึ่งความร้อนไม่สามารถทำลายได้ เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการทั้งแบบเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย และระยะยาว เช่น มะเร็ง จึงขอให้ปักธูปในกระถางแยกต่างหากจากของไหว้
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การซื้อของสด เช่น เป็ด ไก่ ต้องดูตัวที่เนื้อแน่น สีสด ไม่ซีดหรือมีจ้ำเขียว ไม่มีแผลตามตัว ลูกตาไม่ลึกบุ๋ม ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีเมือกที่ผิวหนัง และไม่มีเลือดคั่งหรือจุดแดงกระจายตามผิวหนัง ซึ่งเป็นลักษณะบ่งชี้ว่าอาจตายด้วยโรคติดเชื้อ จากนั้นล้างให้สะอาด 2 - 3 ครั้ง โดยเฉพาะในช่องท้อง การปรุงให้สุกควรใช้ความร้อนไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส หากแช่แข็งไว้ไม่ควรนำมาต้มทันที เพราะจะทำให้เนื้อด้านในติดกระดูก ไม่สุก ควรนำออกมาแช่เย็นช่องธรรมดา 1 คืนก่อนต้ม เพื่อน้ำแข็งละลาย ทั้งนี้ หลังเสร็จพิธีแล้วให้ใช้ความร้อนทำให้สุกอีกครั้ง เช่น ต้ม ทอดหรือผัด ส่วนผัก ผลไม้ ต้องดูที่สะอาดไม่มีเศษดิน โคลน หรือมูลสัตว์ติด ผักใบควรมีร่องรอยแมลงกัดแทะบ้าง ล้างด้วยน้ำเปล่าก่อน 1 ครั้ง จากนั้นนำมาแช่ในน้ำผสมเกลือ น้ำส้มสายชู หรือ เบคกิงโซดา 15 - 30 นาที แล้วล้างด้วยน้ำเปล่าอีก 2 ครั้ง
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การกินอาหารตรุษจีนให้มีสุขภาพ เพื่อเป็นมงคลยิ่งขึ้น ควรเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม ที่อาจก่อโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง โดยควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มีไขมันหรือมีน้อย เลี่ยงกินเครื่องในเพราะมียูริกสูง และควรปรุงอาหารด้วยหลักการคั่วหรือผัดด้วยน้ำมันน้อยๆ ใช้สมุนไพรลดไขมัน เช่น ขิง กระเทียม ขึ้นฉ่าย สำหรับขนมไหว้ที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบควรเพิ่มถั่วและธัญพืช เพราะช่วยล้างพิษจากแป้งและความหวาน เช่น ขนมไส้ถั่วทั้งหลาย ขนมตุ้บตั้บ ขนมเปี๊ยะ ส่วนขนมเข่งวิธีกินให้สุขภาพดีคือไม่เอาไปทอด นอกจากนี้ ควรรับประทานผลไม้ร่วมด้วย เช่น ส้ม มีวิตามินเพิ่มคอลลาเจนและเส้นใย ลดไขมัน แอปเปิ้ลหรือกล้วยหอม มีสารต้านอนุมูลอิสระ และควรดื่มชาร้อน ช่วยลดการอักเสบและไขมัน รวมถึงออกกำลังกายเผาผลาญไขมัน ร่วมดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ชะล้างสารพิษ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่