สธ. กำชับ สสจ. 9 จังหวัด เฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพจากหมอกควันไฟป่า อาทิ โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคผิวหนัง และตาอักเสบ ย้ำเตือน 7 กลุ่มเสี่ยง เช่นหญิงตั้งครรภ์ โรคหอบหืด อาจป่วยง่ายกว่าคนทั่วไป ให้กรมควบคุมโรคสำรองหน้ากากอนามัย 270,000 ชิ้น เพื่อแจกจ่ายพื้นที่ทันทีหากคุณภาพอากาศไม่ปลอดภัย เผยจนถึงขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยจากหมอกควัน
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลได้เร่งดำเนินป้องกันปัญหาไฟป่าอย่างเต็มที่ โดยในส่วนของการดูแลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 9 จังหวัด (จว.) ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ตาก และให้โรงพยาบาลทุกระดับที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว จัดเตรียมเครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ ยาประจำห้องฉุกเฉินต่างๆ เพื่อให้บริการประชาชนที่เจ็บป่วยได้อย่างทันท่วงที มีความพร้อม 100 เปอร์เซ็นต์ตลอดเวลา ให้แต่ละพื้นที่เตรียมทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ลงพื้นที่ทันทีเมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเกี่ยวข้องกับหมอกควัน เพื่อดำเนินการควบคุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดผลกระทบเร็วที่สุด และขอความร่วมมือ อสม. รณรงค์ประชาชนในหมู่บ้านงดเผาป่า เผาหญ้า/วัชพืช หรือ ขยะ เพื่อลดมลพิษในอากาศ ทั้งนี้ ได้ให้กรมควบคุมโรคสำรองหน้ากากอนามัยจำนวน 270,000 ชิ้น เพื่อแจกจ่ายให้พื้นที่ป้องกันการสูดฝุ่นละอองฝุ่นเข้าปอด หากคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัย และได้แจกให้ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนแล้ว 150,000 ชิ้น
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า มลพิษจากหมอกควันไฟที่เกิดจากการเผาป่า เผาขยะ เผาวัชพืช จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ 4 ระบบ ได้แก่ 1. ระคายเคืองทางเดินหายใจ 2. โรคหัวใจและหลอดเลือด 3. ระคายเคืองตา ตาอักเสบ และ 4. กลุ่มผิวหนังอักเสบ ทั้งนี้ อาการความรุนแรง ขึ้นกับระยะเวลาการสัมผัส อายุ ความต้านทานแต่ละบุคคล ความเข้มข้นของมลพิษ ประวัติการป่วยเป็นโรคปอดหรือโรคหัวใจและอื่นๆ อยู่แล้ว อาการที่ปรากฏเริ่มตั้งแต่ขั้นเล็กน้อยจนถึงรุนแรง ได้แก่ แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล คอแห้ง ระคายคอ ไอ เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจติดขัด ผลจากการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยในโรงพยาบาล 22 แห่งในพื้นที่ ยังไม่พบความผิดปกติจากปัญหาหมอกควัน
สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงเจ็บป่วยจากปัญหาฝุ่นควันไฟ ง่ายกว่าคนทั่วๆไปที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ มี 7 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มเด็ก 2. หญิงตั้งครรภ์ 3. ผู้สูงอายุ 4. ผู้ป่วยโรคหอบหืด 5. ผู้ป่วยโรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง 6. ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ และ 7. ผู้ป่วยโรคหัวใจ จึงขอแนะนำให้กลุ่มเสี่ยงที่กล่าวมา ให้ติดตามคุณภาพอากาศอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการสูดละอองหมอกควัน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก โดยเฉพาะในช่วงที่ค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน คือ เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพื่อลดการสัมผัสกับฝุ่น หรือมลพิษเข้าปอด งดกิจกรรมกลางแจ้ง และสังเกตอาการของตนเองและสำรองยาให้เพียงพอ หากมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม แสบตา ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลได้เร่งดำเนินป้องกันปัญหาไฟป่าอย่างเต็มที่ โดยในส่วนของการดูแลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 9 จังหวัด (จว.) ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ตาก และให้โรงพยาบาลทุกระดับที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว จัดเตรียมเครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ ยาประจำห้องฉุกเฉินต่างๆ เพื่อให้บริการประชาชนที่เจ็บป่วยได้อย่างทันท่วงที มีความพร้อม 100 เปอร์เซ็นต์ตลอดเวลา ให้แต่ละพื้นที่เตรียมทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ลงพื้นที่ทันทีเมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเกี่ยวข้องกับหมอกควัน เพื่อดำเนินการควบคุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดผลกระทบเร็วที่สุด และขอความร่วมมือ อสม. รณรงค์ประชาชนในหมู่บ้านงดเผาป่า เผาหญ้า/วัชพืช หรือ ขยะ เพื่อลดมลพิษในอากาศ ทั้งนี้ ได้ให้กรมควบคุมโรคสำรองหน้ากากอนามัยจำนวน 270,000 ชิ้น เพื่อแจกจ่ายให้พื้นที่ป้องกันการสูดฝุ่นละอองฝุ่นเข้าปอด หากคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัย และได้แจกให้ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนแล้ว 150,000 ชิ้น
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า มลพิษจากหมอกควันไฟที่เกิดจากการเผาป่า เผาขยะ เผาวัชพืช จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ 4 ระบบ ได้แก่ 1. ระคายเคืองทางเดินหายใจ 2. โรคหัวใจและหลอดเลือด 3. ระคายเคืองตา ตาอักเสบ และ 4. กลุ่มผิวหนังอักเสบ ทั้งนี้ อาการความรุนแรง ขึ้นกับระยะเวลาการสัมผัส อายุ ความต้านทานแต่ละบุคคล ความเข้มข้นของมลพิษ ประวัติการป่วยเป็นโรคปอดหรือโรคหัวใจและอื่นๆ อยู่แล้ว อาการที่ปรากฏเริ่มตั้งแต่ขั้นเล็กน้อยจนถึงรุนแรง ได้แก่ แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล คอแห้ง ระคายคอ ไอ เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจติดขัด ผลจากการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยในโรงพยาบาล 22 แห่งในพื้นที่ ยังไม่พบความผิดปกติจากปัญหาหมอกควัน
สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงเจ็บป่วยจากปัญหาฝุ่นควันไฟ ง่ายกว่าคนทั่วๆไปที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ มี 7 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มเด็ก 2. หญิงตั้งครรภ์ 3. ผู้สูงอายุ 4. ผู้ป่วยโรคหอบหืด 5. ผู้ป่วยโรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง 6. ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ และ 7. ผู้ป่วยโรคหัวใจ จึงขอแนะนำให้กลุ่มเสี่ยงที่กล่าวมา ให้ติดตามคุณภาพอากาศอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการสูดละอองหมอกควัน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก โดยเฉพาะในช่วงที่ค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน คือ เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพื่อลดการสัมผัสกับฝุ่น หรือมลพิษเข้าปอด งดกิจกรรมกลางแจ้ง และสังเกตอาการของตนเองและสำรองยาให้เพียงพอ หากมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม แสบตา ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่