เร่งพัฒนาแรงงานโลจิสติกส์ ตั้งเป้าผลิตปีละ 1 พันคน กระตุ้นแรงงานไทยตื่นตัวเรื่องฝึกภาษา ด้านนายกสมาคมฯคาดหลังเปิดเออีซีอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ต้องการแรงงานเพิ่ม 3 ล้านคน
วันนี้ (13 ก.พ.) ที่โรงแรมปริ้นส์ตั้น พาร์ค สวีท ดินแดง กรุงเทพฯ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับบุคคลากรด้านโลจิสติกส์มืออาชีพ ด้วยระบบมาตรฐานฝีมือแรงงานวิชาชีพสู่สากล ว่า กลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เป็น 1 ใน 12 สาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพด้านการค้าเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งกพร. จะร่วมกับสมาคมวิชาชีพและภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เร่งพัฒนาแรงงานด้านนี้ โดยล่าสุดคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) ได้ให้ความเห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนากำลังแรงงานด้านโลจิสติกส์เพื่อจัดทำแผนพัฒนากำลังคนด้านนี้รองรับเออีซีและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
อธิบดี กพร. กล่าวอีกว่า ปัจจุบันชาวต่างชาติมีความตื่นตัวในการฝึกทักษะภาษาต่างประเทศมาก ขณะที่คนไทยมีความตื่นตัวน้อย จึงอยากฝากแรงงานไทยหันมาใส่ใจในเรื่องทักษะภาษาต่างประเทศมากขึ้น เพราะภาษาต่างประเทศมีความจำเป็นในการติดต่อธุรกิจในปัจจุบัน ดังนั้น กพร. จะส่งเสริมการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ โดยให้มีการใช้แอปพลิเคชันแฮปปี้ทอล์ก จัดทำคู่มือภาษาอาเซียนของประเทศต่างๆ เพื่อให้แรงงานนำไปใช้ประโยชน์ในการสื่อสาร รวมทั้งสนับสนุนให้สถานประกอบการอบรมภาษาต่างประเทศให้แก่พนักงานโดยใช้หลักสูตรออนไลน์ และต่อยอดอบรมความรู้เพื่อพัฒนาทักษะเพิ่มเติมกับ กพร.
ด้านนายสุวัฒน์ นวลขาว นายกสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต (TLAPS) กล่าวว่า ปัจจุบันมีกำลังแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ประมาณ 5 ล้านคน และสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิตได้ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ในการพัฒนากำลังแรงงานเบื้องต้นได้จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 4 สาขา ประกอบด้วย ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง ผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า และนักบริหารการขนส่งสินค้าทางถนน โดยขณะนี้มีผู้เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติจำนวน 720 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีวุฒิตั้งแต่ ปวช.- ปริญญาโท และจะสิ้นสุดการจัดทดสอบระดับ 1 - 2 จากทั้งหมด 4 ระดับ ในเดือนมีนาคมนี้ โดยเบื้องต้นมีผู้ผ่านการทดสอบแล้วกว่า 100 คน ซึ่งผู้ผ่านจะได้ใบรับรองความสามารถ เพื่อเป็นใบเบิกทางในการมีงานทำ และต่อยอดด้านอาชีพ รวมทั้งสมาคมฯได้ร่วมกับ กพร. ตั้งคณะทำงานจัดทำอัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือแรงงาน คาดว่า จะมีผลบังคับใช้ในปี 2559
ทั้งนี้ สมาคมฯตั้งเป้าหมายพัฒนาแรงงานด้านโลจิสติกส์ให้ได้ปีละ 1,000 คน ขณะเดียวกัน เมื่อเปิดเออีซีแล้วคาดว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะมีความต้องการแรงงานกว่า 3 ล้านคน เนื่องจากอุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีความเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน เช่น การขนส่ง คลังสินค้า การบริหารจัดการ และ การดูแลลูกค้า
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (13 ก.พ.) ที่โรงแรมปริ้นส์ตั้น พาร์ค สวีท ดินแดง กรุงเทพฯ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับบุคคลากรด้านโลจิสติกส์มืออาชีพ ด้วยระบบมาตรฐานฝีมือแรงงานวิชาชีพสู่สากล ว่า กลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เป็น 1 ใน 12 สาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพด้านการค้าเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งกพร. จะร่วมกับสมาคมวิชาชีพและภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เร่งพัฒนาแรงงานด้านนี้ โดยล่าสุดคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) ได้ให้ความเห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนากำลังแรงงานด้านโลจิสติกส์เพื่อจัดทำแผนพัฒนากำลังคนด้านนี้รองรับเออีซีและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
อธิบดี กพร. กล่าวอีกว่า ปัจจุบันชาวต่างชาติมีความตื่นตัวในการฝึกทักษะภาษาต่างประเทศมาก ขณะที่คนไทยมีความตื่นตัวน้อย จึงอยากฝากแรงงานไทยหันมาใส่ใจในเรื่องทักษะภาษาต่างประเทศมากขึ้น เพราะภาษาต่างประเทศมีความจำเป็นในการติดต่อธุรกิจในปัจจุบัน ดังนั้น กพร. จะส่งเสริมการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ โดยให้มีการใช้แอปพลิเคชันแฮปปี้ทอล์ก จัดทำคู่มือภาษาอาเซียนของประเทศต่างๆ เพื่อให้แรงงานนำไปใช้ประโยชน์ในการสื่อสาร รวมทั้งสนับสนุนให้สถานประกอบการอบรมภาษาต่างประเทศให้แก่พนักงานโดยใช้หลักสูตรออนไลน์ และต่อยอดอบรมความรู้เพื่อพัฒนาทักษะเพิ่มเติมกับ กพร.
ด้านนายสุวัฒน์ นวลขาว นายกสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต (TLAPS) กล่าวว่า ปัจจุบันมีกำลังแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ประมาณ 5 ล้านคน และสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิตได้ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ในการพัฒนากำลังแรงงานเบื้องต้นได้จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 4 สาขา ประกอบด้วย ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง ผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า และนักบริหารการขนส่งสินค้าทางถนน โดยขณะนี้มีผู้เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติจำนวน 720 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีวุฒิตั้งแต่ ปวช.- ปริญญาโท และจะสิ้นสุดการจัดทดสอบระดับ 1 - 2 จากทั้งหมด 4 ระดับ ในเดือนมีนาคมนี้ โดยเบื้องต้นมีผู้ผ่านการทดสอบแล้วกว่า 100 คน ซึ่งผู้ผ่านจะได้ใบรับรองความสามารถ เพื่อเป็นใบเบิกทางในการมีงานทำ และต่อยอดด้านอาชีพ รวมทั้งสมาคมฯได้ร่วมกับ กพร. ตั้งคณะทำงานจัดทำอัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือแรงงาน คาดว่า จะมีผลบังคับใช้ในปี 2559
ทั้งนี้ สมาคมฯตั้งเป้าหมายพัฒนาแรงงานด้านโลจิสติกส์ให้ได้ปีละ 1,000 คน ขณะเดียวกัน เมื่อเปิดเออีซีแล้วคาดว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะมีความต้องการแรงงานกว่า 3 ล้านคน เนื่องจากอุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีความเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน เช่น การขนส่ง คลังสินค้า การบริหารจัดการ และ การดูแลลูกค้า
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่