โดย...นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
“พลังงานใกล้จะหมดจากเมืองไทย ก่อนที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะขาดแคลน จึงต้องรีบเปิดสัมปทานรอบที่ 21” นี่คือเหตุผลประการสำคัญที่สายหนุนการสัมปทานพลังงานเชียร์ว่าต้องรีบเปิดสัมปทานโดยเร็ว แต่แท้จริงนี่คือการเจตนาบิดเบือน พยายามสรุปประเด็นให้ผิดเพื่อหวังให้คนหลงเชื่ออย่างผิดๆ เพราะแท้จริงภายใต้ตรรกะนี้ จะต้องสรุปว่า “เราควรรีบเปิดให้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาก๊าซในแปลงสัมปทานเดิมที่จะหมดลง แต่อาจจะใช้การสัมปทานหรือการแบ่งปันผลผลิตก็ได้ โดยเลือกวิธีที่ประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด” นี่จึงเป็นตรรกะที่ถูกต้องและไม่หลอกลวงประชาชน
เมื่อต้องมีการเปิดให้สำรวจและผลิตปิโตรเลียมนั้น เรามีทางเลือกหลักๆสองระบบให้เลือก คือ ระบบสัปทานและระบบการแบ่งปันผลผลิต ระบบสัมปทานนั้นมีข้อกังขาจำนวนมาก โดยเฉพาะในด้านความโปร่งใส การมีโอกาสฮั้ว การมีโอกาสคอร์รัปชันรับสินบนใต้โต๊ะ การจงใจเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนบางราย ทั้งหมดนี้ล้วนไม่โปร่งใสตลอดการสัมปทาน 20 รอบที่ผ่านมา จนนำมาสู่กระแสความไม่เชื่อมั่นในการให้สัมปทานรอบที่ 21 ในครั้งนี้ และนำมาสู่การพร้อมใจของผู้คนที่ขอให้ใช้รูปแบบการแบ่งปันผลผลิตมาแทนที่การให้สัมปทาน
ประเทศมาเลเซียเองเมื่อก่อนก็ใช้ระบบสัมปทาน แต่เมื่อเขาสะสมความรู้ความสามารถว่าด้วยปิโตรเลียมจนมากพอที่จะไม่พึ่งพิงต่างชาติอย่างเดียวแล้ว ก็ได้เปลี่ยนจากการให้สัมปทานมาเป็นการแบ่งปันผลผลิตตั้งแต่ปี 2518 หรือเมื่อสี่สิบปีที่แล้วเป็นต้นมา แต่ผู้บริหารประเทศไทยดูเหมือนจะจงใจทำตัวไม่ฉลาด ไม่ปกป้องผลประโยชน์ชาติ ด้วยการยืนยันให้สัมปทานต่อไป
แทบไม่น่าเชื่อว่า นับตั้งแต่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งแรกในปี 2514 และผ่านยุคโชติชวงชัชวาลสมัยป๋าเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันประเทศไทยมีการเปิดสัมปทานไปแล้วถึง 20 รอบ แต่สัญญาสัมปทานนั้นปกปิดมิดชิด ทำให้ยากที่จะกำกับได้ว่า ประเทศชาติได้ประโยชน์เพียงใด แต่ที่แน่ๆ คือ บริษัทข้ามชาติขาใหญ่ที่ได้สัมปทานแปลงใหญ่ในอ่าวไทย ซึ่งก็คือ เชฟรอน และ ปตท.สผ.นั้นมีกำไรมหาศาลและร่ำรวยอู้ฟู่
เรื่องนี้หากเปรียบเทียบให้ง่าย เหมือนเรามีสวนยาง การสัมปทานก็เหมือนการให้ฝรั่งมาเหมาสวน เหมาไปเลย 39 ปี เขาให้เงินเรามาก้อนใหญ่ แต่ผลผลิตนับจากนี้ไปเขาเอาหมด ตอนตกลงราคาเหมา เราในฐานะประชาชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรกลับไม่เคยรู้ว่าเจรจากันอย่างไร ประมูลกันกี่บาท มีใต้โต๊ะไหม ใครประมูลได้ก็ยิ้มยาว 39 ปี เหมือนยกสวนให้เขาไปเลย จะเข้าไปเหยียบแผ่นดินของเราเองยังต้องขออนุญาต เขาจะสูบเอาทุกอย่างไปจากแผ่นดินเพื่อกำไรสูงสุด แต่ระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น เป็นระบบที่แบ่งผลที่ได้ตามกติกา ประดุจจ้างฝรั่งมาตัดยาง ตัดได้มาเท่าไรก็แบ่งกับเราเจ้าของประเทศ สิทธิในสวนยางยังเป็นของเรา โปร่งใส โกงยาก เขาจะขอกอบโกยใส่ยาเร่งน้ำยางเราก็ไม่อนุญาตก็ได้ นี่คือเหตุผลที่เราควรเลือกวิธีแบ่งปันผลผลิต แต่ผู้มีอำนาจและนายทุนพลังงานมักจะชอบสัมปทาน เพราะอะไร คำตอบนั้นทุกคนคงพอเดาได้
ความจริงหากกระทรวงพลังงาน จะทำการให้โปร่งใสก็ทำได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในยุคที่ คสช. มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ด้วยการนำสัญญาสัมปทานทั้ง 20 ฉบับที่ผ่านตีแผ่และนำมาศึกษา เพื่อเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่ชาติได้กับผลผลิตที่ได้ ผลกำไรหรือผลประกอบการของบริษัท และเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่หันไปใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิตมานานแล้ว โดยเปิดโอกาสให้มีการศึกษาจากหลายๆมุม หลายๆองค์กร ซึ่งจะได้เป็นการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่เปิดสัมปทานโดยไม่มีการศึกษาใดๆ ให้รอบคอบ ใช้แต่ตรรกะผิดๆมาหลอกลวงประชาชน
การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมนั้น หากเลื่อนไปประเทศชาติยังไม่เสียหาย แต่หากดันทุรังให้สัมปทานไปแล้วจะเอากลับไม่ได้ จะเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล การเปิดข้อมูลเพื่อการศึกษาโดยรอบคอบจากหลากหลายองค์กรเท่านั้น ที่จะทำให้การตัดสินใจครั้งสำคัญนี้ใช้สมองและปัญญาตัดสิน ไม่ใช่ตัดสินด้วยการใช้กำปั้นทุบโต๊ะ ซึ่งไม่ใช่วิถีของอารยชน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
“พลังงานใกล้จะหมดจากเมืองไทย ก่อนที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะขาดแคลน จึงต้องรีบเปิดสัมปทานรอบที่ 21” นี่คือเหตุผลประการสำคัญที่สายหนุนการสัมปทานพลังงานเชียร์ว่าต้องรีบเปิดสัมปทานโดยเร็ว แต่แท้จริงนี่คือการเจตนาบิดเบือน พยายามสรุปประเด็นให้ผิดเพื่อหวังให้คนหลงเชื่ออย่างผิดๆ เพราะแท้จริงภายใต้ตรรกะนี้ จะต้องสรุปว่า “เราควรรีบเปิดให้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาก๊าซในแปลงสัมปทานเดิมที่จะหมดลง แต่อาจจะใช้การสัมปทานหรือการแบ่งปันผลผลิตก็ได้ โดยเลือกวิธีที่ประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด” นี่จึงเป็นตรรกะที่ถูกต้องและไม่หลอกลวงประชาชน
เมื่อต้องมีการเปิดให้สำรวจและผลิตปิโตรเลียมนั้น เรามีทางเลือกหลักๆสองระบบให้เลือก คือ ระบบสัปทานและระบบการแบ่งปันผลผลิต ระบบสัมปทานนั้นมีข้อกังขาจำนวนมาก โดยเฉพาะในด้านความโปร่งใส การมีโอกาสฮั้ว การมีโอกาสคอร์รัปชันรับสินบนใต้โต๊ะ การจงใจเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนบางราย ทั้งหมดนี้ล้วนไม่โปร่งใสตลอดการสัมปทาน 20 รอบที่ผ่านมา จนนำมาสู่กระแสความไม่เชื่อมั่นในการให้สัมปทานรอบที่ 21 ในครั้งนี้ และนำมาสู่การพร้อมใจของผู้คนที่ขอให้ใช้รูปแบบการแบ่งปันผลผลิตมาแทนที่การให้สัมปทาน
ประเทศมาเลเซียเองเมื่อก่อนก็ใช้ระบบสัมปทาน แต่เมื่อเขาสะสมความรู้ความสามารถว่าด้วยปิโตรเลียมจนมากพอที่จะไม่พึ่งพิงต่างชาติอย่างเดียวแล้ว ก็ได้เปลี่ยนจากการให้สัมปทานมาเป็นการแบ่งปันผลผลิตตั้งแต่ปี 2518 หรือเมื่อสี่สิบปีที่แล้วเป็นต้นมา แต่ผู้บริหารประเทศไทยดูเหมือนจะจงใจทำตัวไม่ฉลาด ไม่ปกป้องผลประโยชน์ชาติ ด้วยการยืนยันให้สัมปทานต่อไป
แทบไม่น่าเชื่อว่า นับตั้งแต่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งแรกในปี 2514 และผ่านยุคโชติชวงชัชวาลสมัยป๋าเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันประเทศไทยมีการเปิดสัมปทานไปแล้วถึง 20 รอบ แต่สัญญาสัมปทานนั้นปกปิดมิดชิด ทำให้ยากที่จะกำกับได้ว่า ประเทศชาติได้ประโยชน์เพียงใด แต่ที่แน่ๆ คือ บริษัทข้ามชาติขาใหญ่ที่ได้สัมปทานแปลงใหญ่ในอ่าวไทย ซึ่งก็คือ เชฟรอน และ ปตท.สผ.นั้นมีกำไรมหาศาลและร่ำรวยอู้ฟู่
เรื่องนี้หากเปรียบเทียบให้ง่าย เหมือนเรามีสวนยาง การสัมปทานก็เหมือนการให้ฝรั่งมาเหมาสวน เหมาไปเลย 39 ปี เขาให้เงินเรามาก้อนใหญ่ แต่ผลผลิตนับจากนี้ไปเขาเอาหมด ตอนตกลงราคาเหมา เราในฐานะประชาชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรกลับไม่เคยรู้ว่าเจรจากันอย่างไร ประมูลกันกี่บาท มีใต้โต๊ะไหม ใครประมูลได้ก็ยิ้มยาว 39 ปี เหมือนยกสวนให้เขาไปเลย จะเข้าไปเหยียบแผ่นดินของเราเองยังต้องขออนุญาต เขาจะสูบเอาทุกอย่างไปจากแผ่นดินเพื่อกำไรสูงสุด แต่ระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น เป็นระบบที่แบ่งผลที่ได้ตามกติกา ประดุจจ้างฝรั่งมาตัดยาง ตัดได้มาเท่าไรก็แบ่งกับเราเจ้าของประเทศ สิทธิในสวนยางยังเป็นของเรา โปร่งใส โกงยาก เขาจะขอกอบโกยใส่ยาเร่งน้ำยางเราก็ไม่อนุญาตก็ได้ นี่คือเหตุผลที่เราควรเลือกวิธีแบ่งปันผลผลิต แต่ผู้มีอำนาจและนายทุนพลังงานมักจะชอบสัมปทาน เพราะอะไร คำตอบนั้นทุกคนคงพอเดาได้
ความจริงหากกระทรวงพลังงาน จะทำการให้โปร่งใสก็ทำได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในยุคที่ คสช. มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ด้วยการนำสัญญาสัมปทานทั้ง 20 ฉบับที่ผ่านตีแผ่และนำมาศึกษา เพื่อเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่ชาติได้กับผลผลิตที่ได้ ผลกำไรหรือผลประกอบการของบริษัท และเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่หันไปใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิตมานานแล้ว โดยเปิดโอกาสให้มีการศึกษาจากหลายๆมุม หลายๆองค์กร ซึ่งจะได้เป็นการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่เปิดสัมปทานโดยไม่มีการศึกษาใดๆ ให้รอบคอบ ใช้แต่ตรรกะผิดๆมาหลอกลวงประชาชน
การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมนั้น หากเลื่อนไปประเทศชาติยังไม่เสียหาย แต่หากดันทุรังให้สัมปทานไปแล้วจะเอากลับไม่ได้ จะเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล การเปิดข้อมูลเพื่อการศึกษาโดยรอบคอบจากหลากหลายองค์กรเท่านั้น ที่จะทำให้การตัดสินใจครั้งสำคัญนี้ใช้สมองและปัญญาตัดสิน ไม่ใช่ตัดสินด้วยการใช้กำปั้นทุบโต๊ะ ซึ่งไม่ใช่วิถีของอารยชน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่