ปัจจุบันปัญหาเรื่อง “อ้วน” กลายเป็นเรื่องใหญ่ถึงใหญ่มากของผู้คนทุกเพศทุกวัย และแทบจะทั่วโลก อันสืบเนื่องมาจากสังคมบริโภคนิยมที่กระจัดกระจายไปทั่วทุกมุมโลก ไม่เว้นแม้แต่เมืองไทย ที่นับวันต้องเผชิญปัญหานี้หนักขึ้นเรื่อยๆ
ตัวเลขจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เคยสำรวจและประมาณการเกี่ยวกับสัดส่วนของเด็กไทยที่อาจจะเข้าสู่สภาวะเป็นเด็กอ้วนไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2558 เด็กก่อนวัยเรียนในประเทศไทยจะกลายเป็นเด็กอ้วนในสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 5
นั่นหมายความว่า ในเด็ก 5 คน จะมีเด็กอ้วน 1 คน และเด็กวัยเรียนจะมีสัดส่วนของเด็กอ้วนอยู่ที่ 1 ใน 10
และจากอุบัติการณ์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โรคอ้วนในเด็กไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และตามสถิติอาจสรุปได้ว่า เป็นประเทศที่มีการเพิ่มจำนวนเด็กอ้วนเร็วที่สุดในโลก มีรายงานว่า เฉพาะช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนเด็กก่อนวัยเรียนอ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 และเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 13 ปี อ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5
ไม่น่าประหลาดใจหรอก เพราะด้วยสภาพสังคมในบ้านเราปัจจุบันที่เต็มไปด้วยสังคมบริโภคนิยม ร้านค้า ร้านอาหารมีทั่วทุกหัวถนน ทุกตรอกซอกซอย และมีขายตลอด 24 ชั่วโมงอีกต่างหาก ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่รักสบาย อยากกินเมื่อไร ที่ไหน ได้ตลอดเวลา
โดยเฉพาะเด็กที่เติบโตขึ้นมาในสังคมยุคนี้ จึงน่าเป็นห่วงยิ่งนัก !
ทั้งจากสภาพสังคม จากแบบอย่างของผู้ใหญ่ จากการถูกกระตุ้นจากสื่อรอบตัว จึงทำให้เด็กยุคนี้ตกเข้าไปในกับดักบริโภคนิยมเต็มๆ
เมื่อผนวกเข้ากับวิถีการเลี้ยงดูลูกที่ผิดวิธี ไม่เหมาะสมก็ยิ่งทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะเป็นเด็กอ้วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แล้วพฤติกรรมแบบไหนของพ่อแม่ที่ทำให้ลูกอ้วน ?
หนึ่ง ลูกอ้วนตอนเด็กไม่เป็นไร
เริ่มจากวิธีคิดของพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ชอบให้ลูกอ้วน เพราะจ้ำม่ำน่ารักดี และคิดว่าตอนเด็กๆ อ้วนไม่เป็นไรหรอก พอเด็กโตขึ้นก็อยากผอมเอง ในอดีตอาจจะใช่ เพราะสภาพสังคมยังไม่กระตุกต่อมเร้าขนาดนี้ แต่ปัจจุบัน เด็กอ้วนเมื่อตอนเด็ก จะมีลักษณะนิสัยการกินที่ไม่เหมาะสมจนกลายเป็นนิสัย ฉะนั้น จะรอให้โตแล้วค่อยมาลดน้ำหนัก ก็ดูจะเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองที่ใจร้าย เพราะเหมือนสร้างปัญหาให้ลูก แล้วให้ลูกไปช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองตอนโตซะงั้น
สอง ไม่กล้าขัดใจลูก
พ่อแม่ประเภทนี้เยอะ กลัวลูกไม่รัก หรือตามใจลูกจนเคยตัวซะแล้ว ลูกอยากกินอะไร เวลาไหนก็ไม่ขัด หรือเพราะกลัวลูกหิว พ่อแม่ประเภทนี้ก็ถือว่าใจร้ายกับลูกเช่นกัน เพราะนอกจากจะทำให้ลูกมีแนวโน้มอ้วนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อนิสัยและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเรื่องอื่นๆ อีกด้วย
สาม เลือกกินอาหารอร่อยมากกว่ามีประโยชน์
ข้อนี้ก็น่าหนักใจเพราะปัจจุบันอย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่เองก็เหมือนกันที่ชอบเสาะแสวงหาของกินที่อร่อย ไม่ว่าจะไกลสักแค่ไหน แพงแค่ไหน ขอให้อร่อยก็ดั้นด้นที่จะไปกินให้ได้ ด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ก็ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองมักจะซื้ออาหารอร่อยให้ลูกมากกว่าที่จะคำนึงถึงประโยชน์ของอาหารเช่นกัน สุดท้ายลูกก็ติดรสชาตอร่อย และไม่คำนึงถึงประโยชน์
สี่ ชอบกินอาหารนอกบ้าน
ถ้าคุณเป็นพ่อแม่ที่ชอบกินอาหารนอกบ้าน และชอบพาลูกไปกินด้วยบ่อยๆ รับประกันว่าเขาจะติดใจในรสชาตอาหาร เพราะบรรดาร้านอาหารต่างๆ เขาก็ต้องปรุงรสชาติเอาใจผู้บริโภคอยู่แล้ว ประเภทใส่เครื่องปรุงรสสุดฤทธิ์ อาหารที่เต็มไปด้วยไขมันและพลังงาน หรือ รสจัด สุดท้ายก็จะไม่ชอบกินอาหารในบ้าน ทั้งที่การกินอาหารในบ้าน เราสามารถควบคุมความสะอาด โภชนาการที่ดี และใส่ความรักลงไปด้วย แต่เด็กที่ติดรสชาติหวานมันนอกบ้านแล้ว ก็จะติดนอกบ้าน ซึ่งเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าเขาใส่อะไรลงไปในอาหารมากน้อยขนาดไหน สะอาดหรือไม่ หรือใส่สารปรุงแต่งอะไรแค่ไหน ที่สำคัญราคาอาหารนอกบ้านก็แพงกว่าทำเองอีกต่างหาก
ห้า ไม่ชวนลูกออกกำลังกาย
ข้อนี้ดูเหมือนไม่ใช่เฉพาะลูกซะแล้ว พ่อแม่ก็ไม่ชอบออกกำลังกายเช่นกัน ก็ยิ่งไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก ทางที่ดี พ่อแม่ต้องใจแข็งและพยายามชวนลูกไปออกกำลังกายร่วมกัน ทำให้เป็นกิจกรรมร่วมกันของครอบครัวที่ทำเป็นประจำ ถ้าทำตั้งแต่ลูกเล็กๆ เขาก็จะติดเป็นนิสัย เมื่อโตขึ้นก็อยากออกกำลังกาย
หก ปล่อยลูกไว้กับสมาร์ทโฟน
เด็กยุคนี้ติดเกม ติดสมาร์ทโฟน กลายเป็นเด็กก้มหน้ากันหมด วันๆ ก็ได้แต่ก้มหน้าก้มตาอยู่กับสมาร์ทโฟน หรือหน้าเครื่องคอมฯ แทบจะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เข้าข่ายกินแล้วก็นั่งๆ นอนๆ อยู่กับเจ้าเครื่องเทคโนโลยี แล้วถ้าพ่อแม่ไม่กำหนดกฎเกณฑ์กติกาภายในบ้าน ก็รับประกันความอ้วนได้เลย
เจ็ด ไม่เคยปล่อยให้ลูกหิว
สำหรับบางครอบครัวก็น่ากังวลใจไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ชนชั้นกลาง เพราะพ่อแม่ยุคนี้ทะนุถนอมลูกเหลือหลาย ถึงเวลากินข้าวก็จะต้องตามจิกมากิน เรียกว่าในวันหนึ่งมี 3 มื้อ แต่ลูกอาจได้กิน 4 - 5 มื้อ ยังไม่นับรวมขนมขบเคี้ยว ขนมหวานมากมาย ลูกคุ้นชินกับการกินและท้องอิ่มตลอดเวลา เด็กบางคนไม่ทันได้หิว หรือไม่เรียนรู้จักความหิวเลย ก็ทำให้กินตลอด ว่างเป็นกิน ไม่หิวก็กิน กินเพราะอยาก ไม่ใช่กินเพราะหิว
เมื่อเราปลูกฝังเด็กแบบนี้ แล้วจะไม่ให้พวกเขาอ้วนได้อย่างไร
ลองคิดดูก็ตลกดี ตอนเด็กเราทำให้ลูกอ้วน พอโตลูกอ้วนเรากลับพาไปลดความอ้วนอีก
ทั้งที่จริงแล้ว ต้องโทษพ่อแม่เต็มๆ ที่สร้างลักษณะนิสัยและพฤติกรรมการกินของลูกไม่ถูกวิธี เข้าข่ายพ่อแม่รังแกฉันชัดๆ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ตัวเลขจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เคยสำรวจและประมาณการเกี่ยวกับสัดส่วนของเด็กไทยที่อาจจะเข้าสู่สภาวะเป็นเด็กอ้วนไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2558 เด็กก่อนวัยเรียนในประเทศไทยจะกลายเป็นเด็กอ้วนในสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 5
นั่นหมายความว่า ในเด็ก 5 คน จะมีเด็กอ้วน 1 คน และเด็กวัยเรียนจะมีสัดส่วนของเด็กอ้วนอยู่ที่ 1 ใน 10
และจากอุบัติการณ์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โรคอ้วนในเด็กไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และตามสถิติอาจสรุปได้ว่า เป็นประเทศที่มีการเพิ่มจำนวนเด็กอ้วนเร็วที่สุดในโลก มีรายงานว่า เฉพาะช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนเด็กก่อนวัยเรียนอ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 และเด็กวัยเรียนอายุ 6 - 13 ปี อ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5
ไม่น่าประหลาดใจหรอก เพราะด้วยสภาพสังคมในบ้านเราปัจจุบันที่เต็มไปด้วยสังคมบริโภคนิยม ร้านค้า ร้านอาหารมีทั่วทุกหัวถนน ทุกตรอกซอกซอย และมีขายตลอด 24 ชั่วโมงอีกต่างหาก ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่รักสบาย อยากกินเมื่อไร ที่ไหน ได้ตลอดเวลา
โดยเฉพาะเด็กที่เติบโตขึ้นมาในสังคมยุคนี้ จึงน่าเป็นห่วงยิ่งนัก !
ทั้งจากสภาพสังคม จากแบบอย่างของผู้ใหญ่ จากการถูกกระตุ้นจากสื่อรอบตัว จึงทำให้เด็กยุคนี้ตกเข้าไปในกับดักบริโภคนิยมเต็มๆ
เมื่อผนวกเข้ากับวิถีการเลี้ยงดูลูกที่ผิดวิธี ไม่เหมาะสมก็ยิ่งทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะเป็นเด็กอ้วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แล้วพฤติกรรมแบบไหนของพ่อแม่ที่ทำให้ลูกอ้วน ?
หนึ่ง ลูกอ้วนตอนเด็กไม่เป็นไร
เริ่มจากวิธีคิดของพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ชอบให้ลูกอ้วน เพราะจ้ำม่ำน่ารักดี และคิดว่าตอนเด็กๆ อ้วนไม่เป็นไรหรอก พอเด็กโตขึ้นก็อยากผอมเอง ในอดีตอาจจะใช่ เพราะสภาพสังคมยังไม่กระตุกต่อมเร้าขนาดนี้ แต่ปัจจุบัน เด็กอ้วนเมื่อตอนเด็ก จะมีลักษณะนิสัยการกินที่ไม่เหมาะสมจนกลายเป็นนิสัย ฉะนั้น จะรอให้โตแล้วค่อยมาลดน้ำหนัก ก็ดูจะเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองที่ใจร้าย เพราะเหมือนสร้างปัญหาให้ลูก แล้วให้ลูกไปช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองตอนโตซะงั้น
สอง ไม่กล้าขัดใจลูก
พ่อแม่ประเภทนี้เยอะ กลัวลูกไม่รัก หรือตามใจลูกจนเคยตัวซะแล้ว ลูกอยากกินอะไร เวลาไหนก็ไม่ขัด หรือเพราะกลัวลูกหิว พ่อแม่ประเภทนี้ก็ถือว่าใจร้ายกับลูกเช่นกัน เพราะนอกจากจะทำให้ลูกมีแนวโน้มอ้วนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อนิสัยและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเรื่องอื่นๆ อีกด้วย
สาม เลือกกินอาหารอร่อยมากกว่ามีประโยชน์
ข้อนี้ก็น่าหนักใจเพราะปัจจุบันอย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่เองก็เหมือนกันที่ชอบเสาะแสวงหาของกินที่อร่อย ไม่ว่าจะไกลสักแค่ไหน แพงแค่ไหน ขอให้อร่อยก็ดั้นด้นที่จะไปกินให้ได้ ด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ก็ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองมักจะซื้ออาหารอร่อยให้ลูกมากกว่าที่จะคำนึงถึงประโยชน์ของอาหารเช่นกัน สุดท้ายลูกก็ติดรสชาตอร่อย และไม่คำนึงถึงประโยชน์
สี่ ชอบกินอาหารนอกบ้าน
ถ้าคุณเป็นพ่อแม่ที่ชอบกินอาหารนอกบ้าน และชอบพาลูกไปกินด้วยบ่อยๆ รับประกันว่าเขาจะติดใจในรสชาตอาหาร เพราะบรรดาร้านอาหารต่างๆ เขาก็ต้องปรุงรสชาติเอาใจผู้บริโภคอยู่แล้ว ประเภทใส่เครื่องปรุงรสสุดฤทธิ์ อาหารที่เต็มไปด้วยไขมันและพลังงาน หรือ รสจัด สุดท้ายก็จะไม่ชอบกินอาหารในบ้าน ทั้งที่การกินอาหารในบ้าน เราสามารถควบคุมความสะอาด โภชนาการที่ดี และใส่ความรักลงไปด้วย แต่เด็กที่ติดรสชาติหวานมันนอกบ้านแล้ว ก็จะติดนอกบ้าน ซึ่งเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าเขาใส่อะไรลงไปในอาหารมากน้อยขนาดไหน สะอาดหรือไม่ หรือใส่สารปรุงแต่งอะไรแค่ไหน ที่สำคัญราคาอาหารนอกบ้านก็แพงกว่าทำเองอีกต่างหาก
ห้า ไม่ชวนลูกออกกำลังกาย
ข้อนี้ดูเหมือนไม่ใช่เฉพาะลูกซะแล้ว พ่อแม่ก็ไม่ชอบออกกำลังกายเช่นกัน ก็ยิ่งไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก ทางที่ดี พ่อแม่ต้องใจแข็งและพยายามชวนลูกไปออกกำลังกายร่วมกัน ทำให้เป็นกิจกรรมร่วมกันของครอบครัวที่ทำเป็นประจำ ถ้าทำตั้งแต่ลูกเล็กๆ เขาก็จะติดเป็นนิสัย เมื่อโตขึ้นก็อยากออกกำลังกาย
หก ปล่อยลูกไว้กับสมาร์ทโฟน
เด็กยุคนี้ติดเกม ติดสมาร์ทโฟน กลายเป็นเด็กก้มหน้ากันหมด วันๆ ก็ได้แต่ก้มหน้าก้มตาอยู่กับสมาร์ทโฟน หรือหน้าเครื่องคอมฯ แทบจะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เข้าข่ายกินแล้วก็นั่งๆ นอนๆ อยู่กับเจ้าเครื่องเทคโนโลยี แล้วถ้าพ่อแม่ไม่กำหนดกฎเกณฑ์กติกาภายในบ้าน ก็รับประกันความอ้วนได้เลย
เจ็ด ไม่เคยปล่อยให้ลูกหิว
สำหรับบางครอบครัวก็น่ากังวลใจไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ชนชั้นกลาง เพราะพ่อแม่ยุคนี้ทะนุถนอมลูกเหลือหลาย ถึงเวลากินข้าวก็จะต้องตามจิกมากิน เรียกว่าในวันหนึ่งมี 3 มื้อ แต่ลูกอาจได้กิน 4 - 5 มื้อ ยังไม่นับรวมขนมขบเคี้ยว ขนมหวานมากมาย ลูกคุ้นชินกับการกินและท้องอิ่มตลอดเวลา เด็กบางคนไม่ทันได้หิว หรือไม่เรียนรู้จักความหิวเลย ก็ทำให้กินตลอด ว่างเป็นกิน ไม่หิวก็กิน กินเพราะอยาก ไม่ใช่กินเพราะหิว
เมื่อเราปลูกฝังเด็กแบบนี้ แล้วจะไม่ให้พวกเขาอ้วนได้อย่างไร
ลองคิดดูก็ตลกดี ตอนเด็กเราทำให้ลูกอ้วน พอโตลูกอ้วนเรากลับพาไปลดความอ้วนอีก
ทั้งที่จริงแล้ว ต้องโทษพ่อแม่เต็มๆ ที่สร้างลักษณะนิสัยและพฤติกรรมการกินของลูกไม่ถูกวิธี เข้าข่ายพ่อแม่รังแกฉันชัดๆ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่